วัณโรคต่อมน้ำเหลือง

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

Key Takeaways

  • วัณโรคต่อมน้ำเหลืองเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกันกับที่ทำให้เกิดวัณโรคปอด 
  • มักพบวัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ หรือ รักแร้ ขาหนีบ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณเหล่านี้สามารถโตขึ้น หรืออาจมีหนองไหลออกมา
  • วัณโรคต่อมน้ำเหลืองติดต่อได้ยากกว่าวัณโรคปอด ยกเว้นกรณีผู้ป่วยมีอาการวัณโรคปอดร่วมด้วย หรือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดสัมผัสบาดแผลของผู้ป่วยโดยตรง
สารบัญบทความ

วัณโรคต่อมน้ำเหลืองคืออะไร?

วัณโรคต่อมน้ำเหลือง (Tuberculous Lymphadenitis) คือวัณโรครูปแบบหนึ่งที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ซึ่งมักทำให้เกิดการติดเชื้อวัณโรคที่ปอดเป็นหลัก ในขณะที่วัณโรคต่อมน้ำเหลืองเกิดจากการที่เชื้อแพร่กระจายมาที่ต่อมน้ำเหลือง มักพบวัณโรคที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ (Cervical Lymph Nodes) ส่วนบริเวณอื่นที่สามารถพบได้เช่นกัน ได้แก่ รักแร้ (Axillary Lymph Nodes) หรือขาหนีบ (Groin Lymph Nodes)

BeDee Tips: รู้จักวัณโรคเทียม (NTM) แม้อาการใกล้เคียงแต่ไม่ใช่วัณโรค (TB)

วัณโรคต่อมน้ำเหลืองเกิดจากอะไร ?

วัณโรคต่อมน้ำเหลืองเกิดจาก

วัณโรคต่อมน้ำเหลืองสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Mycobacterium Tuberculosis ซึ่งเป็นเชื้อเดียวกับที่ทำให้เกิดวัณโรคปอด สาเหตุที่มักทำให้ผู้ป่วยได้รับเชื้อมีดังนี้

  • การแพร่กระจายของเชื้อวัณโรค

ผู้ป่วยได้รับเชื้อวัณโรคผ่านทางละอองฝอยในอากาศ (Droplet Nuclei) และเชื้อได้แพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดหรือระบบน้ำเหลือง 

  • ภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอ

ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV ผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อวัณโรคมากกว่าคนทั่วไป

  • การสัมผัสกับผู้ป่วยวัณโรค

การอยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่มีเชื้อวัณโรคอาจทำให้เชื้อเข้าสู่ร่างกายและแพร่ไปยังต่อมน้ำเหลือง

  • การติดเชื้อแฝงที่กำเริบ

กรณีที่ผู้ที่เคยติดเชื้อวัณโรคแฝง (Latent TB infection) มาก่อน เชื้ออาจไม่แสดงอาการในระยะแรก แต่เมื่อภูมิคุ้มกันลดลงเชื้ออาจกำเริบและแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง

  • ไม่เคยได้รับวัคซีน BCG

วัณโรคต่อมน้ำเหลืองอาการเป็นอย่างไร?

วัณโรคต่อมน้ำเหลืองมักมีอาการเด่นชัดในส่วนของต่อมน้ำเหลืองและยังมีอาการร่วมอื่น ๆ ที่อาจพบได้ด้วย เช่น 

  • ต่อมน้ำเหลืองบวมโต มักพบบริเวณคอ
  • ต่อมน้ำเหลืองโตหลายก้อน มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง
  • กรณีที่อาการรุนแรงขึ้น ต่อมน้ำเหลืองอาจนุ่มลงและมีหนองอยู่ภายในจนแตกออกจนเกิดเป็นฝี
  • มีไข้ต่ำในตอนเย็น
  • เหงื่อออกมากตอนกลางคืน
  • น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ
  • อ่อนเพลีย 
  • เบื่ออาหาร

วัณโรคต่อมน้ำเหลืองมีวิธีวินิจฉัยอย่างไร? 

วิธีตรวจวัณโรคต่อมน้ำเหลืองนั้นสามารถทำร่วมกันได้หลายวิธี โดยวิธีทั่วไปที่แพทย์มักใช้ในการวินิจฉัยดังต่อไปนี้

  • การซักประวัติ เช่น มีการสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วยวัณโรคหรือเดินทางไปพื้นที่ระบาดหรือไม่ มีการอาการ เช่น ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลด ไข้ต่ำ ๆ หรือเหงื่อออกกลางคืน
  • ตรวจร่างกายบริเวณที่ต่อมน้ำเหลืองโต เช่น คอ รักแร้ หรือขาหนีบ
  • การเจาะชิ้นเนื้อ (Biopsy) เพื่อตรวจหาเชื้อ Mycobacterium Tuberculosis ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดวัณโรค
  • เอกซเรย์ทรวงอก (Chest X-ray) เพื่อดูว่ามีเชื้อวัณโรคในปอดร่วมด้วยหรือไม่ 
  • ตรวจเลือด

วิธีรักษาวัณโรคต่อมน้ำเหลือง

รักษาวัณโรคต่อมน้ำเหลือง

วิธีรักษาวัณโรคในปัจจุบันนั้นจะใช้การรักษาด้วยยาเป็นหลัก ซึ่งการรักษาวัณโรคต่อมน้ำเหลืองนั้นใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 6 เดือน ยารักษาวัณโรคที่นิยมใช้ เช่น Isoniazid (INH), Rifampicin (RIF), Pyrazinamide (PZA) และ Ethambutol (EMB)

 

นอกจากนี้ หากผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลืองที่โตมาก มีอาการรุนแรงแพทย์อาจรักษาด้วยการเจาะเอาหนองบริเวณต่อมน้ำเหลืองออกร่วมด้วย

 

วัณโรคต่อมน้ำเหลืองรักษาอย่างไร? ปรึกษาคุณคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งยาถึงที่

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการวัณโรคต่อมน้ำเหลือง

1. วัณโรคต่อมน้ำเหลืองอันตรายไหม?

วัณโรคต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาได้และมักไม่ถึงขั้นอันตรายถึงชีวิตหากได้รับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหรือได้รับการรักษาอย่างไม่เหมาะสมเชื้อวัณโรคอาจแพร่กระจายจากต่อมน้ำเหลืองไปยังอวัยวะอื่น ๆ ได้ เช่น ปอด กระดูก สมอง หากเชื้อวัณโรคแพร่ไปยังสมองอาจทำให้เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากวัณโรค (Tuberculous Meningitis) ซึ่งอันตรายถึงชีวิต

2. วัณโรคต่อมน้ำเหลืองติดต่อหรือไม่?

วัณโรคต่อมน้ำเหลืองติดต่อได้ยากต่างจากวัณโรคปอดที่เชื้อมักกระจายผ่านการไอ จาม กรณีที่อาจทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ผู้ป่วยวัณโรคต่อมน้ำเหลืองมีเชื้อวัณโรคที่ปอดร่วมด้วย ทำให้สามารถแพร่กระจายเชื้อในทางเดินหายใจ ผ่านการไอ จาม หรือพูด หรือการสัมผัสของเหลวจากฝีหรือหนองของผู้ป่วย ผู้ที่สัมผัสบาดแผลหรือฝีหนองของผู้ป่วยโดยตรงอาจมีความเสี่ยงต่อการติดโรคได้

วัณโรคต่อมน้ำเหลือง 

หากพบว่ามีอาการต่อมน้ำเหลืองโตขึ้นเรื่อย ๆ มีแผลหรือฝีที่มีหนองไหลออกมา มีไข้สูง น้ำหนักลดอย่างรวดเร็วและผิดปกติ อย่าปล่อยไว้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที 

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS 

 

Content powered by BeDee Expert

พญ. ไอริณ จริยะโยธิน 

แพทย์ อายุรแพทย์

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

  1. Mohapatra, P. R., & Janmeja, A. K. (2009). Tuberculous lymphadenitis. The Journal of the Association of Physicians of India57, 585–590.
  2. Bayazit, Y. A., Bayazit, N., & Namiduru, M. (2004). Mycobacterial cervical lymphadenitis. ORL; journal for oto-rhino-laryngology and its related specialties66(5), 275–280. 
  3. Marimani, M., Ahmad, A., & Duse, A. (2018). The role of epigenetics, bacterial and host factors in progression of Mycobacterium tuberculosis infection. Tuberculosis (Edinburgh, Scotland), 113, 200–214.
บทความที่เกี่ยวข้อง

สารบัญบทความ โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever) คืออะไร โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever) คือโรคที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค เมื่อยุงลายกัดผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสเดงกีไม่ว่าจะสายพันธุ์ DENV-1,

Key Takeaway วัคซีนไข้หวัดใหญ่ถูกผลิตขึ้นจากเชื้อตาย มีความปลอดภัยสูง  ตัวเชื้อในวัคซีนจะเข้าไปกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันต่อโรคไข้หวัดใหญ่ในร่างกายของผู้ที่รับวัคซีน เมื่อหายจากไข้หวัดใหญ่แล้วยังควรได้รับวัคซีนไข้หวัดใหญ่อยู่เนื่องจากภูมิคุ้มกันจะค่อ