วัยรุ่น

Key Takeaways

  • วัยรุ่นเป็นช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
  • คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยเหลือได้ด้วยการรับฟังอย่างไม่ตัดสิน และทำให้ลูกรู้สึกสบายใจที่จะพูดคุยด้วย
  • หากมีปัญหาในการปรับตัวเข้าสู่วัยรุ่นควรปรึกษาคุณหมอ
สารบัญบทความ

วัยรุ่น คือช่วงอายุใด และแบ่งเป็นกี่ช่วง

วัยรุ่นหมายถึงกลุ่มผู้ที่มีอายุระหว่าง 10-19 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สำคัญในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อารมณ์ และสังคม วัยรุ่นสามารถแบ่งออกเป็นสามช่วงหลักดังนี้

วัยรุ่นตอนต้น

วัยรุ่นตอนต้นหรือช่วงอายุ 10-13 ปี เป็นช่วงที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของวัยรุ่นที่ชัดเจน เช่น การเจริญเติบโตของอวัยวะเพศ การเริ่มมีประจำเดือนในเด็กผู้หญิง และการเปลี่ยนแปลงทางเสียงในเด็กผู้ชาย ในด้านการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นด้านจิตใจและอารมณ์เริ่มมีการค้นหาและยอมรับตัวตน ต้องการความเป็นอิสระมากขึ้น

วัยรุ่นตอนกลาง

วัยรุ่นตอนกลางหรือช่วงอายุ 14-17 ปี การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย วัยรุ่นชายและหญิงยังคงดำเนินต่อไปจากในช่วงวัยรุ่นตอนต้น ในด้านความสัมพันธ์ทางสังคมและเพื่อนเริ่มมีความสำคัญมากขึ้น การรู้จักตนเองและการค้นหาตัวตนยังคงเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับในวัยนี้ นอกจากนี้พัฒนาการของวัยรุ่นตอนกลางด้านอารมณ์มักมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

วันรุ่นตอนปลาย

วัยรุ่นตอนปลายหรือช่วงอายุตั้งแต่ 17-19 ปี ในด้านการพัฒนาทางด้านร่างกายส่วนใหญ่จะสมบูรณ์ในวัยรุ่นตอนปลาย การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ด้านจิตใจและอารมณ์จะเริ่มมั่นคงมากขึ้น มีการวางแผนสำหรับอนาคตเช่น การเลือกอาชีพหรือการศึกษาต่อ ความสัมพันธ์ทางสังคมและการสร้างความสัมพันธ์ในระยะยาวเริ่มมีความสำคัญ

 

BeDee Tips: การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรและท้องในวัยเรียนทำให้เกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง วิธีรับมือสำหรับคุณพ่อคุณแม่ อ่านเลย

 

ปรึกษาปัญหาวัยรุ่นและวิธีรับมือของคุณแม่กับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว

ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของวัยรุ่น

ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่นนั้นมีหลายอย่างด้วยกัน โดยทั่วไปแล้วสิ่งที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น ได้แก่

  • พันธุกรรม ในด้านร่างกายแน่นอนว่าลักษณะผิวพรรณ ส่วนสูง หน้าตา ล้วนได้รับการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมาจากครอบครัวรวมถึงในด้านอารมณ์พบว่าเด็กมักได้รับการถ่ายทอดลักษณะทางอารมณ์หรือบุคลิกภาพมาจากผู้ที่เลี้ยงดู
  • ครอบครัว การเลี้ยงดูและอารมณ์ของผู้ปกครองมักถ่ายทอดและหล่อหลอมบุคลิกภาพและลักษณะนิสัยของวัยรุ่น
  • เพื่อน กลุ่มเพื่อนสามารถมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและความคิดของวัยรุ่น จะสังเกตได้ว่าวัยรุ่นจะติดเพื่อนมากขึ้นและมักรวมกลุ่มกับเพื่อนที่มีความชอบหรือกิจกรรมคล้าย ๆ กัน
  • โรงเรียน สิ่งที่ได้เรียนรู้จากโรงเรียนและคุณครูจะส่งผลต่อการคิดวิเคราะห์และพฤติกรรมของวัยรุ่น
  • โซเชียลมีเดีย เป็นอีกหนึ่งช่องทางที่ส่งผลต่อวัยรุ่น ทั้งเรื่องของอารมณ์ การเห็นคุณค่าในตนเอง หรือแม้แต่การรับข้อมูลต่าง ๆ ทั้งในทางที่ดีและในทางที่ไม่เหมาะสม

การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นชายมีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่นชาย

การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นชายทั้งในด้านร่างกายและอารมณ์นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างด้วยกัน สิ่งที่พบได้ในการเจริญเติบโตของวัยรุ่นชาย เช่น

ร่างกาย

  • น้ำหนักและส่วนสูงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • กล้ามเนื้อและกระดูกมีการเจริญเติบโต ทำให้ร่างกายมีรูปร่างที่แข็งแรงขึ้น
  • อวัยวะเพศจะเริ่มใหญ่ขึ้นและมีการทำงานของต่อมลูกหมาก
  • เริ่มมีการผลิตอสุจิจึงทำให้เกิดฝันเปียก
  • ขนเริ่มขึ้นที่ใบหน้า หน้าอก รักแร้ และบริเวณอวัยวะเพศ
  • เสียงทุ้มลึกมากขึ้นหรือที่เรียกว่า เสียงแตก

อารมณ์และจิตใจ

  • มีความอ่อนไหวทางอารมณ์สูงและอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
  • ต้องการอิสระจากพ่อแม่มากขึ้น
  • เก็บตัวมากขึ้น ต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
  • ต้องการความเป็นอิสระในการตัดสินใจมากขึ้น ไม่ชอบการโดนตัดสินหรือการบังคับให้ทำ
  • เริ่มค้นหาตัวตนของตนเอง ทั้งในเรื่องของความเชื่อ การเลือกอาชีพ 
  • อาจพบปัญหาติดเกมในบางราย

การเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นหญิงมีอะไรบ้าง

การเปลี่ยนแปลงในวัยรุ่นหญิง

การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายและอารมณ์ของวัยรุ่นหญิงนั้นเป็นกระบวนการธรรมชาติที่เกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่น ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายข้อดังนี้

ร่างกาย

  • วัยรุ่นหญิงจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงที่เรียกว่าการเจริญเติบโตแบบพุ่งพรวด (Growth Spurt) ส่งผลให้ส่วนสูงและน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • เริ่มมีประจำเดือน
  • หน้าอกและสะโพกขยายเนื่องจาการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ
  • มีขนขึ้นบริเวณอวัยวะเพศและรักแร้

อารมณ์และจิตใจ

  • วัยรุ่นหญิงอาจมีความอ่อนไหวทางอารมณ์สูงและอารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ง่าย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน
  • เก็บตัวมากขึ้น ต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น
  • ต้องการอิสระจากพ่อแม่มากขึ้น
  • การสร้างและรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนมีความสำคัญมากขึ้น วัยรุ่นมักจะให้ความสำคัญกับการได้รับการยอมรับจากกลุ่มเพื่อน
  • เริ่มค้นหาตัวตนของตนเอง ทั้งในเรื่องของความเชื่อ ค่านิยม

พ่อแม่ผู้ปกครองรับมืออย่างไร เมื่อลูกหลานเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น

เมื่อเด็กเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น พ่อแม่และผู้ปกครองอาจพบความท้าทายในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อย่างไรก็ตามผู้ปกครองสามารถใช้แนวทางดังต่อไปนี้ในการรับมือกับลูกรวมถึงความรู้สึกของตัวเองได้ 

  • รับฟังลูกอย่างตั้งใจ โดยไม่ตัดสินหรือวิจารณ์ในสิ่งที่ลูกคิด เพื่อให้เขารู้สึกว่าสามารถพูดคุยและปรึกษาพ่อแม่ได้ โดยที่ไม่โดนตัดสิน และทำให้บรรยากาศการพูดคุยเป็นในแบบพื้นที่ปลอดภัย ที่ลูกจะสามารถเล่าเรื่องราวต่างๆให้พ่อแม่ของตนเองฟังได้
  • ลดบทบาทของ “ผู้ปกครอง” และเพิ่มบทบาท “ผู้ประคอง” โดยการเคารพการตัดสินใจของวัยรุ่น ไม่สั่งหรือไม่บังคับให้ทำ แต่เป็นการแนะนำในผลกระทบของทางเลือกต่าง ๆ แทน
  • เข้าใจว่าการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์และพฤติกรรมเป็นส่วนหนึ่งของการเจริญเติบโต
  • เนื่องจากวัยรุ่นนั้นมีความต้องการที่จะเป็นอิสระค่อนข้างมาก คุณพ่อคุณแม่สามารถตั้งกฏระเบียบและขอบเขตที่ชัดเจนสำหรับพฤติกรรมต่าง ๆ และมีความยืดหยุ่นในบางเรื่อง โดยกฏที่ตั้งนั้นต้องมีเหตุผล เพื่อให้ลูกเข้าใจและยอมรับ
  • สร้างความมั่นใจให้ลูกว่าพวกเขามีความสำคัญและได้รับความรักและความห่วงใยจากพ่อแม่เสมอ
  • ส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโต เช่น การจัดการกับความเครียด การตัดสินใจที่มีความรับผิดชอบ และการสื่อสารที่ดี
  • สนับสนุนการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เสริมสร้างทักษะและความสนใจของลูก
  • พฤติกรรมและค่านิยมของพ่อแม่มีผลต่อการพัฒนาของลูก ดังนั้นการเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องการจัดการอารมณ์ การแก้ไขปัญหา และการมีความสัมพันธ์ที่ดีเป็นสิ่งสำคัญ
  • หากมีปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขได้หรือรู้สึกว่าต้องการคำแนะนำเพิ่มเติม อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญ เช่น จิตแพทย์ หรือนักจิตวิทยา

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวัยรุ่น

1. การปรับตัวทางเพศของวัยรุ่นควรทำอย่างไร?

การปรับตัวทางเพศของวัยรุ่นเป็นเรื่องสำคัญ ในด้านการสอนในโรงเรียนควรมีการสอนเพศศึกษาเพื่อให้ความรู้เรื่องเพศอย่างถูกต้อง ให้ความรู้เรื่องการป้องกันการตั้งครรภ์และป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การใช้ถุงยางอนามัย สำหรับในด้านครอบครัวผู้ปกครองควรเปิดใจและพร้อมที่จะตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องเพศของลูกอย่างจริงจังและสุภาพ สร้างบรรยากาศที่สามารถเปิดอกคุยเรื่องทางเพศได้ เพื่อสร้างความเข้าใจและความไว้วางใจ

2. การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของวัยรุ่นมีลักษณะอย่างไร?

ในด้านร่างกายทั้งเพศชายและเพศหญิงจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น น้ำหนักและส่วนสูงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อวัยวะเพศขยายใหญ่ขึ้น ในเพศหญิงหน้าอกและสะโพกขยายใหญ่ขึ้น เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ในเพศชายเริ่มมีการหลั่งของอสุจิ เสียงทุ้มมากขึ้น เป็นต้น

3. เมื่อมีปัญหาวัยรุ่นควรทำอย่างไร?

หากมีปัญหาไม่สบายใจในการปรับตัวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นทั้งตัววัยรุ่นเองและผู้ปกครองสามารถปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกได้ทันทีโดยไม่ต้องกังวลหรือรู้สึกอายที่จะขอคำปรึกษา การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญจะทำให้เรารับมือและจัดการปัญหาได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น

สรุปวัยรุ่นเป็นช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงและปรับตัว หากมีปัญหาสามารถปรึกษาจิตแพทย์ได้ทุกวัน 

การเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ละเอียดอ่อนและเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย หากมีปัญหาในการปรับตัวเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงวิธีการรับมือของคุณพ่อคุณแม่เมื่อลูกเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นสามารถปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee ได้ทุกวัน 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษาเภสัชกร เป็นส่วนตัวสูง พร้อมจัดส่งสินค้าถึงมือ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

Content powered by BeDee Expert

ธนวินท์ มีลาภอุดมชัย
นักจิตวิทยาคลินิก

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Physical changes in puberty. (2024, May 22). Raising Children Network. https://raisingchildren.net.au/pre-teens/development/puberty-sexual-development/physical-changes-in-puberty


User, S. (n.d.). Changes during teenage | Adapting to your growing body |Puberty2Menopausehttps://puberty2menopause.com/index.php/women-health-resources/i-am-below-18-years-old/puberty/adapting-to-your-growing-body


Puberty Basics (for Teens). (n.d.). https://kidshealth.org/en/teens/puberty.html

บทความที่เกี่ยวข้อง

เสาร์อาทิตย์ทีไรก็อยากจะนอนยาว ๆ ทั้งวัน ไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรแล้ว รู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ นอนเยอะแต่ยังง่วง รู้หรือไม่ว่าคุณอาจกำลังเป็น “โรคนอนเยอะเกินไป” แม้เราจะคิดว่าการนอนหลับนั้นเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เมื่อไหร่ที่เจอเรื่องเครียด เหนื่อ

Key Takeaways Midlife Crisis มักเกิดในช่วงอายุ 40 ปีขึ้นไป อาการที่พบ เช่น แยกตัวออกจากสังคม ตั้งคำถามกับเป้าหมายของตัวเอง ไม่อยากพูดคุยกับใคร เปรียบเทียบความสำเร็จหรือความล้มเหลวของตนเองกับผู้อื่น Midlife Crisis สามารถดีขึ้นได้ด้วยการปรับตัว ปรับควา