ก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บ

Key Highlight

 

  • ก้อนไขมันและก้อนเนื้องอกไขมัน (Fat Nodule และ Lipoma) เกิดขึ้นจากเซลล์ไขมัน ซึ่งอยู่ในชั้นไขมัน โดยเป็นชั้นที่อยู่ระหว่างชั้นใต้ผิวหนังและชั้นกล้ามเนื้อ
  • ควรพบแพทย์ไหม? หากก้อนมีขนาดใหญ่ขึ้น ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจอย่างละเอียด
  • การรักษามีหลายวิธี เช่น การผ่าตัด การเจาะดูดของเหลว การฉีดยา เป็นต้น
  • หากมีไข้ ร่วมกับพบก้อนแข็งใต้ผิวหนังกดแล้วเจ็บและมีอาการปวดอาจแสดงถึงการติดเชื้อ รวมถึงหากพบว่าขนาด หรือลักษณะของก้อนโตขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วควรรีบพบแพทย์
สารบัญบทความ

ก้อนแข็งใต้ผิวหนัง คืออะไร

หลายคนอาจจะเคยจับ ๆ ผิวหนังตัวเองแล้วพบ ก้อนแข็ง ๆ ใต้ผิวหนังหรือพบลักษณะของก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บ ซึ่งเมื่อพบอาการเหล่านี้หลายคนน่าจะวิตกกังวลและเกิดความสงสัยว่าก้อนเนื้อแบบไหนอันตราย ก้อนใต้ผิวหนังที่เราเจอนั้นร้ายแรงหรือไม่ มารู้จักสาเหตุ อาการ และสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บกันเลย

ก้อนแข็งใต้ผิวหนัง มีกี่แบบ

  1. ก้อนไขมันและก้อนเนื้องอกไขมัน (Fat Nodule และ Lipoma) เกิดขึ้นจากเซลล์ไขมัน พบได้ตามชั้นใต้ผิวหนังและชั้นกล้ามเนื้อ โดยทั่วไปจะนิ่ม เมื่อคลำจะพบว่าขยับได้ มักพบในช่วงอายุ 40 – 60 ปี ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด หากก้อนไขมันหรือก้อนเนื้องอกใต้ผิวหนังเดิม เปลี่ยนไปมีลักษณะแข็งขึ้น อย่างชัดเจน กดเจ็บ หรือปวด อาจแสดงถึงความผิดปกติที่รุนแรง

  2. ก้อนฝี (Abscess) คือเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง เช่น ต่อมไขมัน (Sebaceous Gland) รากขน ที่เกิดการอักเสบ ติดเชื้อ จึงทำให้เกิดอาการปวด บวม แดง และกดเจ็บ

  3. ซีสต์หรือถุงน้ำ (Cyst) ซึ่งบรรจุของเหลวอยู่ภายใน เช่น น้ำเหลือง ไขมัน เมื่อจับหรือคลำจะรู้สึกว่ามีก้อนแข็งใต้ผิวหนัง ลักษณะกลมหรือค่อนข้างกลม ขยับได้ ไม่เจ็บ แต่หากก้อนซีสต์ไขมันใต้ผิวหนังเกิดการอักเสบ ติดเชื้อ อาจทำให้รู้สึกว่าก้อนนั้นกดแล้วเจ็บได้ ซีสต์ใต้ผิวหนังเกิดจากหลายสาเหตุ การวินิจฉัยต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น ลักษณะ ตำแหน่งที่เป็น เป็นต้น

  4. ก้อนเนื้องอกใต้ผิวหนังอื่นๆ มีทั้งลักษณะที่นิ่มและแข็ง อาจเจ็บหรือไม่เจ็บก็ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของก้อนเนื้อ 

 

ปรึกษาเรื่องก้อนเนื้องอกไขมันหรือก้อนเนื้ออื่น ๆ กับแพทย์ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ไม่ต้องเดินทาง จัดส่งสินค้าถึงมือ

ก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บ เกิดจากจากอะไร

ก้อนไขมันใต้ผิวหนัง เกิดจากอะไร ? ก้อนแข็ง ๆ ใต้ผิวหนัง มีหลายประเภทและเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

 

ก้อนใต้ผิวหนัง ที่มีลักษณะ แข็งปานกลาง แต่ไม่นิ่ม (Firm) พบได้จากหลายสาเหตุ กรณีที่เกิดจากการโตของต่อมน้ำเหลือง มักกดแล้วไม่เจ็บ แต่ในกรณีที่กดแล้วมีอาการเจ็บ อาจเกิดจากการอักเสบ ซึ่งอาจเป็นการอักเสบเฉพาะที่ หรือ การติดเชื้อของร่างกาย เช่นการติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ การติดเชื้อไวรัส หากเป็นก้อนของต่อมน้ำเหลือง ที่จับแล้วไม่เคลื่อนไหว ร่วมกับมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น น้ำหนักลด มีไข้ อาจสงสัยว่าเป็นเนื้อร้าย เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง หรือมะเร็งอื่น ๆ โดยขนาดของก้อนจะค่อย ๆ โตขึ้นช้า ๆ 

 

อีกประเภทหนึ่งคือก้อนซีสต์ มักมีลักษณะไม่แข็งมาก คล้ายยางลบ (Rubbery Consistency) กดแล้วไม่เจ็บ มักค่อย ๆ ขยายขนาดแบบช้า ๆ แต่หากซีสต์มีลักษณะการเปลี่ยนแปลงเร็วอาจเกิดจากการติดเชื้อ การอักเสบ 

 

อีกประเภทหนึ่งของก้อนแข็งคือก้อนแข็งที่เกิดการอักเสบ มีแคลเซียมไปสะสมบริเวณก้อนดังกล่าว ลักษณะก้อนจะพบว่ามีความเเข็งมาก เมื่อซักประวัติมักพบว่าผู้ป่วยมีก้อนแข็งมานาน ก้อนมีความแข็งเพิ่มขึ้น กดไม่เจ็บหรือเจ็บเพียงเล็กน้อย 

 

นอกจากนั้นก้อนแข็งใต้ผิวหนังอาจเกิดจาก เนื้องอกใต้ชั้นผิวหนัง เช่น ก้อนที่เต้านม (Fibroadenama) ซึ่งเป็นก้อนใต้ผิวหนังที่ขนาดเปลี่ยนแปลงได้ตามรอบประจำเดือน มีลักษณะไม่แข็งมาก และค่อย ๆ โต มักพบได้บ่อย ในผูัหญิง ตั้งแต่วัยรุ่น จนถึงก่อนวัยหมดประจำเดือน

ก้อนแข็งใต้ผิวหนัง มักมีอาการเป็นอย่างไร

ก้อนเนื้อแข็ง ๆ เจ็บ

เรามักไม่พบอาการอื่น ๆ ร่วมกับการมีก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บ แต่หากผู้ป่วยพบว่ามีความผิดปกติ อื่น ๆ เช่น มีไข้ ก้อนแข็งใต้ผิวหนังกดแล้วเจ็บและมีอาการปวดอาจแสดงถึงการติดเชื้อได้ หากมีก้อนที่ขนาดโตขึ้นเร็วหรือมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะของก้อน เช่น สี และ รูปร่างอย่างชัดเจน และไม่มีสาเหตุแน่ชัดควรปรึกษาแพทย์

ก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บ ที่ควรไปพบแพทย์

เมื่อพบก้อนแข็งใต้ผิวหนังกดแล้วเจ็บหรือก้อนเนื้อแข็งใต้ผิวหนังแล้วพบอาการต่อไปนี้ผู้ป่วยควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

 

  • ก้อนเนื้อหรือก้อนไขมันมีขนาดโตขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • พบก้อนที่ คอ รักแร้ เต้านม 
  • มีอาการปวด บวม แดง 
  • มีหนองหรือเลือดไหลออกจากก้อนไขมันหรือก้อนเนื้อ หรือมีแผลเกิดขึ้นบริเวณก้อน
  • มีก้อนใต้ผิวหนังเพิ่มขึ้นใหม่หลังจากที่ผ่าออกไปแล้ว

 

มีก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บหรือพบก้อนแข็งใต้ผิวหนัง ปรึกษาแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง จัดส่งยาฟรี ทั่วไทย

การวินิจฉัยอาการก้อนแข็งใต้ผิวหนัง

วิธีตรวจวินิจฉัยก้อนแข็งใต้ผิวหนังนั้น แพทย์จะตรวจร่างกายผู้ป่วยเบื้องต้น และตรวจคลำดูบริเวณก้อนดังกล่าวเพื่อหาสาเหตุที่ชัดเจน นอกจากนั้นแพทย์อาจใช้การตรวจอัลตราซาวน์ เพื่อตรวจดูลักษณะ และองค์ประกอบภายใน และสาเหตุที่เกี่ยวข้อง และอาจเจาะดูดเพื่อเก็บตัวอย่างของเหลวในกรณีที่เป็นซีสต์ เพื่อไปตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม แล้วจึงจะวางแผนการรักษาต่อไปตามความเหมาะสม

 

นอกจากนี้หากก้อนใต้ผิวหนังมีลักษณะหรือการวินิจฉัยจากการตรวจทั่วไปที่ยังไม่ชัดเจนหรือสงสัยว่ามีความผิดปกติอื่น ๆ แพทย์อาจวินิจฉัยโดยการตรวจ MRI หรือ CT scan เป็นต้น

ก้อนแข็งใต้ผิวหนัง รักษาอย่างไร

ก้อนไขมันใต้ผิวหนัง อักเสบ

การสังเกตอาการ

ก้อนใต้ผิวหนังหากมีขนาดเล็กและได้รับการวินิจฉัยที่ชัดเจนแล้วว่าไม่เป็นอันตราย เช่น ก้อนไขมันใต้ผิวหนังที่มีขนาดเล็ก แพทย์อาจติดตามสังเกตอาการ แต่หากก้อนมีขนาดโตขึ้น หรือมีอาการปวด กดเจ็บมากขึ้น ควรมาพบแพทย์โดยเร็ว

การเจาะดูดของเหลวออกในกรณีที่เป็นซีสต์

ซีสต์ไขมันใต้ผิวหนัง หากเป็นซีสต์ที่ขนาดไม่ใหญ่มากและไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน ตรวจประเมินแล้วไม่เป็นอันตราย แพทย์อาจรักษาโดยการดูดน้ำหรือของเหลวออก หรืออาจผ่าตัดกําจัดก้อนไขมันใต้ผิวหนัง

ฉีดยาเข้าไปในก้อนเพื่อการรักษา

หากพบว่าก้อนที่ตรวจพบเป็นก้อนที่ไม่ใช่ภาวะความผิดปกติรุนแรง เช่น ก้อนไขมันใต้ผิวหนัง หากมีขนาดไม่ใหญ่ สามารถใช้สารสเตีรอยด์ หรือสารสลายไขมัน ฉีดเข้าไปในก้อนเพื่อให้การรักษาได้

ผ่าตัด

เมื่อพบก้อนแข็งใต้ผิวหนังกดแล้วเจ็บหรือก้อนเนื้อแข็งใต้ผิวหนัง และได้รับการวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดก้อนใต้ผิวหนังออกอย่างเหมาะสม ในกรณีที่ก้อนใต้ผิวหนัง เป็นก้อนไขมัน การกําจัดก้อนไขมันใต้ผิวหนังที่รบกวนต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จะช่วยให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้สะดวกสบายยิ่งขึ้น ในกรณีที่ก้อนเนื้อไขมันมีขนาดไม่ใหญ่มากแพทย์อาจใช้การผ่าตัดเล็กเพื่อนำก้อนเนื้อไขมันออก

รับประทานยา

ในกรณีที่ก้อนไขมันใต้ผิวหนัง มีอาการ เจ็บ หรือปวด อาจใช้วิธีการรับประทานยาแก้ปวด แก้อักเสบ ในการบรรเทาอาการเบื้องต้น และหากพบว่าสาเหตุของการปวด เจ็บ ของก้อนเกิดจากการติดเชื้อ แพทย์ผู้รักษาอาจให้รับประทานยาปฏิชีวนะ เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บ

1. ก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บ อันตรายไหม?

ความอันตรายของก้อนเนื้อแข็งใต้ผิวหนังนั้นขึ้นอยู่กับว่าก้อนใต้ผิวหนังนั้น มีสาเหตุจากอะไร ซึ่งการที่จะทราบได้นั้นจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัย ตรวจดูว่าก้อนใต้ผิวหนังนั้นอันตรายหรือไม่ ผู้ป่วยไม่ควรหาซื้อยามารับประทานหรือกําจัดก้อนใต้ผิวหนังด้วยตนเอง ซึ่งอาจเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง วิธีรักษาก้อนใต้ผิวหนัง ควรทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

2. ก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บ หายเองได้หรือไม่?

ก้อนแข็งใต้ผิวหนังกดแล้วเจ็บหรือก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วไม่เจ็บนั้นไม่สามารถหายเองได้ วิธีรักษา

หากพบว่าเป็นก้อนใต้ผิวหนังนั้นควรต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสาเหตุที่แน่ชัด และให้การดูแลรักษาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามหากพบว่ามีก้อนเนื้อตามผิวหนังควรรีบปรึกษาแพทย์

สรุปพบก้อนแข็งใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บ รีบปรึกษาแพทย์

หากพบก้อนใต้ผิวหนัง กดแล้วเจ็บหรือก้อนเนื้ออื่น ๆ ตามร่างกายอย่าปล่อยไว้ เพราะเราไม่อาจทราบได้ว่าก้อนเนื้อนั้นคืออะไร อันตรายหรือไม่ รีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน 

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

นพ. จิติศักดิ์ พูนศรีสวัสดิ์ 

แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว เวชศาสตร์ป้องกัน และอาชีวเวชศาสตร์

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

  1. Brian Mastroianni, April 30, 2024, What’s Causing Hard Lumps Under My Skin, healthline.
    https://www.healthline.com/health/hard-lump-under-skin#faq

  1. Marjon Vatanchi, Jan 27, 2020, Cutaneous Lipomas Treatment & Management, Medscape
    https://emedicine.medscape.com/article/1057855-treatment?form=fpf

  1. Kristin Mitchell, April 19, 2024, Cysts, Bumps, and lumps on your skin, Web MD
    https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/cysts-lumps-bumps

  1. Lipoma, October 13, 2020, Lipoma, Cleveland Clinic
    https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15008-lipomas

  2. Aghel, September 2010, What is the tender nodule, DermX, The dermatologist.

https://www.hmpgloballearningnetwork.com/site/thederm/site/cathlab/event/what-tender-nodule

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรดไหลย้อน โรคที่พบได้บ่อยมากขึ้นเนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ทั้งผู้ที่มีโรคเครียด ขาดการออกกำลังกาย เคลื่อนไหวร่างกายน้อย รับประทานอาหารแล้วนอนทันที ปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกรดไหลย้อนมากขึ้น สร้างควา

เคยไหม? จู่ๆ ก็มีอาการปวดหัวไม่ทราบสาเหตุ บางครั้งก็ปวดหัวตื้อๆ หนักๆ หรือปวดหัวข้างเดียว บางรายก็อาจมีอาเจียนร่วมด้วย ทำให้เวลาที่มีอาการปวดหัว มักส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือการนอนหลับไปหมด   “ปวดหัว” เป็นอาการที่มีสาเหตุมาจากหลาก