ปวดท้องประจำเดือน

เมื่อพูดถึงอาการ ปวดท้องเมนส์ หรือ ปวดท้องประจำเดือนแล้ว เรียกได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ของผู้หญิงจำนวนมากที่ต้องเผชิญทุกเดือนเลยทีเดียว บางรายอาจจะมีอาการปวดเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย บางคนปวดรุนแรงจนถึงขั้นเป็นลม ต้องเข้าโรงพยาบาล ซึ่งอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติ ของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ ได้ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกมดลูก เป็นต้น หรือหลายคนอาจจะกังวลว่าตัวเองอาจจะเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ พูดได้เลยว่าอาการปวดท้องประจำเดือนนั้นสร้างความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวันของสาว ๆ ที่ต้องระวัง ไม่ควรมองข้าม

สารบัญบทความ

อาการปวดท้องประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือน (Menstrual Cramps หรือ Dysmenorrhea) และอาการร่วมอื่น ๆ ที่พบบ่อยในช่วงมีประจำเดือน มีดังนี้

  1. ปวดบิด ปวดเกร็งเป็นพัก ๆ บริเวณท้องน้อย
  2. ปวดท้องร้าวไปถึงหลัง 
  3. ปวดหัว เวียนหัว
  4. ปวดหลัง
  5. คลื่นไส้ อาเจียน
  6. ท้องเสีย ถ่ายเหลว

ปวดท้องประจำเดือนแบบไหนที่ควรพบแพทย์

ปวดท้องประจำเดือนที่ควรพบแพทย์

อาการปวดท้องประจำเดือนอาจไม่ใช่อาการปวดที่ปกติเสมอไป ดังนั้นเราต้องสังเกตสัญญาณเตือนอาการปวดท้องประจำเดือนที่ผิดปกติควรพบแพทย์ด่วน ได้แก่ 

  1. ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้นทุกเดือน
  2. รับประทานยาแก้ปวดแล้วไม่ดีขึ้น
  3. ปวดประจำเดือนและมีไข้ร่วมด้วย
  4. ปวดประจำเดือนรุนแรงเป็นครั้งแรกเมื่อเข้าสู่ช่วงอายุ 25 ปีขึ้นไป 
  5. ประจำเดือนมามากจนต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง
  6. ปวดท้องน้อยแต่ไม่มีประจำเดือน
  7. ประจำเดือนเป็นสีคล้ำ ผิดปกติ
  8. ตกขาวมีกลิ่น 
  9. คันช่องคลอด
 
ปรึกษาอาการปวดท้องประจำเดือนกับคุณหมอเฉพาะทางที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่มีค่าจัดส่งยา

สาเหตุของการปวดท้องประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือนเกิดจากอะไร

อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากสาเหตุหลักดังนี้ 

  1. การปวดท้องประจำเดือนที่เกิดจากสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ที่ร่างกายจะหลั่งออกมาในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวมากขึ้น 

  2. การปวดท้องประจำเดือนที่มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของมดลูกหรืออวัยวะสืบพันธุ์อื่น ๆ เช่น 
  • เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis หรือ Chocolate Cyst)
  • ถุงน้ำในรังไข่ (Polycystic Ovary Syndrome) เนื่องจากระดับฮอร์โมนที่ผิปกติทำให้เกิดถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ อาการที่สังเกตได้คือ ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ประจำเดือนมานานกว่าปกติ เป็นต้น
  • เนื้องอกในมดลูก
  • อุ้งเชิงกรานอักเสบ

ประเภทของการปวดท้องประจำเดือน

ปวดประจำเดือนประเภทปฐมภูมิ (Primary Dysmenorrhea)

การปวดท้องประจำเดือนแบบปฐมภูมิคืออาการปวดท้องประจำเดือนที่ไม่มีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย อาการปวดท้องประจำเดือนประเภทนี้เกิดจากสารโพรสตาแกลนดิน (Prostaglandin) ที่ร่างกายจะหลั่งออกมาในช่วงมีประจำเดือน ซึ่งกระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูกบีบตัวมากขึ้น อาการปวดท้องประจำเดือนปฐมภูมิที่สังเกตได้ เช่น

  • ปวดบริเวณท้องน้อยในช่วงในช่วง 48 ชั่วโมง ก่อนมีประจำเดือน และคงอยู่ประมาณ 2 วันของการมีประจำเดือน
  • ปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน และอาจร้าวไปถึงหลัง หรือต้นขาได้
  • ท้องเสีย ถ่ายเหลว 
  • คลื่นไส้ 
  • อ่อนเพลีย เหนื่อย
  • ตรวจภายในแล้วไม่พบความผิดหรือโรคอื่น ๆ
อาการปวดท้องประจำเดือน

ปวดประจำเดือนประเภททุติยภูมิ (Secondary Dysmenorrhea)

อาการปวดท้องประจำเดือนทุติยภูมิคืออาการปวดท้องประจำเดือนที่มีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เนื้องอกมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ การใส่ห่วงอนามัย และอื่น ๆ โดยมักมีอาการที่สังเกตได้ดังนี้

  • ปวดท้องประจำเดือนรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน
  • ปวดท้องเมนส์จนนอนไม่ได้
  • รับประทานยาแก้ปวดกลุ่ม NSAIDs หรือยาคุมกำเนิดแล้วอาการไม่ดีขึ้น ไม่ตอบสนองกับยา
  • อาการปวดประจำเดือนรุนแรงมากกว่าในอดีต หรือในอดีตไม่เคยปวดท้องประจำเดือนมาก่อน
  • ประจำเดือนมามาก หรือมาผิดปกติ
  • รู้สึกเจ็บ ปวด ขณะมีเพศสัมพันธ์
  • มีตกขาวที่มีสีหรือกลิ่นผิดปกติ
  • ภาวะมีบุตรยาก

การบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือน


โดยทั่วไปแล้วกลุ่มยาแก้ปวดประจำเดือนคือยากลุ่ม Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drugs หรือ NSAIDs กลุ่มยา NSAIDs คือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างสารโพรสตาแกลนดิน หรือสารที่กระตุ้นให้มดลูกเกิดการบีบตัวซึ่งทำให้เกิดอาการปวดท้อง ทั้งนี้การรับประทานยา กลุ่ม NSAIDs ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทาน เพื่อเลือกยาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เนื่องจากยากลุ่มนี้อาจส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคกระเพาะอาหารและทางเดินอาหาร โรคตับ โรคไตเรื้อรัง รวมถึงผู้ที่มีประวัติแพ้ยา

ยาแก้ปวดท้องประจำเดือน

นอกเหนือจากการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดประจำเดือนแล้ว ยังสามารถใช้การประคบอุ่นบริเวณท้องน้อยได้ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น โยคะ พิลาทิส หรือการทำสมาธิก็เป็นอีกทางที่ช่วยป้องกันและเป็นวิธีแก้ปวดท้องเมนส์ได้

 

ปรึกษาการทานยาแก้ปวดท้องประจำเดือนกับเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษา!

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับปวดท้องประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน กินยาพาราได้ไหม? 

หากมีอาการปวดท้องประจำเดือนในระดับต่ำ สามารถกินยาพาราเซตตามอลได้ แต่หากพิจารณาในแง่กลไกการออกฤทธิ์ของยาพาราเซตตามอลแล้วตัวยาอาจจะช่วยบรรเทาอาการปวดท้องประจำเดือนได้น้อยเนื่องจากยาพาราเซตามอลไม่สามารถยับยั้งสารพอสตราแกลนดินได้ ดังนั้นอาการปวดจะไม่ได้ดีขึ้นมากนัก จึงไม่เหมาะกับผู้ที่มีอาการปวดท้องประจำเดือนระดับปานกลางหรือรุนแรง 

ปวดท้องประจำเดือนกินยาอะไร

ปวดท้องประจําเดือน กินอะไรดี?

เมื่อมีอาการปวดท้องประจำเดือนควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเพราะอาจกระตุ้นให้เกิดการปวดท้องมากขึ้น ควรดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ เช่น น้ำอุ่น น้ำขิงอุ่น น้ำผึ้งผสมมะนาวอุ่น จะช่วยให้รู้สึกสบายมากขึ้น นอกจากนี้ควรรับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียม เช่น กล้วย ผักโขม ปวยเล้ง หรือตำลึงจะช่วยลดอาการปวดเกร็งได้

สรุปปวดท้องประจำเดือน

อาการปวดท้องเมนส์เป็นปัญหาสุขภาพที่กวนใจและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงหลายคน ไม่ใช่แค่อาการปวดท้องประจำเดือน แต่ยังมีอาการอื่น ๆ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อย หงุดหงิด คัดเต้านม และอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย ดังนั้นผู้ที่มีอาการปวดประจำเดือนรุนแรง ปวดท้องบ่อย ๆ หรือหญิงวัยเจริญพันธุ์ควรพบแพทย์เพื่อตรวจเช็กร่างกายและตรวจภายในเป็นประจำ 

ปรึกษาหมอออนไลน์หรือปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีแพทย์และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS


Content powered by BeDee Expert

ภญ.วุฒิรัต ธรรมวุฒิ 

เภสัชกร


เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Menstrual cramps – Symptoms & causes – Mayo Clinic. (2022, April 30). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/menstrual-cramps/symptoms-causes/syc-20374938

 

NHS inform. (2023a, February 23). Period pain (dysmenorrhoea). NHS Inform. https://www.nhsinform.scot/healthy-living/womens-health/girls-and-young-women-puberty-to-around-25/periods-and-menstrual-health/period-pain-dysmenorrhoea/

บทความที่เกี่ยวข้อง

Key Highlight    การกินยาคุมฉุกเฉินบ่อยอาจเสี่ยงภาวะตั้งครรภ์นอกมดลูก ยาคุมฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด ควรกินหลังจากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกันให้เร็วที่สุดภายในเวลา 72 ชั่วโมง หากกินยาคุมฉุกเฉินบ่อยแล้วมีเลือดออกผิดปกติเกินกว่า 7 วัน หรือมีอาการผิดปกติอื่น

อาการตกขาวเป็นอาการหนึ่งที่ผู้หญิงหลายคนคุ้นเคยเป็นอย่างดี บางคนอาจจะมีตกขาวไม่มาก ไม่ได้รู้สึกรบกวนชีวิตประจำวันหรือทำให้รู้สึกผิดปกติ แต่ในบางรายอาจพบว่ามีตกขาวเยอะ มีตกขาวทุกวัน บางรายอาจมีตกขาวสีขาวขุ่น หรือมีตกขาวสีเหลือง หรือแม้แต่ตกขาวสีดำ อาก