อาการปวดไหล่

อาการปวดไหล่ ปวดคอ ปวดบ่า ไหล่ติด ไม่ได้เกิดกับคนทำงานออฟฟิศเท่านั้น แต่ยังสามารถเกิดขึ้นกับเด็กและผู้สูงอายุได้ด้วย ซึ่งแต่ละช่วงวัยอาจมีสาเหตุการปวดไหล่ที่แตกต่างกันออกไป บางรายอาจเกิดจากปัญหาออฟฟิศซินโดรม สิ่งสำคัญที่จะทำให้แก้อาการปวดไหล่อย่างหายขาดได้นั้นคือการหาสาเหตุที่แท้จริงของการเกิดอาการ และการรักษาที่ตรงจุด มาดูอาการปวดไหล่แต่ละประเภทเลย

สารบัญบทความ

ข้อไหล่ คืออะไร?

ข้อไหล่ (Glenohumeral Joint) เป็นข้อต่อที่สำคัญที่สุดของบริเวณไหล่ เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของต้นแขน ประกอบไปด้วยส่วนหัวของกระดูกต้นแขน (Head of Humerus) และส่วนเบ้าของกระดูกสะบัก (Glenoid) ซึ่งความมั่นคงของหัวไหล่ต้องอาศัยเยื่อหุ้มข้อไหล่ เส้นเอ็น และกล้ามเนื้อโดยรอบเพื่อให้เราสามารถขยับ เอื้อมคว้าสิ่งของได้ตามต้องการ

 สาเหตุของการปวดไหล่

สาเหตุของการปวดไหล่

อาการปวดไหล่ในเด็กและวัยรุ่น

อาการปวดไหล่ในเด็ก อาจเกิดจากอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม เช่น การนั่งหน้าจอคอมพิวเตอร์ติดกันเป็นเวลาหลายชั่วโมง นั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลานาน การบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ หรืออาจเกิดจากโรคทางพันธุกรรมบางชนิดเกี่ยวกับข้ออักเสบชนิดที่มีการอักเสบบริเวณจุดเกาะของเส้นเอ็น

อาการปวดไหล่ในวัยทำงาน

อาการปวดไหล่ในผู้ใหญ่วัยทำงานอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในชีวิตประจําวันหรืออิริยาบถการทำงานในท่านั่งเป็นเวลานาน ๆ อาการออฟฟิศซินโดรม หรืออาจเกิดจากอุบัติเหตุหรือการใช้งานไหล่อย่างหนักทำให้กล้ามเนื้อหรือเส้นเอ็นฉีกขาด กระดูกหัก หรือข้อเคลื่อน หรืออาจจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อวัณโรค โรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ กระดูกคอเสื่อม หรือกล้ามเนื้อหลังอักเสบ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยจากแพทย์อย่างละเอียดเพื่อหาสาเหตุอีกครั้ง

อาการปวดไหล่ในผู้สูงวัย

ผู้สูงอายุหรือกลุ่มผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไปมักพบอาการปวดไหล่ ไหล่ติด เนื่องจากการใช้งานไหล่มากเกินไป เป็นระยะเวลานานจนทำให้เกิดอาการเรื้อรัง หรือไหล่เสื่อม

 

ปรึกษาอาการปวดไหล่กับแพทย์เฉพาะทางที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง จัดส่งสินค้าถึงบ้าน

วิธีแก้อาการปวดไหล่ด้วยตัวเอง

วิธีแก้อาการปวดไหล่

หากผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่ไม่รุนแรง สามารถบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นได้ ดังนี้

  • หยุดงานใช้ไหล่หนัก ๆ เช่นการขยับแขนแรง ๆ หรือเล่นกีฬาที่ต้องใช้ไหล่หนัก
  • ประคบเย็นด้วย Cold Pack หากมีอาการปวดมาก
  • ประคบอุ่นด้วยกระเป๋าน้ำร้อน หรือ Hot Pack หากมีอาการปวดไม่รุนแรง
  • ทายาหรือใช้สเปรย์บรรเทาอาการปวด 
  • ไม่นอนตะแคงทับไหล่ข้างที่ปวด 
  • ยืดกล้ามเนื้อบริเวณหัวไหล่ บ่า สะบักหลักระหว่างวัน
  • ไม่สะพายกระเป๋าหรือยกของหนัก ๆ
  • ไม่ออกกำลังกายที่ต้องใช้หัวไหล่หนัก ๆ

อาการปวดไหล่ที่ควรพบแพทย์ทันที

ผู้ป่วยควรสังเกตอาการตัวเอง หากมีอาการปวดไหล่ตามด้านล่างนี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์

  • ไหล่บวม
  • ปวดไหล่นานกว่า 2 สัปดาห์
  • ปวดไหล่ร่วมกับมีไข้ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
  • ขยับไหล่ไม่ได้หรือปวดหัวไหล่ยกแขนไม่ขึ้น
  • ปวดหัวไหล่ร้าวลงแขนจนรู้สึกชา

การรักษาอาการปวดไหล่

การรักษาอาการปวดไหล่สามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลัก ๆ ได้แก่

  • ทำกายภาพบำบัด หากแพทย์พิจารณาแล้วว่าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง แพทย์อาจให้การรักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดร่วมกับรับประทานยาแก้ปวด และติดตามดูอาการต่อไป 
  • ผ่าตัด ในกรณีที่อาการของผู้ป่วยไม่สามารถรักษาด้วยการใช้ยาและการทำกายภาพบำบัดได้ อาจจำเป็นต้องได้รับการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดหัวไหล่ในปัจจุบันมักนิยมใช้การผ่าตัดแบบส่องกล้องเนื่องจากแผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็ก ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยด้วย

วิธีป้องกันอาการปวดไหล่

วิธีป้องกันอาการปวดไหล่

วิธีการป้องกันอาการปวดไหล่ ลดความรุนแรงและป้องกันไม่ให้อาการปวดไหล่ลุกลาม สามารถเริ่มต้นได้จากการปรับพฤติกรรมดังนี้ 

  1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การปรับท่านอน การเดิน ท่านั่ง ให้เหมาะสม
  2. ปรับเปลี่ยนความเหมาะสมของสถานที่ทำงาน เช่น ปรับโต๊ะทำงานให้ความสูงของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับสายตา เก้าอี้นั่งควรมีพนักพิงและที่วางแขน หรือ ปรับลักษณะท่านั่งทำงานที่เหมาะสม 
  3. การออกกำลังกายที่เหมาะสม คือ การยืดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อ และเพิ่มความทนทานของกล้ามเนื้อ ด้วยการออกกำลังอย่างสม่ำเสมอ เช่น ว่ายน้ำ เป็นต้น

ปรึกษาอาการออฟฟิศซินโดรมกับแพทย์เฉพาะทางที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง จัดส่งสินค้าถึงบ้าน

สรุปเรื่องอาการปวดไหล่

อย่านิ่งนอนใจอาการปวดไหล่ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุการปวดที่แน่ชัด หากปล่อยไว้อาจบาดเจ็บจนอาการลุกลามได้ ปรึกษาอาการปวดไหล่กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติมได้ที่ BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง เราพร้อมช่วยเหลือคุณทุกวัน สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

Content powered by BeDee Expert

พว. มุทิตา คำวิเศษณ์

พยาบาลวิชาชีพ

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways ออฟฟิศซินโดรมวิธีแก้คือการปรับพฤติกรรมการนั่ง การเดิน อย่างถูกต้อง ออฟฟิศซินโดรมรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรม ปรึกษาแพทย์ หรือการยืดกล้ามเนื้อด้วยตัวเองในท่าง่าย ๆ  มีอาการออฟฟิศซินโดรมปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สารบ

กายภาพบำบัด คือ วิชาชีพหนึ่งทางการแพทย์ที่ส่งเสริม รักษา ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การทำกายภาพบำบัดไม่จำเป็นต้องทำกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่กายภาพบำบัดสามารถทำได้กับทุกคนที่ต้องการผ่อนคลาย รวมถึงผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม กายภาพบ