รวมเรื่องตรวจสุขภาพผู้หญิง ควรตรวจอะไรบ้าง เมื่อไหร่ควรตรวจ และตรวจที่ไหนดี ?
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaways
- การตรวจสุขภาพผู้หญิงมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยป้องกัน คัดกรอง และทำให้ตรวจพบปัญหาสุขภาพตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
- การตรวจสุขภาพผู้หญิงสามารถเลือกโปรแกรมตรวจตามความกังวลหรือตามช่วงอายุ
- เลือกซื้อแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงราคาสบายกระเป๋าจากโรงพยาบาลในเครือ BDMS ได้ที่ health-plaza.com
ทำไมการตรวจสุขภาพผู้หญิงจึงสำคัญ?
การตรวจสุขภาพประจําปีนั้นสำคัญสำหรับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเพศหญิงซึ่งมีโรคที่ต้องเฝ้าระวังมากกว่าเพศชาย การตรวจสุขภาพผู้หญิงมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยป้องกัน คัดกรอง และทำให้ตรวจพบปัญหาสุขภาพตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถรักษาและจัดการกับโรคต่าง ๆ ได้ทันเวลา เพิ่มโอกาสในการรักษา
โรคที่พบบ่อยในผู้หญิงมีอะไรบ้าง?
ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อโรคบางชนิดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากปัจจัยทางชีวภาพ ฮอร์โมน และพฤติกรรมการใช้ชีวิต โรคอันตรายที่พบบ่อยในผู้หญิง เช่น
- มะเร็งเต้านม
- มะเร็งปากมดลูก
- โรคหัวใจและหลอดเลือด
- โรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะกลุ่มวัยทอง
- โรคเบาหวาน
- กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ (PCOS) ปวดท้องประจำเดือน
- โรคไทรอยด์
- โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
โปรแกรมตรวจสุขภาพที่ผู้หญิงควรตรวจมีอะไรบ้าง?
โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิงพื้นฐาน
- ตรวจร่ายกายโดยแพทย์
- วัดความดันโลหิต ชีพจร ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง (Vital signs)
- Chest X-ray (ตรวจเอกซเรย์ปอด)
- CBC (ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด)
- Cholesterol (ไขมันโคเลสเตอรอล)
- Triglyceride (ไขมันไตรกรีเซอไรด์)
- TSH (การทำงานของต่อมไทรอยด์)
- Creatinine (การทำงานของไต)
- SGPT (ALT) (ระดับเอนไซม์ตับ)
- SGOT (AST) (ระดับเอนไซม์ตับ)
- Glucose (ระดับน้ำตาลในเลือด)
- Urine Examination (การตรวจปัสสาวะ)
- VA (ตรวจสายตาเบื้องต้น)
โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิงอายุ 30-39 ปี
- Physical Examination ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- Vital signs วัดความดันโลหิต ชีพจร ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
- Chest X-ray เอกซเรย์ปอด
- Electrocardiography (EKG) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- Ultrasound Lower Abdomen ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง
- PV & PAP Test (Thin Prep) ตรวจมะเร็งปากมดลูกและตรวจภายในสตรี
- Physical Examination by OB – GYN พบแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช
- Urine Examination (UA) ตรวจปัสสาวะ
- Complete Blood Count (CBC) ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
- Fasting Blood Sugar (FBS) ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
- HbA1c ตรวจติดตามควบคุมเบาหวาน
- Creatinine ตรวจการทำงานของไต
- BUN ตรวจการทำงานของไต
- SGOT ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ
- SGPT ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ
- Alk Phosphatase ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ
- Total Cholesterol ตรวจปริมาณไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล)
- Triglyceride ตรวจปริมาณไขมันในเลือด (ไตรกลีเซอไรด์)
- HDL-Cholesterol ตรวจปริมาณไขมันในเลือด (ไขมันดีในเลือด)
- LDL-Cholesterol ตรวจปริมาณไขมันในเลือด (ไขมันไม่ดีในเลือด)
- Uric acid ตรวจระดับกรดยูริค
โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิง 40-49 ปี
- Complete Blood Count – CBC (14 Biomarkers) ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (14 รายการ)
- Fasting Blood Sugar ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
- Glycated Hb (HbA1c) ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด
Lipid set ( Chol , Tri , HDL , LDL ) ชุดรายการตรวจระดับไขมัน - Cholesterol คลอเรสเตอรอล
- Triglyceride ไตรกลีเซอร์ไรด์
- HDL ไขมันดีในเลือด
- LDL ไขมันไม่ดีในเลือด
Liver Function Tests ชุดรายการตรวจการทำงานของตับ - AST (SGOT) เอนไซม์ตับ AST
- ALT (SGPT) เอนไซม์ตับ ALT
- Total Protein ตรวจการทำงานของตับและความผิดปกติของโปรตีน
- Albumin ตรวจการทำงานของตับและภาวะขาดสารอาหาร
- Bilirubin (Total, Direct) ตรวจการทำงานของตับ ความผิดปกติของสารเหลืองและความผิดปกติของการขับน้ำดี
Kidney function tests ชุดรายการตรวจการทำงานของไต - Blood Urea Nitrogen (BUN) ตรวจระดับยูเรียไนโตรเจน
- Creatinine Plus eGFR ตรวจระดับครีอะตินีน ความเสี่ยงโรคไต
- Uric Acid in Blood ตรวจระดับกรดยูริก ความเสี่ยงโรคเกาต์
- Urine Exam ตรวจปัสสาวะ
- Urine Hybribio, 21 HPV GenoArray) ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยตรวจหาเชื้อเอชพีวีจากปัสสาวะ
Tumor markers ชุดตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง - Ovarian cancer screening- CA 125 สารบ่งชี้มะเร็งรังไข่
- Breast Cancer Screening – CA 15-3 สารบ่งชี้มะเร็งเต้านม
- GI cancer screening- CEA สารบ่งชี้มะเร็งลำไส้
Thyroid Function test ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ - Thyroid Stimulating Hormone(TSH) ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
- Triiodothyronine Free (Free T3) ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
- Thyroxine Free (Free T4) ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
- Estradiol (E2) ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
- Progesterone ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
- Calcium ตรวจระดับแคลเซียม
- Inorganic phosphate ตรวจระดับฟอสฟอรัส
- Vitamin D2/D3 (25-OH Vit D2/D3) ตรวจปริมาณวิตามินดี
- Cortisol ฮอร์โมนความเครียด
- C-Reactive Protein(CRP) High Sens. ตรวจหาระดับโปรตีนที่ร่างกายตอบสนองต่อการอักเสบ
ตรวจสุขภาพผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป
- ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ Physical Examination
- ตรวจความดันโลหิต ชีพจร ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง Vital Signs
- เอกซเรย์ปอด Chest X-ray
- ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiography (EKG)
- ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องทั้งหมด Ultrasound Whole Abdomen
- *ตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน หรือ Exercise stress test (EST) or CT
*ตรวจดูแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่อง CT 256 slide หรือ Coronary Artery Calcification or
*ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Echocardiography
- ตรวจภาวะกระดูกพรุน 2 ส่วนกระดูกสันหลังและสะโพก Bone Densitometry
- ตรวจภาวะตับแข็ง ไขมันเกาะตับ ด้วยเครื่อง Fibroscan
- ตรวจเอกซเรย์ และอัลตร้าซาวด์เต้านมด้วยเครื่องดิจิตอล Digital Mammography
- พบแพทย์เฉพาะทางรักษ์เต้านม Breast Physician Examination
- ตรวจมะเร็งปากมดลูกและตรวจภายในสตรี PV & PAP Test (Thin Prep)
- พบแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช Gynaecologist Physician Examination
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด Fasting Blood Sugar (FBS)
- ตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด HbA1C
- ตรวจการทำงานของไต Bun
- ตรวจการทำงานของไต Creatinine
- ตรวจระดับกรดยูริกในเลือด Uric Acid
- ตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด Cholesterol
- ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด Triglyceride
- ตรวจระดับไขมันในเลือด (ชนิดดี) HDL-Cholesterol
- ตรวจระดับไขมันในเลือด (ชนิดไม่ดี) LDL-Cholesterol
- ตรวจการทำงานของตับ SGOT
- ตรวจการทำงานของตับ SGPT
- ตรวจการทำงานของตับ Alk Phosphatase
- ตรวจการทำงานของตับ Total Protein
- ตรวจการทำงานของตับ Albumin
- ตรวจการทำงานของตับ Total Bilirubin
- ตรวจการทำงานของตับ Globulin
- ตรวจการทำงานของตับ GGT (Gamma GT)
- ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด CBC
- ตรวจปัสสาวะ Urine Examination (UA)
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ FT4 (Free T4)
- ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ TSH (Thyroid Stimulating Hormone)
- ตรวจหาสารมะเร็งบ่งชี้ตับ AFP (Alpha Fetoprotein)
- ตรวจหาสารมะเร็งบ่งชี้ลำไส้ CEA
- ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ CA125
- ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน CA19-9
- ตรวจระดับวิตามินบี 12 Vitamin B 12
- ตรวจระดับวิตามินดี Vitamin D
- วัคซีนไข้หวัดใหญ่ Influenza Vaccine
อายุเท่าไหร่ถึงควรเริ่มตรวจสุขภาพผู้หญิง?
โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 – 20 ปีขึ้นไปสามารถตรวจสุขภาพผู้หญิงได้เลย หรือาจตรวจในช่วงที่อายุน้อยกว่านั้นหากมีความเสี่ยงหรือปัญหาสุขภาพที่ต้องระวังเป็นพิเศษ โดย Package ตรวจสุขภาพผู้หญิงที่สามารถใช้ตรวจได้คือโปรแกรมตรวจสุขภาพประจําปีผู้หญิงพื้นฐาน และสามารถปรับเปลี่ยนแพ็กเกจ เพิ่มรายการตรวจต่าง ๆ ให้ละเอียดมากขึ้นเมื่อมีอายุหรือมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
วิธีเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพผู้หญิง
การตรวจสุขภาพนั้นจำเป็นต้องงดอาหาร งดเครื่องดื่มทุกชนิดยกเว้นน้ำเปล่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของการตรวจด้วย โดยทั่วไปแล้ววิธีการเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพผู้หญิงมีดังนี้
- การตรวจเลือด (ตรวจเบาหวาน ไขมันในเลือด ตับ ไต ฯลฯ)
- งดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง ก่อนตรวจ หากต้องตรวจน้ำตาลและไขมันในเลือด
- หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงและแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจ
- ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ เพื่อให้เส้นเลือดขยายตัวง่ายขึ้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
- การตรวจภายในและมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear, HPV Test)
- ควรตรวจหลังหมดประจำเดือน 7-14 วัน เพื่อให้ผลตรวจชัดเจน
- งดการมีเพศสัมพันธ์ 24-48 ชั่วโมงก่อนตรวจ
- ไม่สวนล้างช่องคลอดหรือใช้ยาเหน็บช่องคลอด 2-3 วันก่อนตรวจ
- ใส่เสื้อผ้าที่ถอดง่าย เพื่อความสะดวก
- การตรวจเต้านม (แมมโมแกรม, อัลตราซาวด์เต้านม)
- ควรตรวจช่วงที่เต้านมไม่คัดตึง (1 สัปดาห์หลังหมดประจำเดือน)
- งดการใช้โรลออน แป้ง หรือครีมบริเวณรักแร้และเต้านม เพราะอาจรบกวนผลตรวจ
- สวมเสื้อที่มีกระดุมด้านหน้า เพื่อให้ถอดสะดวก
- การตรวจมวลกระดูก (Bone Density Test)
- งดแคลเซียมเสริมก่อนตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
- ใส่เสื้อผ้าที่ไม่มีโลหะ เช่น กระดุมหรือซิปโลหะ
ซื้อแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงที่ไหนดี?
คุณสามารถเลือกซื้อแพ็กเกจสุขภาพจากโรงพยาบาลในเครือ BDMS เครือข่ายโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยได้แบบสะดวกสบายผ่าน health-plaza.com ได้เลยวันนี้ รวมหลากหลายแพ็กเกจ เช่น แพ็กเกจตรวจสุขภาพตามช่วงอายุ แพ็กเกจฉีดวัคซีน แพ็กเกจความงาม แพ็กเกจเลสิก แพ็กเกจสุขภาพช่องปาก และอื่น ๆ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพผู้หญิง
1. ตรวจสุขภาพผู้หญิงมีราคาเริ่มต้นเท่าไหร่?
โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิงที่ Health Plaza ราคาเริ่มต้นที่ 999.- สำหรับแพ็กตรวจสุขภาพพื้นฐาน นอกจากนี้ยังมีแพ็กเกจสุขภาพอื่น ๆ จากโรงพยาบาลในเครือ BDMS ให้ช้อปพร้อมโค้ดส่วนลดพิเศษ
2. ตรวจสุขภาพผู้หญิงที่ไหนดี?
การตรวจสุขภาพผู้หญิงหรือการตรวจสุขภาพประจำปีนั้นควรเลือกตรวจกับโรงพยาบาลที่มีมาตรฐาน มีบริการครบครัน แจ้งผลตรวจได้แม่นยำและรวดเร็ว การเลือกซื้อแพ็กเกจตรวจสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยให้ประหยัดและคุ้มค่ามากขึ้น เนื่องจากมีโปรโมชันและโค้ดส่วนลดมากมาย อีกทั้งยังสามารถเลือกชำระได้หลากหลายช่องทาง เช่น QR PromptPay หรือบัตรเครดิต
ตรวจสุขภาพผู้หญิงสำคัญสำหรับทุกวัย รีบตรวจเลย!
การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญเพราะช่วยให้เรารู้สภาพร่างกายของตัวเอง ป้องกันการเกิดโรค และช่วยให้พบโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้สามารถรักษาได้ก่อนจะลุกลาม ซึ่งหากตรวจพบโรคในระยะแรก ค่าใช้จ่ายในการรักษามักต่ำกว่าการรักษาโรคในระยะลุกลาม
ช้อปแพ็กเกจสุขภาพได้เลยที่ Health Plaza รวมแพ็กเกจตรวจสุขภาพมาตรฐาน BDMS สะดวก ใช้งานง่าย พร้อมส่วนลด On Top
สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @healthplaza
Content powered by BeDee Expert
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
11 Health Screening Tests Every Woman Should Have. (2022, November 16). University Hospitals. https://www.uhhospitals.org/blog/articles/2018/08/11-health-screening-tests-every-woman-should-have
WebMD Editorial Contributors. (2023, August 27). Health Checklist for Women Over 40. WebMD. https://www.webmd.com/women/health-checklist-for-women-over-40
Women Health Check-Ups: Importance and List of Checks. (2023, August 11). Nanavati Max Super Speciality Hospital. https://www.nanavatimaxhospital.org/blogs/women-health-check-ups