Key Takeaways เมื่อมีเพศสัมพันธ์ทุกครั้ง ควรป้องกันโรคติดต่อและการท้องไม่พร้อม ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยและยาคุมกำเนิด ปัจจัยเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรคือ อาจทำให้เนื้อเยื่อในช่องคลอดฉีกขาด เนื่องจากร่างกายยังไม่พร้อมต่อการมีเพศสัมพันธ์ เมื่
นกเขาไม่ขัน ปัญหาเมื่อน้องชาย “ไม่แข็งแรง” เหมือนเดิม
Key Highlight
- ปัญหานกเขา ไม่ขันเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งปัญหาการไหลเวียนของหลอดเลือด ปัญหาฮอร์โมนเพศชายลดลง การทานยาบางชนิด การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ความเครียด
- นกเขาไม่ขันในเพศชายอายุน้อยมักจะเกิดจากปัจจัยด้านจิตใจ เช่น ผู้ที่มีความเครียด มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า
- อาการนกเขาไม่ขันนั้นไม่ได้รุนแรงหรือส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้โดยตรง แต่อาจเป็นผลจากโรคทางสุขภาพร่างกายบางอย่าง
นกเขาไม่ขัน คืออะไร
อาการนกเขาไม่ขัน (Erectile Dysfunction หรือ Erectile Disorder) คือ ปัญหาสมรรถภาพทางเพศในเพศชาย โดยอาการที่เกิดขึ้นคืออวัยวะเพศชายไม่แข็งตัว ซึ่งปกติแล้วเมื่อเกิดอารมณ์ทางเพศหรือเมื่ออวัยวะเพศถูกกระตุ้นจะทำให้เลือดไหลมาเลี้ยงบริเวณอวัยวะเพศเพิ่มขึ้นจึงทำให้แข็งตัว แต่ในผู้ที่มีปัญหานกเขา ไม่ขันเกิดจากหลายสาเหตุ ทั้งปัญหาการไหลเวียนของหลอดเลือด ปัญหาฮอร์โมนเพศชายลดลง การทานยาบางชนิด การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ความเครียด ความวิตกกังวล ปัญหาความสัมพันธ์ และปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดปัญหานกเขาไม่ขันได้
นกเขาไม่ขันกับภาวะหลั่งเร็ว คนละภาวะอย่าสับสน รู้จักกับภาวะหลั่งเร็วได้ที่นี่
ปรึกษาอาการนกเขาไม่ขันกับแพทย์ผู้ชำนาญการที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง
นกเขาไม่ขัน เกิดจากสาเหตุใด
นกเขาไม่ขันเกิดจากอะไร อาการนกเขาไม่ขันที่เกิดในเพศชายนั้นเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วนกเขาไม่ขันเกิดจากสาเหตุดังนี้
สภาพร่างกาย
สาเหตุนกเขาไม่ขันเกี่ยวข้องกับสภาพร่างกาย เช่น อายุที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักตัวมาก การขาดฮอร์โมนเพศชาย โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด เป็นต้น รวมถึงผู้ที่ทานยาบางชนิด
สภาพจิตใจ
นกเขาไม่ขัน สาเหตุหนึ่งมาจากปัญหาสภาพจิตใจด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเพศชายที่มีอายุน้อยมักจะเกิดจากปัจจัยด้านจิตใจ เช่น ผู้ที่มีความเครียด มีภาวะวิตกกังวล ซึมเศร้า ปัญหาความสัมพันธ์ หรือโรคทางด้านจิตเวชอื่น ๆ มีผลต่อการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย ทำให้เสี่ยงต่ออาการนกเขาไม่ขันได้
ดื่มเหล้า สูบบุหรี่
การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ทำให้มีปัญหากับหลอดเลือดและเสี่ยงต่อนกเขาไม่ขันได้
อาการของนกเขาไม่ขัน
นกเขาไม่ขันหรืออาการอวัยวะเพศชายไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวได้ไม่นานนั้นมีอาการดังนี้
- อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้
- อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ แต่ระดับความแข็งลดลง
- อวัยวะเพศชายแข็งตัวได้ไม่นานจนทำให้ไม่สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้
หากสังเกตว่ามีอาการข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อพร้อมกัน ควรรีบปรึกษาอาการกับแพทย์ เพื่อประเมินและหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในบางรายที่ไม่เข้ารับการปรึกษาตั้งแต่เริ่มมีอาการ อาจส่งผลต่อความมั่นใจตนเอง กระทบความสัมพันธ์ และอาจทำให้เกิดปัญหาอารมณ์ทางเพศต่ำตามมาได้
ปรึกษาอาการนกเขาไม่ขันกับแพทย์ผู้ชำนาญการที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง
ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้จากอาการนกเขาไม่ขัน
อาการนกเขาไม่ขันนั้นไม่ได้รุนแรงหรือส่งผลให้เกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้โดยตรง แต่อาจเป็นผลจากโรคทางสุขภาพร่างกายบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพด้านนี้อยู่แต่เดิม
ในอีกทางหนึ่ง อาการนกเขาไม่ขันส่งผลทางด้านความมั่นใจและสุขภาพจิตในเพศชาย สิ่งที่อาจพบได้จากอาการนกเขาไม่ขัน เช่น
- เกิดความเครียด วิตกกังวล หรือภาวะซึมเศร้า
- เกิดความอาย ไม่มั่นใจ
- อาจทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์
การวินิจฉัยนกเขาไม่ขัน
วิธีการวินิจฉัยอาการนกเขาไม่ขันนั้น เบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติสอบถามอาการของผู้ป่วยโดยเฉพาะโรคประจำตัว ยาที่รับประทาน เพื่อหาสาเหตุของการเกิดอาการนกเขาไม่ขัน นอกจากนี้แพทย์อาจตรวจเลือดในรายที่สงสัยว่าอาการนกเขาไม่ขันเกิดจากโรคอื่น ๆ
การรักษานกเขาไม่ขัน
ปัจจุบันการรักษาอาการนกเขาไม่ขันนั้นมีหลายวิธีมากขึ้น ทั้งนี้วิธีการรักษานกเขาไม่ขันขึ้นอยู่กับสาเหตุ โดยทั่วไปอาการนกเขาไม่ขันมีวิธีการรักษา เช่น
การรักษาอาการทางกาย
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เลิกสูบบุหรี่ ออกกำลังกาย
- รักษาด้วยยา เพื่อขยายหลอดเลือดบริเวณอวัยวะเพศชาย
- การใช้กระบอกสูญญากาศเพื่อช่วยเรื่องการแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย
- การใช้ฮอร์โมนเพศชายเสริม ในกรณีที่เกิดกจากภาวะฮอร์โมนเพศชายต่ำ มักพบในเพศชายอายุมาก
- การผ่าตัดเพื่อใส่แกนอวัยวะเพศเทียม ในกรณีนี้ที่มีอาการรุนแรง
การรักษาอาการทางด้านจิตใจ
- การให้คำปรึกษา (Counseling)
- การทำจิตบำบัด (Psychotherapy)
- การทำครอบครัวบำบัด (Family Therapy)
- การฝึกปฏิบัติ Sensate Focus Exercise กับคู่รักหรือคู่นอน
วิธีการป้องกันนกเขาไม่ขัน
นกเขาไม่ขันสามารถป้องกันได้ เพียงดูแลร่างกายดังนี้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ควบคุมไม่ให้น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์
- หลีกเลี่ยงการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่
- ดูแลสุขภาพจิตใจของตนเอง
- มีวิธีการจัดการความเครียด ความกังวลที่เหมาะสม
- ไม่ควรซื้อยาหรือวิตามินไม่ได้มาตรฐานที่อ้างว่าช่วยในการเพิ่มสมรรถภาพทางเพศมาทานเอง
- หากพบไม่แน่ใจอาการควรรีบปรึกษาแพทย์
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ นกเขาไม่ขัน
1. นกเขาไม่ขัน อันตรายไหม?
อาการนกเขาไม่ขันไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงที่จะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต แต่อาจเป็นอาการแสดงของโรคทางสุขภาพร่างกายบางอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด โดยเฉพาะกับบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพด้านนี้อยู่แต่เดิม
ในอีกทางหนึ่ง อาการนกเขาไม่ขันกลับส่งผลทางด้านจิตใจในเพศชายอย่างยิ่ง สิ่งที่อาจพบได้จากอาการนกเขาไม่ขัน เช่น เกิดความไม่มั่นใจเรื่องความสัมพันธ์บนเตียง ทำให้เกิดความอับอาย ความเครียด วิตกกังวล และทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ตามมาได้
2. คนอายุน้อยสามารถเกิดอาการนกเขาไม่ขันได้หรือไม่?
อาการนกเขาไม่ขันนั้นหลายคนอาจจะคิดว่าเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับผู้ชายที่มีอายุแล้วเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วอาการนกเขาไม่ขันสามารถเกิดขึ้นกับคนอายุต่ำกว่า 40 ปีได้เช่นกัน ซึ่งสาเหตุนกเขาไม่ขันในคนอายุน้อยนั้นมักเกิดจากปัญหาด้านจิตใจและความสัมพันธ์ เช่น ความเครียดจากการเรียนและการทำงาน มีปัญหาความสัมพันธ์ หรือมีภาวะความกังวลจากประสบการณ์ทางเพศในอดีตที่มีเพศสัมพันธ์ไม่ดี แล้วทำให้เกิดความกังวลตามมาได้
3. นกเขาไม่ขัน กินอะไรดี?
งานวิจัยทางการแพทย์แผนปัจจุบันไม่ได้มีคำแนะนำให้ทานอาหารประเภทใดโดยเฉพาะเพื่อรักษานกเขาไม่ขัน แต่แนะนำให้รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ทานอาหารครบ 5 หมู่ ทั้ง 3 มื้อ หลีกเลี่ยงของหวาน ของทอด เพื่อลดไขมันและน้ำตาลและลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือด และโรคเบาหวาน นอกจากนี้แนะนำให้ลดการสูบบุหรี่และออกกำลังกายสม่ำเสมอ
สรุป นกเขาไม่ขัน อาจกระทบความสัมพันธ์ รีบปรึกษาแพทย์
นกเขาไม่ขันอาจเป็นอาการแสดงของโรคเบาหวานและโรคหลอดเลือด และยังสร้างความไม่มั่นใจ ส่งผลกับจิตใจ และอาจทำให้เกิดปัญหาด้านความสัมพันธ์ได้ ปรึกษาหมอออนไลน์ หรือเลือกปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน พร้อมสินค้าถึงมือ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พญ.ขวัญชนก หอมแสงประดิษฐ
แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว
เชี่ยวชาญสุขภาพเพศและความสัมพันธ์
Erectile dysfunction – Symptoms and causes – Mayo Clinic. (2022, March 29). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/erectile-dysfunction/symptoms-causes/syc-20355776
Erectile dysfunction (ED): Symptoms, Diagnosis & treatment – Urology Care Foundation. (n.d.). https://www.urologyhealth.org/urology-a-z/e/erectile-dysfunction-(ed)
Erectile dysfunction. (n.d.). Johns Hopkins Medicine. https://www.hopkinsmedicine.org/health/conditions-and-diseases/erectile-dysfunction