โรค CVS

Key Takeaways

  • CVS คือ โรคทางสายตาทำให้เกิดอาการ ตาแห้ง ตาล้า ตาพร่า โฟกัสไม่ได้ แสบตา 
  • CVS คือ โรคที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์หรืออยู่หน้าจออุปกรณ์ดิจิทัลเป็นเวลานาน
  • หากมีอาการ CVS ควรพักสายตาทุก ๆ 15-20 นาที จัดระดับโต๊ะทำงานให้เหมาะสม หยอดน้ำตาเทียม หรือปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม
สารบัญบทความ

CVS คืออะไร?

โรค Computer Vision Syndrome (CVS) หรือ Digital Eye Strain คือ กลุ่มอาการที่เกิดขึ้นจากการใช้คอมพิวเตอร์หรือจ้องมองหน้าจอดิจิทัล เช่น สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต เป็นเวลานานซึ่งทำให้เกิดอาการทางสายตา เช่น ตาล้า ตาแห้ง ปวดตา ตาพร่า และอื่น ๆ CVS คือโรคที่มักพบได้ในกลุ่มคนทำงานออฟฟิศ กลุ่มผู้ที่ใช้เวลาไปกับการเล่นเกมทางคอมพิวเตอร์หรือสมาร์ตโฟนหรือติดเกม หรือกลุ่มผู้ที่ต้องอยู่กับหน้าจอเป็นเวลานาน

 

ปรึกษาอาการ CVS คืออะไร รักษาอย่างไรดีกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก จัดส่งยาถึงที่

เช็กอาการ CVS มีอะไรบ้าง? 

โรค CVS อาการ

อาการของโรค CVS คือกลุ่มอาการที่เกี่ยวข้องกับปัญหาทางสายตาเป็นหลัก โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรค CVS จะพบอาการ เช่น

  • ตาแห้ง
  • ตาล้า
  • ตาสู้แสงไม่ได้
  • แสบตา ระคายเคืองตา
  • ปวดกระบอกตา
  • ตาพร่า โฟกัสไม่ได้
  • ปวดศีรษะ
  • ปวดคอ บ่า ไหล่ หรือออฟฟิศซินโดรม

อาการ CVS เกิดจากสาเหตุใด? 

โรคคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรมหรือ CVS มักเกิดการใช้สายตาเป็นระยะเวลานาน โดยทั่วไปแล้วสาเหตุที่ทำให้เกิด CVS ได้แก่

  • การจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน ๆ จะทำให้กระพริบตาน้อยลงส่งผลให้ตาแห้ง
  • การนั่งทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีแสงไม่เหมาะสม ทั้งแสงจ้าเกินไปและแสงน้อยเกินไป
  • มีแสงสะท้อนจากหน้าจอมากเกินไป
  • นั่งทำงานในท่าที่ไม่เหมาะสม

ใครบ้างที่เสี่ยงเกิดอาการ CVS 

โรค CVS คืออาการที่มักเกิดขึ้นกับผู้ที่ใช้หน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน หรือแท็บเล็ตเป็นเวลานาน ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่มักเกิดอาการ CVS เช่น

  • พนักงานออฟฟิศ
  • นักเรียนหรือนักศึกษาที่ต้องเรียนออนไลน์
  • กลุ่มผู้ที่ต้องทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

 

ปรึกษาการใช้น้ำตาเทียมกับเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน ไม่มีค่าปรึกษา ส่งยาถึงที่

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากอาการ CVS มีอะไรบ้าง?

อาการ CVS คือโรคที่หากไม่ได้รับการรักษาหรือไม่ได้เปลี่ยนพฤติกรรมอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ส่งผลต่อสุขภาพตาได้ อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น

 

  • ตาล้าเรื้อรัง หากใช้หน้าจอเป็นเวลานานโดยไม่พักสายตา อาจทำให้เกิดอาการตาล้าที่รุนแรงขึ้น 
  • สายตาพร่ามัว ทำให้มองเห็นได้ไม่ชัดเจน รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • ตาแห้งเรื้อรัง (Chronic Dry Eye) การจ้องหน้าจอเป็นเวลานานอาจทำให้กระพริบตาน้อยลง อาจทำให้เกิดอาการตาแห้งเรื้อรังได้
  • ปวดศีรษะเรื้อรัง (Chronic Headache) อาการปวดศีรษะจากการใช้สายตานานเกินไปอาจเกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้น จนกลายเป็นอาการปวดศีรษะเรื้อรัง 
  • ปวดคอ บ่า ไหล่ และหลัง การนั่งทำงานในท่านั่งที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อบริเวณคอ บ่า ไหล่ และหลัง

วิธีการรักษา CVS ทำอย่างไร?

วิธีการรักษาโรค CVS นั้นแพทย์จะมุ่งเน้นไปที่การแนะนำให้ผู้ป่วยปรับพฤติกรรม เช่น ไม่ใช้สายตามากเกินไป พักสายตาทุก ๆ 20 นาที จัดปรับโต๊ะทำงานและท่านั่งให้เหมาะสม ปรับแสงสว่างของหน้าจอให้เหมาะสม และหยอดน้ำตาเทียมเมื่อมีอาการตาแห้งหรือระคายเคืองร่วมด้วย

ป้องกันตัวเองอย่างไร ให้ห่างไกลอาการ CVS 

ป้องกันตัวเองให้ห่างไกลอาการ CVS ได้อย่างง่ายดาย เพียงปฏิบัติตน ดังนี้

  • ปรับโต๊ะทำงานให้ความสูงของหน้าจอคอมพิวเตอร์อยู่ระดับสายตา
  • เก้าอี้ควรรองรับบริเวณหลังและคอ หรือสามารถปรับให้เข้ากับสรีระของผู้ใช้งานได้ตามสะดวก
  • ควรปรับเก้าอี้ให้หัวเข่าอยู่ระดับเดียวกับข้อสะโพก
  • จัดวางสิ่งของบนโต๊ะทำงานให้เป็นระเบียบ อยู่ในระยะที่หยิบของใช้ได้ง่าย โดยไม่ต้องโน้มตัวหรือเอื้อมไปหยิบ
  • ไม่นั่งหลังค่อม เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ
  • พักสายตาจากคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือทุก ๆ 20 นาที
  • จอคอมพิวเตอร์ควรตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับสายตา 15 องศา จะช่วยลดอาการปวดตา ปวดคอ
  • ปรับความสว่างหน้าจอประมาณ 3 เท่าจากความสว่างของสภาพแวดล้อม
  • วางโทรศัพท์มือถือลงบ้าง ไม่ใช้งานอยู่ตลอดเวลา

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ CVS 

1. CVS อันตรายหรือไม่?

CVS คือโรคทางสายตาซึ่งไม่ได้ส่งผลอันตรายถึงชีวิตแต่รบกวนชีวิตประจำวันและอาจส่งผลกระทบอื่น ๆ ต่อร่างกายในระยะยาวหากปล่อยทิ้งเอาไว้ หากพบอาการ CVS ควรรีบปรับพฤติกรรม เช่น พักสายตาทุก ๆ 20 นาที ไม่ใช้หน้าจอติดต่อกันนานเกินไป มองสลับระยะใกล้ไกล ไม่เพ่งมองหน้าจอในระยะใกล้ ๆ เป็นเวลานาน และจัดปรับที่นั่งให้เหมาะสม

2. CVS รักษาให้หายได้หรือไม่?

CVS คือโรคที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ทันที สิ่งที่ผู้ป่วยสามารถทำได้คือปรับพฤติกรรม พักสายตา ไม่ใช้สายตามากเกินไป หยอดน้ำตาเทียมเมื่อรู้สึกตาแห้ง ระคายเคืองตา และสามารถปรึกษาคุณหมอเพิ่มเติมได้หากมีอาการตาแห้งรุนแรงหรือมีอาการอื่น ๆ แทรกซ้อน

CVS คือโรคทางสายตาที่เราต้องระวัง และไม่ควรมองข้าม

ถึงแม้ว่า CVS คือโรคที่ฟังดูไม่รุนแรงแต่สร้างความลำบากในการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก และหากปล่อยไว้ไม่รักษาหรือไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็อาจทำให้อาการรุนแรง เกิดอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาได้

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS 

 

Content powered by BeDee Expert

พญ. ไอริณ จริยะโยธิน

แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป 

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Computer vision syndrome (Digital eye strain). (n.d.). https://www.aoa.org/healthy-eyes/eye-and-vision-conditions/computer-vision-syndrome?sso=y

 

Watson, S. (2024, February 13). What is Computer Vision Syndrome? WebMD. https://www.webmd.com/eye-health/computer-vision-syndrome

 

Computer Vision Syndrome (Digital Eye Strain) – EyeWiki. (2023, May 6). https://eyewiki.org/Computer_Vision_Syndrome_(Digital_Eye_Strain)

บทความที่เกี่ยวข้อง

กายภาพบำบัด คือ วิชาชีพหนึ่งทางการแพทย์ที่ส่งเสริม รักษา ป้องกัน และฟื้นฟูสุขภาพตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ การทำกายภาพบำบัดไม่จำเป็นต้องทำกับผู้สูงอายุเท่านั้น แต่กายภาพบำบัดสามารถทำได้กับทุกคนที่ต้องการผ่อนคลาย รวมถึงผู้ที่มีอาการออฟฟิศซินโดรม กายภาพบ

Key Takeaways ออฟฟิศซินโดรมวิธีแก้คือการปรับพฤติกรรมการนั่ง การเดิน อย่างถูกต้อง ออฟฟิศซินโดรมรักษาได้ด้วยการปรับพฤติกรรม ปรึกษาแพทย์ หรือการยืดกล้ามเนื้อด้วยตัวเองในท่าง่าย ๆ  มีอาการออฟฟิศซินโดรมปรึกษาแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สารบ