ลมพิษ

ผื่นลมพิษ หนึ่งในอาการที่หลายคนเคยเป็น แม้ลมพิษจะดูไม่อันตรายอะไรแต่ก็สร้างความรำคาญด้วยอาการผื่นแดงคัน ผื่นขึ้นตามตัว และอาการเห่อแดงของผื่นจนทำให้ไม่กล้าพบเจอใคร และในบางรายอาจมีอาการรุนแรงจนถึงขั้นหอบ หายใจไม่ทัน หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกัน มารู้จักโรคลมพิษเพื่อป้องกันและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องกันเลย

สารบัญบทความ

ลมพิษ คืออะไร?

โรคลมพิษ (Urticaria) คือ อาการผื่นคันที่เกิดขึ้นตามผิวหนัง มีผื่นแดงขึ้นตามตัว มีตุ่มนูนแดง คัน ไม่มีขุย ซึ่งผื่นลมพิษเหล่านี้สามารถเกิดขึ้นกระจายทั่วทั้งลำตัว แขน ขา หรือใบหน้า ลมพิษสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย แต่มักพบในช่วงวัยตั้งแต่ 20 – 40 ปี โดยปกติผื่นลมพิษจะเกิดขึ้นไม่เกิน 24 ชั่วโมงและจะค่อย ๆ หายไป แต่ในกรณีที่มีอาการลมพิษรุนแรงผู้ป่วยอาจมีอาการหอบ หายใจลำบาก หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

รู้จักกับ ผื่นคันประเภทต่าง ๆ และวิธีการรักษาผื่นคันอย่างถูกวิธี

 

ปรึกษาเรื่องลมพิษกับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่มีค่าจัดส่งยา

ลักษณะอาการของโรคลมพิษ

โรคลมพิษ อาการทั่วไปที่สังเกตได้ง่ายมีดังนี้

  1. ผื่นลมพิษ จะมีลักษณะเป็นผื่นแดงคัน มีผื่นแดงขึ้นตามตัว มีตุ่มนูนแดง คัน ไม่มีขุย 
  2. ลมพิษสามารถกระจายขึ้นได้ทั่วร่างกายตั้งแต่ลำตัว แขน ขา ใบหน้า ริมฝีปาก โดยจะมีอาการประมาณ 24 ชั่วโมงและจะค่อย ๆ หายไป
  3. ในบางรายที่มีอาการลมพิษรุนแรงอาจมีอาการ หอบ หืด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน ความดันโลหิตต่ำ หรือาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

ผื่นลมพิษ มีกี่ประเภท?

ผื่นลมพิษสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่

1. ลมพิษเฉียบพลัน 

ลมพิษเฉียบพลัน (Acute Urticaria) คือผื่นลมพิษที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องแต่ไม่เกิน 6 สัปดาห์ แล้วจึงค่อย ๆ หายไป

2. ลมพิษเรื้อรัง

ลมพิษเรื้อรัง (Chronic Urticaria) คืออาการผื่นลมพิษ เรื้อรัง ที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลาต่อเนื่องตั้งแต่ 6 สัปดาห์ขึ้นไป โดยใน 1 สัปดาห์จะต้องมีผื่นลมพิษเกิดขึ้นอย่างน้อย 2 ครั้ง

สาเหตุของโรคลมพิษ เกิดจากอะไร?

ลมพิษ เกิดจากอะไร

แล้วลมพิษเกิดจากอะไร? จริง ๆ แล้วลมพิษเกิดจากสาเหตุหลัก ๆ ดังต่อไปนี้

  1. อาหาร ผู้ป่วยที่มีผื่นลมพิษบางรายอาจเกิดจากแพ้อาหารที่รับประทานเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เช่น อาหารทะเล ของหมักดอง สารกันบูด สีผสมอาหาร
  2. ยา
  3. แพ้สารที่สัมผัส เช่น การแพ้ยางพารา ขนสัตว์ เครื่องสำอาง สารเคมี ผงซักฟอก สบู่ ไรฝุ่น และอื่น ๆ เป็นต้น
  4. แพ้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
  5. การติดเชื้อ เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือการมีพยาธิในร่างกาย
  6. ความเครียด วิตกกังวล
  7. พักผ่อนไม่เพียงพอ
  8. อากาศร้อนจัดหรือเย็นจัด เกิดจากการตอบสนองของผิวหนังต่ออากาศ 
  9. โรคเกี่ยวกับระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมน เช่น โรคต่อมไทรอยด์
  10. โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง “ภูมิเพี้ยน” หรือ “Autoimmune Disease”
  11. โรคมะเร็ง
  12. ไม่ทราบสาเหตุ

การรักษาโรคลมพิษ

โดยปกติแล้วแพทย์จะมีแนวทางการรักษาผื่นลมพิษตามแนวทางดังต่อไปนี้

  1. หาสาเหตุหรือตัวกระตุ้นที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการลมพิษ เช่น การส่งตรวจเลือดเพื่อหาสารกระตุ้นอาการภูมิแพ้ (specific IgE)
  2. จ่ายยาแก้แพ้ แก้คัน (Antihistamine) หรือรับประทานยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid) ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ

จ่ายยาบรรเทาอาการคัน เช่น ยาทาแก้ผื่นคัน ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาทากลุ่มที่มีเมนทอล (Menthol) เป็นส่วนผสมเพื่อลดอาการคัน ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามาใช้หรือรับประทานเองโดย

 

เมื่อมีอาการลมพิษ ดูแลตนเอง และรับมืออย่างไร?

วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็นลมพิษ

วิธีแก้ลมพิษหรือดูแลตัวเองเมื่อเกิดอาการลมพิษนั้น โดยทั่วไปสามารถปฏิบัติตามแนวทางเบื้องต้นดังนี้

  • รับประทานยาแก้แพ้ตามที่แพทย์สั่ง
  • ทายาบรรเทาอาการคัน เช่น ยาทาผื่นคัน ยาทากลุ่มที่มีเมนทอล (Menthol) เป็นส่วนผสมเพื่อลดอาการคัน ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เนื่องจากการเลือกใช้ยาอาจแตกต่างกันตามลักษณะอาการหรือตามบริเวณที่เป็น รวมถึงชนิดผิวหนังที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล 
  • ในผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย หรือหากมีอาการผิวแห้งมากเกิดการระคายเคือง ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์บำรุงให้ความชุ่มชื้นผิว ปราศจากน้ำหอม สี และแอลกอฮอล์
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งเร้ากระตุ้นให้เกิดลมพิษ 
  • ไม่ควรสัมผัส แกะ เกา ผื่นลมพิษเพราะอาจทำให้ผื่นลุกลามมากยิ่งขึ้น
  • พยายามไม่เครียด ไม่วิตกกังวล 
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ควรเข้านอนไม่เกิน 22.00 น.
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ

อาการลมพิษแบบใดที่ควรไปพบแพทย์

ลมพิษ อันตรายไหม

อย่านิ่งนอนใจผื่นลมพิษ หากมีอาการดังนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

  • ผื่นลมพิษเกิดขึ้นนานกว่า 24 ชั่วโมง
  • มีผื่นลมพิษร่วมกับภาวะมีไข้ อ่อนเพลีย ปวดข้อ
  • อาการลมพิษรุนแรง มีอาการ หอบ หืด แน่นหน้าอก หายใจไม่ทัน ความดันโลหิตต่ำ ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับลมพิษ

1. ลมพิษอันตรายไหม?

โดยปกติแล้วลมพิษทั่วไปไม่ใช่อาการที่อันตราย โดยผื่นลมพิษจะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไปภายใน 24 ชั่วโมง แต่ในกรณีที่มีอาการลมพิษรุนแรงอาจมีอาการ หอบเหนื่อย แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หน้าบวม ตาบวม ปากบวม ความดันโลหิตต่ำ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

2. เป็นลมพิษห้ามกินอะไร?

โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคลมพิษสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่สิ่งที่ควรงดรับประทานคืออาหารที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้ผู้ป่วยเกิดผื่นลมพิษ ควรงดรับประทานในกรณีที่ทราบหรือสงสัยว่าอาหารหรือส่วนประกอบในอาหารหรือเครื่องดื่มเหล่านั้นทำให้เกิดอาการขึ้น ดังนั้นต้องหมั่นสังเกตหรือหาสาเหตุของการเกิดผื่น แล้วหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นนั้น

3. เป็นลมพิษควรใช้อะไรทาบรรเทาอาการ?

สำหรับยาแก้แพ้ ผื่นคัน ลมพิษ แพทย์อาจแนะนำยาทาบรรเทาอาการคัน เช่น ยารับประทานแก้แพ้กลุ่มยาต้านฮีสตามีน หรือยาแก้แพ้กลุ่มอื่น ๆ นอกจากยาแบบกินแล้ว ยังมียาทาแก้ผื่นคันด้วย ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามาใช้หรือรับประทานเอง เพื่อการเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และเกิดความปลอดภัยสูงสุด

สรุปลมพิษ อาจรุนแรงและอันตรายกว่าที่คิด

มีอาการลมพิษอย่านิ่งนอนใจ ปรึกษาหมอออนไลน์หรือปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีแพทย์และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษา เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

ภญ.วุฒิรัต ธรรมวุฒิ

เภสัชกร

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Hives (Urticaria) | Causes, symptoms & treatment. (2022, April 13). ACAAI Public Website. https://acaai.org/allergies/allergic-conditions/skin-allergy/hives/

 

Chronic hives – Symptoms and causes – Mayo Clinic. (2023, April 25). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/chronic-hives/symptoms-causes/syc-20352719

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปัญหาผิวเรื่องใหญ่ของหลายคนไม่ว่าจะเพศอะไรคงหนีไม่พ้นเรื่องของ “สิว” ปัญหาเรื้อรังที่จัดการได้ยาก ทำลายความมั่นใจ พอหายแล้วก็ยังทิ้งรอยสิวและหลุมสิวไว้อีกนาน หลายคนอยากมีผิวขาว ดูมีสุขภาพดี จึงหมั่นรับประทานวิตามินซี และวิตามินบำรุงผิวอื่น ๆ แต่ไม่ว่

เมื่อพูดถึง Active Ingredient หรือส่วนผสมออกฤทธิ์หลักในกลุ่มครีมบำรุงผิวแล้ว “AHA” น่าจะเป็นหนึ่งในส่วนผสมหลักที่อยู่ในสกินแคร์ ครีมบำรุงผิวที่มักจะได้ยินในช่วงนี้ บางคนอาจจะเข้าใจผิดคิดว่า AHA เป็นกรดที่ฟังดูแล้วน่าจะรุนแรง สารบัญบทความ AHA คืออะไร