ออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรมปัญหากวนใจใครหลายคน ด้วยสไตล์การทำงานและการใช้ชีวิตของคนในยุคนี้ที่ต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นหลัก รวมถึงการติดโทรศัพท์มือถือ การเสพสื่อโซเชียลตลอดเวลา จึงยากที่จะหลีกเลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม และไม่ใช่แค่กลุ่มคนทำงานออฟฟิศเท่านั้นที่เผชิญปัญหานี้ นักเรียน แม่บ้าน คนขับรถ นักกีฬา และอาชีพอื่น ๆ ก็มีอาการออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน 

สารบัญบทความ

ออฟฟิศซินโดรม คือ

ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือ อาการปวดกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ รวมถึงเยื่อพังผืด เนื่องจากพฤติกรรมการทำงานที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน จนทำให้เกิดความผิดปกติของระบบในร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบกระดูก เส้นเอ็น กล้ามเนื้อ หรือดวงตา

เช่น การนั่งทำงานในลักษณะที่ไม่ถูกต้องเป็นเวลา การใช้มือถือนาน ๆ จึงทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย กล้ามเนื้ออักเสบ ซึ่งอาการปวดดังกล่าวอาจทำให้เกิดโรคอื่น ๆ ลุกลามตามมาได้

สาเหตุของออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุออฟฟิศซินโดรม

สาเหตุของออฟฟิศซินโดรมมักเกิดขึ้นจากการทำพฤติกรรมเดิม ๆ ทำให้เกิดการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ ซึ่งตัวอย่างของสาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมมีดังนี้

  • นั่งทำงานในอิริยาบถเดิมเป็นเวลานาน
  • นั่ง ยืน เดินผิดท่าต่อเนื่อง
  • จ้องคอมพิวเตอร์นานเกินไป เพ่งสายตามากเกินไป
  • สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะเก้าอี้ไม่สมดุลกับร่างกาย อากาศไม่ถ่ายเท เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม

กลุ่มเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม

ไม่ใช่แค่กลุ่มคนทำงานเท่านั้นที่มีความเสี่ยงเป็นออฟฟิศซินโดรม แต่ผู้ที่มีพฤติกรรมการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิมซ้ำ ๆ ก็มีความเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน ตัวอย่างกลุ่มเสี่ยงออฟฟิศซินโดรม ได้แก่

 

  • กลุ่มคนทำงานออฟฟิศ เนื่องจากคนกลุ่มนี้มักจะมีพฤติกรรมนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรือเล่นมือถือท่าเดิมนาน ๆ ไม่ค่อยขยับร่างกายหรือเปลี่ยนอิริยาบถ 
  • นักเรียน นักศึกษา อาจเกิดออฟฟิศซินโดรมได้จากการนั่งเรียนเป็นเวลานาน ไม่ค่อยเคลื่อนไหว ขยับร่างกาย การก้มหน้า ก้มคออ่านหนังสือหรือทำข้อสอบนาน ๆ 
  • นักกีฬา และผู้ใช้แรงงาน มักเกิดจากการเคลื่อนไหวผิดท่า การออกแรงมากเกินไป ยกของหนักจนเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อบาดเจ็บเฉียบพลัน
  • แม่บ้าน ที่มักใช้ข้อมือ กวาด ถู ทำความสะอาด หรือต้องลาก ยกของเป็นประจำ
  • พนักงานขับรถ ที่ต้องนั่งขับรถเป็นเวลานาน 
  • อาชีพอื่น ๆ ที่มีการใช้กล้ามเนื้อมัดเดิม ๆ ในการทำงาน มีความเครียดสูง พักผ่อนน้อย ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ก็อยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน

ปรึกษาอาการออฟฟิศซินโดรมกับแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

อาการออฟฟิศซินโดรม เป็นอย่างไร

อาการออฟฟิศซินโดรมที่มักพบบ่อย ได้แก่

 

  • ปวดคอ บ่า สะบัก
  • ปวดหลัง ปวดไหล่
  • ปวดหัว ตึงล้า
  • ปวดตา ตาพร่า
  • ตาแห้ง
  • ปวดข้อมือ ชา นิ้วล็อก
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • วูบ
  • เหงื่อออก
  • หูอื้อ มึนงง

อาการออฟฟิศซินโดรมแบบใดควรพบแพทย์

สังเกตตัวเองหากมีอาการออฟฟิศซินโดรมดังนี้ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

  • ปวดศีรษะรุนแรงมากกว่าแต่ก่อน ปวดจนอาเจียน
  • ปวดศีรษะติดต่อกันหลายวัน 
  • มีอาการปวดหลังส่วนล่างเเละมีการร้าวไปที่ก้น ต้นขา น่อง
  • ปวดหลังส่วนล่างตอนกลางคืนจนต้องตื่นมารับประทานยา 
  • ปวดศีรษะ ปวดหลัง หรือส่วนอื่น ๆ จนไม่สามารถนอนหลับได้
  • ปวดไหล่ติดต่อกันเป็นเดือน 
  • ไม่สามารถยกแขนได้ 
  • ไหล่บวม ไหล่ติด

รักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างไร

ออฟฟิศซินโดรมคือกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่ต้องอาศัยการดูแลรักษาร่วมกันระหว่างแพทย์และตัวผู้ป่วย เนื่องจากเป็นโรคที่ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้ป่วยเป็นหลัก ในเบื้องต้นออฟฟิศซินโดรมรักษาได้ด้วยการเน้นวิธีทางกายภาพบำบัด การปรับพฤติกรรมซึ่งเป็นการแก้ที่ต้นเหตุของออฟฟิศซินโดรม ซึ่งจะทำให้อาการบาดเจ็บของร่างกายในส่วนนั้น ๆ ลดลง

การออกกำลังกาย 

การออกกำลังกายเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาที่สำคัญของอาการออฟฟิศซินโดรม เนื่องจากการที่กล้ามเนื้อไม่ยืดหยุ่นและไม่แข็งแรงพอ จะทำให้ไม่สามารถทนทานต่อการใช้งานกล้ามเนื้อที่ต่อเนื่องยาวนานได้ จนทำให้เกิดอาการออฟฟิศซินโดรมซ้ำ ๆ ไม่หายขาด

กายภาพบำบัด

การรักษาออฟฟิศซินโดรมด้วยการทำกายภาพบำบัดมีหลายวิธี สามารถทำได้ทั้งการรักษาด้วยมือหรือการใช้เครื่องมือ เช่น

  • Shock Wave หรือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก เป็นการรักษาด้วยเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สร้างแรงอัดอากาศสูงส่งไปยังกล้ามเนื้อของผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับรักษาผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรมที่มีอาการปวดเรื้อรัง รักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ แล้วไม่ดีขึ้น เช่น ปวดไหล่ ปวดหลังปวดข้อศอก เอ็นข้อศอกอักเสบ พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ ปวดสะโพกร้าวลงขา ปวดฝ่าเท้าเรื้อรัง โรครองช้ำ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดเข่า หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา
  • การยืดกล้ามเนื้อสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการจัดการกับออฟฟิศซินโดรม ควรหาเวลาพักจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือเพื่อลุกขึ้น ยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยท่าบริหารร่างกายหรือท่าโยคะง่าย ๆ 

รับประทานยา

ผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรมควรมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการ ว่าเกิดจากสาเหตุใด มีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ หรือไม่ เพื่อให้แพทย์ได้รักษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับอาการของแต่ละบุคคลสำหรับยาที่ใช้บรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม เช่น พาราเซตตามอล ยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs ยาบรรเทาการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาคลายเครียด และยาอื่น ๆ ซึ่งสามารถปรึกษาแพทย์หรือรับคำแนะนำจากเภสัชกร

 

นวดแผนไทย

หลายคนนิยมแก้อาการออฟฟิศซินโดรมด้วยการนวดแผนไทย การนวดแผนไทยช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ เพิ่มการไหลเวียนของเลือด ลดความเครียด สิ่งสำคัญในการนวดคือควรเลือกร้านและนักบำบัดที่มีความเชี่ยวชาญ

ฝังเข็ม

การฝังเข็มเป็นศาสตร์แห่งแพทย์แผนจีน หลายคนนิยมใช้การฝังเข็มเพื่อรักษาออฟฟิศซินโดรมมากขึ้น การฝังเข็มช่วยกระตุ้นระบบประสาท ลดความเจ็บปวด ลดการอักเสบ ลดการเกร็งของกล้ามเนื้อ โดยแพทย์จะใช้เข็มเล่มเล็ก ๆ ฝังลงบนจุดที่มีอิทธิพลต่ออวัยวะต่าง ๆ หลังฝังเข็มผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บ ปวด แต่อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ควรเลือกแพทย์และคลินิกหรือโรงพยาบาลที่เชี่ยวชาญการฝังเข็มโดยเฉพาะ

ยืดกล้ามเนื้อ

การยืดกล้ามเนื้อสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการจัดการกับออฟฟิศซินโดรม ควรหาเวลาพักจากการจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือเพื่อลุกขึ้น ยืดเหยียดกล้ามเนื้อด้วยท่าบริหารร่างกายหรือท่าโยคะง่าย ๆ อย่างน้อย 1 ครั้งต่อชั่วโมง

Shock Wave

Shock Wave หรือการรักษาด้วยคลื่นกระแทก เป็นการรักษาด้วยเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สร้างแรงอัดอากาศสูงส่งไปยังกล้ามเนื้อของผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว เหมาะสำหรับรักษาผู้ป่วยออฟฟิศซินโดรมที่มีอาการปวดเรื้อรัง รักษาด้วยวิธีการอื่น ๆ แล้วไม่ดีขึ้น เช่น ปวดไหล่ ปวดหลังปวดข้อศอก เอ็นข้อศอกอักเสบ พังผืดฝ่าเท้าอักเสบ ปวดสะโพกร้าวลงขา ปวดฝ่าเท้าเรื้อรัง โรครองช้ำ ปวดเอ็นร้อยหวาย ปวดเข่า หรือบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

ปรับสภาพแวดล้อมทำงาน เช่น การนั่ง โต๊ะทำงาน

สภาพแวดล้อมการทำงานอย่างความสูงของโต๊ะและเก้าอี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากต่ออาการออฟฟิศซินโดรม วิธีการปรับโต๊ะและเก้าอี้ให้เหมาะสมกับการนั่งทำงานคือ 

  • ปรับโต๊ะให้ความสูงของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับสายตา 
  • เก้าอี้ควรรองรับบริเวณหลังและคอ หรือสามารถปรับให้เข้ากับสรีระของผู้ใช้งานได้ตามสะดวก
  • ควรปรับเก้าอี้ให้หัวเข่าอยู่ระดับเดียวกับข้อสะโพก
  • จัดวางสิ่งของบนโต๊ะทำงานให้อยู่ในระยะที่หยิบถึง โดยไม่ต้องโน้มตัวหรือเอื้อมไปหยิบ
 
ปรึกษาอาการออฟฟิศซินโดรมกับแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง 

ออฟฟิศซินโดรม ป้องกันอย่างไร

การป้องกันออฟฟิศซินโดรมที่ได้ผลดีและทำได้ด้วยตัวเอง คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและอิริยาบถในการทำงานให้ถูกต้อง ออกกำลังกายเพื่อยืดกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้ต้องจัดการเวลาทำงานและพักผ่อนให้เหมาะสม วิธีป้องกันออฟฟิศซินโดรมที่สามารถทำได้ เช่น

  • ปรับโต๊ะทำงานให้ความสูงของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับสายตา
  • เก้าอี้ควรรองรับบริเวณหลังและคอ หรือสามารถปรับให้เข้ากับสรีระของผู้ใช้งานได้ตามสะดวก
  • ควรปรับเก้าอี้ให้หัวเข่าอยู่ระดับเดียวกับข้อสะโพก
  • จัดวางสิ่งของบนโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ อยู่ในระยะที่หยิบของใช้ได้ง่าย โดยไม่ต้องโน้มตัวหรือเอื้อมไปหยิบ
  • ไม่นั่งหลังค่อม เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
  • พักสายตาจากคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือทุก ๆ 20 นาที
  • จอคอมพิวเตอร์ควรตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา 15 องศา จะช่วยลดอาการปวดตา ปวดคอ
  • ปรับความสว่างหน้าจอประมาณ 3 เท่าจากความสว่างของสภาพแวดล้อม
  • วางโทรศัพท์มือถือลงบ้าง ไม่ใช้งานอยู่ตลอดเวลา

สรุปเรื่องออฟฟิศซินโดรม

ออฟฟิศซินโดรมอาจจะดูเป็นโรคที่ไม่รุนแรงแต่ที่จริงแล้วตัวโรคเหมือนภัยเงียบที่ค่อย ๆ ลุกลามไปสู่โรคอื่น ๆ เรื้อรังจนสร้างความทรมานเจ็บปวดให้กับผู้ป่วยได้ อาการออฟฟิศซินโดรมมักเป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยชะล่าใจไม่ได้พบแพทย์ รีบรักษาวันนี้ ประหยัดค่ารักษาในอนาคตได้มากกว่า 

หากไม่แน่ใจว่าอาการออฟฟิศซินโดรมที่เป็นอยู่นั้นมีความรุนแรงหรืออันตรายแค่ไหน หรือควรจะรักษาอาการเจ็บปวดอย่างไร สามารถปรึกษาแพทย์และเภสัชกรจาก BDMS บน BeDee ได้ทุกวัน แพทย์ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา สะดวก ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS 

 

Content powered by BeDee Expert

พว. มุทิตา คำวิเศษณ์

พยาบาลวิชาชีพ

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Issaragrisil, Dr. P. (n.d.). Preventing office syndrome while working from home. Bangkok Hospital. https://www.bangkokhospital.com/en/content/work-from-home-and-office-syndrome 


Yeo, M. (2021). Office Syndrome – Causes, Symptoms Treatments. DTAP Medical Clinic | GP STD HIV Testing Clinic Singapore. https://www.dtapclinic.com/articles/office-syndrome-causes-symptoms-treatments/

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Takeaways ออฟฟิศซินโดรมวิธีแก้คือการปรับพฤติกรรมการนั่ง การเดิน อย่างถูกต้อง ออฟฟิศซินโดรมรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรม ปรึกษาแพทย์ หรือการยืดกล้ามเนื้อด้วยตัวเองในท่าง่าย ๆ  มีอาการออฟฟิศซินโดรมปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สารบ

กายภาพบำบัด คือ วิชาชีพหนึ่งทางการแพทย์ที่ส่งเสริม รักษา ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การทำกายภาพบำบัดไม่จำเป็นต้องทำกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่กายภาพบำบัดสามารถทำได้กับทุกคนที่ต้องการผ่อนคลาย รวมถึงผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม กายภาพบ