Key Takeaways นอนกรนเกิดได้จากภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคอ้วน ภูมิแพ้ หรือผู้ที่มีปัญหาโครงสร้างใบหน้าหรือจมูกผิดรูป การรักษาอาการนอนกรนควรได้รับการวินิจฉัยสาเหตุการเกิดอาการของแต่ละคนเพื่อทำการรักษาต่อไปอย่างเหมาะสม การนอนกรนส่งผลต่อสุขภาพและคุณภาพชีว
รู้ก่อนอุดฟัน รู้จักประเภทวัสดุอุด และวิธีการดูแล
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaways
- อุดฟันคือการรักษาทางทันตกรรมเพื่อซ่อมแซมฟันที่ผุหรือเสียหายให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยการเติมวัสดุอุดฟันเข้าไปแทนเนื้อฟันที่ถูกทำลาย
- วัสดุอุดฟันมีหลายประเภท เช่น อมัลกัม, คอมโพสิตเรซิน หรือเซรามิกหรือพอร์ซเลน
- เลือกซื้อแพ็กเกจดูแลสุขภาพฟัน ราคาพิเศษจากโรงพยาบาลในเครือ BDMS ได้ที่ Health Plaza
อุดฟันคืออะไร มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?
อุดฟัน (Dental fillings) คือการรักษาทางทันตกรรมเพื่อซ่อมแซมฟันที่ผุหรือเสียหายให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ โดยทันตแพทย์จะทำความสะอาดฟันบริเวณที่ผุ แล้วเติมวัสดุอุดฟัน หรือคอมโพสิตอุดฟันเข้าไปแทนเนื้อฟันที่ถูกทำลาย เพื่อหยุดการลุกลามของฟันผุ, ลดความเจ็บปวดหรือเสียวฟัน, ป้องกันการติดเชื้อที่รากฟัน และทำให้ฟันกลับมาใช้งานเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ
BeDee Tips: ตรวจสุขภาพประจําปี สำคัญอย่างไร ควรตรวจอะไรบ้าง อ่านเลย
อุดฟันมีกี่ประเภท ใช้วัสดุอุดแบบไหนดี?
การอุดฟันมีอยู่หลายประเภท แบ่งตามชนิดของวัสดุที่ใช้ ซึ่งแต่ละชนิดมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน และเหมาะกับตำแหน่งฟันหรือสภาพฟันที่ต่างกัน ดังนี้
1. อมัลกัม (Amalgam Filling)
- วัสดุโลหะผสม (เงิน, ปรอท, ดีบุก ฯลฯ)
- มีสีเงินเทา เห็นชัด ไม่สวยงาม
- แข็งแรงมาก ทนแรงบดเคี้ยวได้ดี
- เหมาะกับฟันกรามด้านใน
ข้อดี: ทนทาน ราคาถูก
ข้อเสีย: สีไม่เหมือนฟันธรรมชาติ, มีข้อถกเถียงเรื่องความปลอดภัยจากสารปรอท
2. คอมโพสิตเรซิน (Composite Resin Filling)
- วัสดุอุดมีสีเหมือนฟันจริง
- ยึดติดกับเนื้อฟันได้ดี
- เหมาะกับฟันหน้า หรือฟันที่ต้องการความสวยงาม
ข้อดี: สวยงาม เป็นธรรมชาติ
ข้อเสีย: ไม่ทนเท่าอมัลกัม, อาจสึกหรือเปลี่ยนสีตามเวลา
3. กลาสไอโอโนเมอร์ (Glass Ionomer Filling)
- วัสดุสีขาวขุ่น
- ปล่อยฟลูออไรด์ได้ ช่วยป้องกันฟันผุซ้ำ
- นิยมใช้กับฟันเด็กหรือบริเวณรากฟัน
ข้อดี: ป้องกันฟันผุได้ดี
ข้อเสีย: ไม่ทนแรงเคี้ยวมากเท่าคอมโพสิต
4. เซรามิกหรือพอร์ซเลน (Ceramic Filling / Porcelain Inlay/Onlay)
- ผลิตจากเซรามิกคุณภาพสูง
- สวยงามเหมือนฟันจริง และ ทนการเปลี่ยนสี
- มักใช้กับฟันที่มีความเสียหายมาก ต้องทำเป็นชิ้นหล่อ (inlay/onlay)
ข้อดี: สวยงามมาก ทนทาน
ข้อเสีย: ราคาสูง
วิธีการเตรียมตัวก่อนอุดฟันควรทำอย่างไร?
สำหรับการเตรียมตัวก่อนอุดฟันนั้นผู้ป่วยควรรับประทานอาหารมาก่อนทำประมาณ 1-2 ชั่วโมง เพราะหลังอุดฟันอาจต้องงดเคี้ยวด้านที่ทำชั่วคราว สิ่งสำคัญคือควรแปรงฟันและทำความสะอาดช่องปากก่อนเข้ารับการรักษา
อุดฟันที่ไหนดี?
ใครที่กำลังมองหาที่อุดฟันราคาพิเศษจากโรงพยาบาล หรือที่อุดฟันราคาถูกใกล้ฉัน ขอแนะนำแพ็กเกจดูแลสุขภาพฟันจาก BDMS Wellness Clinic มีให้เลือกหลากหลายแพ็กเกจ ดูแลระดับคุณภาพโดยทีมทันตแพทย์ผู้ชำนาญจากเครือ BDMS
ช้อปแพ็กเกจดูแลสุขภาพฟันราคาพิเศษจากโรงพยาบาลในเครือ BDMS พร้อมส่วนลด On Top ได้ที่นี่
การอุดฟันมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?
สำหรับใครที่กังวลว่าอุดฟัน นานไหม ยุ่งยากหรือไม่ ปัจจุบันการอุดฟันนั้นใช้เวลารวดเร็ว ไม่ยุ่งยาก ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติหลังจากอุดฟัน ขั้นตอนและวิธีการอุดฟันโดยทั่วไปมีดังนี้
- ตรวจประเมินสภาพฟันซี่ที่ผุหรือบิ่น และถ่ายภาพรังสี (X-ray) กรณีที่จำเป็น
- ฉีดยาชา เฉพาะกรณีที่รอยผุลึกหรือใกล้โพรงประสาทฟันเพื่อให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บ
- กรอฟัน กำจัดเนื้อฟันที่ผุ ทำความสะอาดรอยผุเพื่อไม่ให้มีเชื้อแบคทีเรียตกค้าง
- อุดฟัน เติมวัสดุอุดฟันเข้าไปในโพรงฟันที่เตรียมไว้
- ขัดแต่งรูปทรงฟัน เพื่อปรับรูปร่างและขนาดของวัสดุอุดให้เข้ากับฟัน
- ตรวจการสบฟัน ทันตแพทย์จะให้ผู้ป่วยกัดกระดาษสีเพื่อตรวจจุดกระแทก หากสูงไปทันตแพทย์จะปรับแต่งเพื่อลดแรงกัด
สาเหตุที่ทำให้ต้องอุดฟันมีอะไรบ้าง?
สาเหตุที่ทำให้ต้องอุดฟันมีหลายปัจจัยด้วยกัน ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการที่สูญเสียเนื้อฟันไปบางส่วน จนไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งสาเหตุหลัก เช่น
- ฟันผุ เป็นสาเหตุที่พบได้มากที่สุด เกิดจากแบคทีเรียในช่องปากย่อยน้ำตาลแล้วปล่อยกรดออกมา ทำลายผิวเคลือบฟันจนเกิดรูผุ หากปล่อยไว้นานจะทำให้เกิดความเสียหายถึงชั้นเนื้อฟัน
- ฟันแตก ฟันบิ่น เกิดจากการกัดของแข็ง, อุบัติเหตุ หรือการกัดฟันตอนนอน ทำให้ฟันหักเป็นบางส่วน จำเป็นต้องอุดซ่อมเพื่อคืนรูปและป้องกันการติดเชื้อ
- ฟันสึก เช่น การแปรงฟันแรงเกินไป, กัดของแข็งบ่อย, การทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีกรดมาก เช่น น้ำอัดลม, น้ำผลไม้รสเปรี้ยว
วิธีดูแลตัวเองหลังอุดฟันควรทำอย่างไร ?
หลายคนเกิดคำถามว่า อุดฟันกินข้าวได้ตอนไหนอุดฟันห้ามกินอะไรอุดฟันแปรงฟันเลยได้ไหม? วันนี้ BeDee มีข้อแนะนำหลังการอุดฟันมาแนะนำ
- หลีกเลี่ยงการเคี้ยวด้านที่อุดฟันทันที
- กรณีที่เป็นวัสดุอุดฟันแบบแข็งตัวด้วยแสง (Composite) สามารถใช้งานได้ทันทีหลังทำ
- หากเป็นวัสดุอมัลกัม (Amalgam) หรือวัสดุที่ใช้เวลาก่อตัว ควรงดเคี้ยวอาหารแข็ง นาน 24 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการทานอาหารแข็ง เหนียว หรือกรอบจัด
- เช่น ถั่วแข็ง ลูกอม ขนมกรอบ หรือหมากฝรั่ง อาจทำให้วัสดุอุดฟันแตก หลุด หรือเสียรูป
- เช่น ถั่วแข็ง ลูกอม ขนมกรอบ หรือหมากฝรั่ง อาจทำให้วัสดุอุดฟันแตก หลุด หรือเสียรูป
- หลีกเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด
- หลังอุดฟันอาจทำให้ฟันรู้สึกไวต่ออุณหภูมิ ควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นมากในช่วง 1–2 วันแรก
- หลังอุดฟันอาจทำให้ฟันรู้สึกไวต่ออุณหภูมิ ควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นมากในช่วง 1–2 วันแรก
- อุดฟันแล้วเสียวฟัน
- หลังจากอุดฟันแล้วมีอาการเสียวเล็กน้อย 1–2 วันถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีอาการเสียวฟันมาก ควรกลับไปพบทันตแพทย์
- หลังจากอุดฟันแล้วมีอาการเสียวเล็กน้อย 1–2 วันถือเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีอาการเสียวฟันมาก ควรกลับไปพบทันตแพทย์
- แปรงฟันอย่างนุ่มนวล และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
- เลือกแปรงขนนุ่ม แปรงฟันอย่างเบามือ และควรใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย
- เลือกแปรงขนนุ่ม แปรงฟันอย่างเบามือ และควรใช้ไหมขัดฟันร่วมด้วย
- หากรู้สึกฟันสูง เคี้ยวไม่สบกัน ควรแจ้งทันตแพทย์
- บางครั้งวัสดุอุดฟันอาจนูนเกินไป ทำให้เคี้ยวไม่พอดี ควรแก้ไขโดยทันตแพทย์
ข้อดี – ข้อเสียของการอุดฟันมีอะไรบ้าง ?
การอุดฟันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งขึ้นอยู่กับวัสดุที่เลือกใช้ และสภาพฟันของแต่ละบุคคลดังนี้
ข้อดีของการอุดฟัน
- หยุดการลุกลามของฟันผุ ป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียขยายตัวลงไปถึงรากฟัน
- ลดอาการปวด เสียวฟัน จากอาการฟันผุหรือฟันสึก
- ทำให้เคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น
- สวยงาม ทำให้ฟันดูดีขึ้นโดยไม่เห็นรอยผุ
ข้อเสียของการอุดฟัน
- วัสดุบางประเภทอาจไม่ทนถาวร
- อาจเกิดการเสียวฟันชั่วคราว
- กรณีอุดฟันแล้วไม่เรียบหรือสูงไป อาจต้องกลับไปแก้ไข
อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการอุดฟันมีอะไรบ้าง?
อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากการอุดฟันนั้นสามารถพบได้ แต่ไม่ใช่ทุกราย ซึ่งอาการที่อาจพบได้ เช่น
- อาการเสียวฟันหรือปวดฟันหลังอุด มักหายได้ภายในไม่กี่วัน แต่หากนานกว่า 1–2 สัปดาห์ควรพบทันตแพทย์
- ฟันสูง เคี้ยวไม่สนิท
- วัสดุอุดฟันหลุดหรือแตก
- เกิดฟันผุซ้ำใต้วัสดุอุด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการอุดฟัน
1. อุดฟันเจ็บไหม?
การอุดฟันโดยทั่วไปมักไม่เจ็บมาก เพราะทันตแพทย์มักให้ยาชาก่อนกรอฟันหรืออุดฟัน โดยเฉพาะในกรณีที่ฟันผุลงลึกถึงเนื้อฟันที่มีเส้นประสาท
2. อุดฟันกินอะไรได้บ้าง?
หลังอุดฟันอาจทำให้ฟันรู้สึกไวต่ออุณหภูมิ ควรหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นมากในช่วง 1–2 วันแรก นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารที่แข็ง เหนียว เพื่อป้องกันไม่ให้วัสดุอุดหลุดออกมา
อุดฟันไม่ใช่แค่เรื่องความสวยงาม แต่เป็นการดูแลสุขภาพช่องปากระยะยาว
การดูแลฟันอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญที่ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพช่องปาก ไม่ใช่แค่เพื่อความสะอาดหรือความสวยงามเท่านั้น แต่ยังช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ และยืดอายุให้ฟันอยู่กับเราไปนาน ๆ
ช้อปแพ็กเกจสุขภาพได้เลยที่ Health Plaza รวมแพ็กเกจตรวจสุขภาพมาตรฐาน BDMS สะดวก ใช้งานง่าย พร้อมส่วนลด On Top
สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @healthplaza
Content powered by BeDee Expert
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
References
Dental Fillings. (n.d.). nidcr. https://www.nidcr.nih.gov/health-info/dental-fillings
Dental Amalgam Fillings. (2021, February 18). FDA. https://www.fda.gov/medical-devices/dental-devices/dental-amalgam-fillings
Filling. (n.d.). CDA. https://www.cda-adc.ca/en/oral_health/procedures/fillings/index.asp