ตรวจสุขภาพผู้หญิง

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

Key Takeaways

  • การตรวจสุขภาพผู้หญิงมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยป้องกัน คัดกรอง และทำให้ตรวจพบปัญหาสุขภาพตั้งแต่ระยะเริ่มต้น 
  • การตรวจสุขภาพผู้หญิงสามารถเลือกโปรแกรมตรวจตามความกังวลหรือตามช่วงอายุ
  • เลือกซื้อแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงราคาสบายกระเป๋าจากโรงพยาบาลในเครือ BDMS ได้ที่ health-plaza.com
สารบัญบทความ

ทำไมการตรวจสุขภาพผู้หญิงจึงสำคัญ?

การตรวจสุขภาพประจําปีนั้นสำคัญสำหรับทุกเพศ ทุกวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเพศหญิงซึ่งมีโรคที่ต้องเฝ้าระวังมากกว่าเพศชาย การตรวจสุขภาพผู้หญิงมีความสำคัญมาก เพราะจะช่วยป้องกัน คัดกรอง และทำให้ตรวจพบปัญหาสุขภาพตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งจะช่วยให้สามารถรักษาและจัดการกับโรคต่าง ๆ ได้ทันเวลา เพิ่มโอกาสในการรักษา

โรคที่พบบ่อยในผู้หญิงมีอะไรบ้าง?

โรคที่พบบ่อยในผู้หญิง

ผู้หญิงมีความเสี่ยงต่อโรคบางชนิดมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากปัจจัยทางชีวภาพ ฮอร์โมน และพฤติกรรมการใช้ชีวิต โรคอันตรายที่พบบ่อยในผู้หญิง เช่น 

  • มะเร็งเต้านม
  • มะเร็งปากมดลูก
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคกระดูกพรุน โดยเฉพาะกลุ่มวัยทอง
  • โรคเบาหวาน
  • กลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่ (PCOS) ปวดท้องประจำเดือน
  • โรคไทรอยด์
  • โรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ

โปรแกรมตรวจสุขภาพที่ผู้หญิงควรตรวจมีอะไรบ้าง? 

โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิงพื้นฐาน

  1. ตรวจร่ายกายโดยแพทย์
  2. วัดความดันโลหิต ชีพจร ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง (Vital signs)
  3. Chest X-ray (ตรวจเอกซเรย์ปอด)
  4. CBC (ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด)
  5. Cholesterol (ไขมันโคเลสเตอรอล)
  6. Triglyceride (ไขมันไตรกรีเซอไรด์)
  7. TSH (การทำงานของต่อมไทรอยด์)
  8. Creatinine (การทำงานของไต)
  9. SGPT (ALT) (ระดับเอนไซม์ตับ)
  10. SGOT (AST) (ระดับเอนไซม์ตับ)
  11. Glucose (ระดับน้ำตาลในเลือด)
  12. Urine Examination (การตรวจปัสสาวะ)
  13. VA (ตรวจสายตาเบื้องต้น)

โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิงอายุ 30-39 ปี

  1. Physical Examination ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  2. Vital signs วัดความดันโลหิต ชีพจร ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง
  3.  Chest X-ray เอกซเรย์ปอด
  4.  Electrocardiography (EKG) ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  5.  Ultrasound Lower Abdomen ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง
  6.  PV & PAP Test (Thin Prep) ตรวจมะเร็งปากมดลูกและตรวจภายในสตรี
  7.  Physical Examination by OB – GYN พบแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช
  8.  Urine Examination (UA) ตรวจปัสสาวะ
  9.  Complete Blood Count (CBC) ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด
  10.  Fasting Blood Sugar (FBS) ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
  11.  HbA1c ตรวจติดตามควบคุมเบาหวาน
  12.  Creatinine ตรวจการทำงานของไต
  13.  BUN ตรวจการทำงานของไต
  14.  SGOT ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ
  15.  SGPT ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ
  16.  Alk Phosphatase ตรวจเพื่อดูการทำงานของตับ
  17.  Total Cholesterol ตรวจปริมาณไขมันในเลือด (โคเลสเตอรอล)
  18.  Triglyceride ตรวจปริมาณไขมันในเลือด (ไตรกลีเซอไรด์)
  19.  HDL-Cholesterol ตรวจปริมาณไขมันในเลือด (ไขมันดีในเลือด)
  20.  LDL-Cholesterol ตรวจปริมาณไขมันในเลือด (ไขมันไม่ดีในเลือด)
  21.  Uric acid ตรวจระดับกรดยูริค

โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิง 40-49 ปี

  1. Complete Blood Count – CBC (14 Biomarkers) ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด (14 รายการ)
  2. Fasting Blood Sugar ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด
  3. Glycated Hb (HbA1c) ตรวจระดับน้ำตาลสะสมในเลือด
     
    Lipid set ( Chol , Tri , HDL , LDL ) ชุดรายการตรวจระดับไขมัน
  4. Cholesterol คลอเรสเตอรอล
  5. Triglyceride ไตรกลีเซอร์ไรด์
  6. HDL ไขมันดีในเลือด
  7. LDL ไขมันไม่ดีในเลือด

    Liver Function Tests ชุดรายการตรวจการทำงานของตับ
  8. AST (SGOT) เอนไซม์ตับ AST
  9. ALT (SGPT) เอนไซม์ตับ ALT
  10. Total Protein ตรวจการทำงานของตับและความผิดปกติของโปรตีน
  11. Albumin ตรวจการทำงานของตับและภาวะขาดสารอาหาร
  12. Bilirubin (Total, Direct) ตรวจการทำงานของตับ ความผิดปกติของสารเหลืองและความผิดปกติของการขับน้ำดี

     Kidney function tests ชุดรายการตรวจการทำงานของไต
  13. Blood Urea Nitrogen (BUN) ตรวจระดับยูเรียไนโตรเจน
  14. Creatinine Plus eGFR ตรวจระดับครีอะตินีน ความเสี่ยงโรคไต
  15. Uric Acid in Blood ตรวจระดับกรดยูริก ความเสี่ยงโรคเกาต์
  16. Urine Exam ตรวจปัสสาวะ
  17. Urine Hybribio, 21 HPV GenoArray) ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยตรวจหาเชื้อเอชพีวีจากปัสสาวะ

    Tumor markers ชุดตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็ง
  18. Ovarian cancer screening- CA 125 สารบ่งชี้มะเร็งรังไข่
  19. Breast Cancer Screening – CA 15-3 สารบ่งชี้มะเร็งเต้านม
  20. GI cancer screening- CEA สารบ่งชี้มะเร็งลำไส้

    Thyroid Function test ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
  21. Thyroid Stimulating Hormone(TSH) ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
  22. Triiodothyronine Free (Free T3) ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
  23. Thyroxine Free (Free T4) ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์
  24. Estradiol (E2) ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
  25. Progesterone ตรวจฮอร์โมนเพศหญิง
  26. Calcium ตรวจระดับแคลเซียม
  27. Inorganic phosphate ตรวจระดับฟอสฟอรัส
  28. Vitamin D2/D3 (25-OH Vit D2/D3) ตรวจปริมาณวิตามินดี
  29. Cortisol ฮอร์โมนความเครียด
  30. C-Reactive Protein(CRP) High Sens. ตรวจหาระดับโปรตีนที่ร่างกายตอบสนองต่อการอักเสบ

ตรวจสุขภาพผู้หญิงอายุ 50 ปีขึ้นไป

  1. ตรวจสุขภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ Physical Examination
  2. ตรวจความดันโลหิต ชีพจร ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง Vital Signs
  3. เอกซเรย์ปอด Chest X-ray
  4. ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ Electrocardiography (EKG)
  5. ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องทั้งหมด Ultrasound Whole Abdomen
  6. *ตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน หรือ Exercise stress test (EST) or CT

    *ตรวจดูแคลเซียมที่หลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่อง CT 256 slide หรือ Coronary Artery Calcification or

    *ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง Echocardiography

  7. ตรวจภาวะกระดูกพรุน 2 ส่วนกระดูกสันหลังและสะโพก Bone Densitometry
  8. ตรวจภาวะตับแข็ง ไขมันเกาะตับ ด้วยเครื่อง Fibroscan
  9. ตรวจเอกซเรย์ และอัลตร้าซาวด์เต้านมด้วยเครื่องดิจิตอล Digital Mammography
  10. พบแพทย์เฉพาะทางรักษ์เต้านม Breast Physician Examination
  11. ตรวจมะเร็งปากมดลูกและตรวจภายในสตรี PV & PAP Test (Thin Prep)
  12. พบแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช Gynaecologist Physician Examination
  13. ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด Fasting Blood Sugar (FBS)
  14. ตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด HbA1C
  15. ตรวจการทำงานของไต Bun
  16. ตรวจการทำงานของไต Creatinine
  17. ตรวจระดับกรดยูริกในเลือด Uric Acid
  18. ตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด Cholesterol
  19. ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด Triglyceride
  20. ตรวจระดับไขมันในเลือด (ชนิดดี) HDL-Cholesterol
  21. ตรวจระดับไขมันในเลือด (ชนิดไม่ดี) LDL-Cholesterol
  22. ตรวจการทำงานของตับ SGOT
  23. ตรวจการทำงานของตับ SGPT
  24. ตรวจการทำงานของตับ Alk Phosphatase
  25. ตรวจการทำงานของตับ Total Protein
  26. ตรวจการทำงานของตับ Albumin
  27. ตรวจการทำงานของตับ Total Bilirubin
  28. ตรวจการทำงานของตับ Globulin
  29. ตรวจการทำงานของตับ GGT (Gamma GT)
  30. ตรวจความสมบูรณ์เม็ดเลือดและเกล็ดเลือด CBC
  31. ตรวจปัสสาวะ Urine Examination (UA)
  32. ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ FT4 (Free T4)
  33. ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ TSH (Thyroid Stimulating Hormone)
  34. ตรวจหาสารมะเร็งบ่งชี้ตับ AFP (Alpha Fetoprotein)
  35. ตรวจหาสารมะเร็งบ่งชี้ลำไส้ CEA
  36. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งรังไข่ CA125
  37. ตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งตับอ่อน CA19-9
  38. ตรวจระดับวิตามินบี 12 Vitamin B 12
  39. ตรวจระดับวิตามินดี Vitamin D
  40. วัคซีนไข้หวัดใหญ่ Influenza Vaccine

อายุเท่าไหร่ถึงควรเริ่มตรวจสุขภาพผู้หญิง?

อายุเท่าไหร่ควรตรวจสุขภาพผู้หญิง

โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 15 – 20 ปีขึ้นไปสามารถตรวจสุขภาพผู้หญิงได้เลย หรือาจตรวจในช่วงที่อายุน้อยกว่านั้นหากมีความเสี่ยงหรือปัญหาสุขภาพที่ต้องระวังเป็นพิเศษ โดย Package ตรวจสุขภาพผู้หญิงที่สามารถใช้ตรวจได้คือโปรแกรมตรวจสุขภาพประจําปีผู้หญิงพื้นฐาน และสามารถปรับเปลี่ยนแพ็กเกจ เพิ่มรายการตรวจต่าง ๆ ให้ละเอียดมากขึ้นเมื่อมีอายุหรือมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น

วิธีเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพผู้หญิง

การตรวจสุขภาพนั้นจำเป็นต้องงดอาหาร งดเครื่องดื่มทุกชนิดยกเว้นน้ำเปล่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของการตรวจด้วย โดยทั่วไปแล้ววิธีการเตรียมตัวก่อนตรวจสุขภาพผู้หญิงมีดังนี้

 

  1. การตรวจเลือด (ตรวจเบาหวาน ไขมันในเลือด ตับ ไต ฯลฯ)
  • งดอาหารและเครื่องดื่ม (ยกเว้นน้ำเปล่า) อย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง ก่อนตรวจ หากต้องตรวจน้ำตาลและไขมันในเลือด
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงและแอลกอฮอล์ อย่างน้อย 24 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ เพื่อให้เส้นเลือดขยายตัวง่ายขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง

  1. การตรวจภายในและมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear, HPV Test)
  • ควรตรวจหลังหมดประจำเดือน 7-14 วัน เพื่อให้ผลตรวจชัดเจน
  • งดการมีเพศสัมพันธ์ 24-48 ชั่วโมงก่อนตรวจ
  • ไม่สวนล้างช่องคลอดหรือใช้ยาเหน็บช่องคลอด 2-3 วันก่อนตรวจ
  • ใส่เสื้อผ้าที่ถอดง่าย เพื่อความสะดวก

  1. การตรวจเต้านม (แมมโมแกรม, อัลตราซาวด์เต้านม)
  • ควรตรวจช่วงที่เต้านมไม่คัดตึง (1 สัปดาห์หลังหมดประจำเดือน)
  • งดการใช้โรลออน แป้ง หรือครีมบริเวณรักแร้และเต้านม เพราะอาจรบกวนผลตรวจ
  • สวมเสื้อที่มีกระดุมด้านหน้า เพื่อให้ถอดสะดวก

  1. การตรวจมวลกระดูก (Bone Density Test)
  • งดแคลเซียมเสริมก่อนตรวจอย่างน้อย 24 ชั่วโมง
  • ใส่เสื้อผ้าที่ไม่มีโลหะ เช่น กระดุมหรือซิปโลหะ

ซื้อแพ็กเกจตรวจสุขภาพผู้หญิงที่ไหนดี?

คุณสามารถเลือกซื้อแพ็กเกจสุขภาพจากโรงพยาบาลในเครือ BDMS เครือข่ายโรงพยาบาลที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยได้แบบสะดวกสบายผ่าน health-plaza.com ได้เลยวันนี้ รวมหลากหลายแพ็กเกจ เช่น แพ็กเกจตรวจสุขภาพตามช่วงอายุ แพ็กเกจฉีดวัคซีน แพ็กเกจความงาม แพ็กเกจเลสิก แพ็กเกจสุขภาพช่องปาก และอื่น ๆ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตรวจสุขภาพผู้หญิง

1. ตรวจสุขภาพผู้หญิงมีราคาเริ่มต้นเท่าไหร่?

โปรแกรมตรวจสุขภาพผู้หญิงที่ Health Plaza ราคาเริ่มต้นที่ 999.- สำหรับแพ็กตรวจสุขภาพพื้นฐาน นอกจากนี้ยังมีแพ็กเกจสุขภาพอื่น ๆ จากโรงพยาบาลในเครือ BDMS ให้ช้อปพร้อมโค้ดส่วนลดพิเศษ

2. ตรวจสุขภาพผู้หญิงที่ไหนดี?

การตรวจสุขภาพผู้หญิงหรือการตรวจสุขภาพประจำปีนั้นควรเลือกตรวจกับโรงพยาบาลที่มีมาตรฐาน มีบริการครบครัน แจ้งผลตรวจได้แม่นยำและรวดเร็ว การเลือกซื้อแพ็กเกจตรวจสุขภาพผ่านช่องทางออนไลน์ ช่วยให้ประหยัดและคุ้มค่ามากขึ้น เนื่องจากมีโปรโมชันและโค้ดส่วนลดมากมาย อีกทั้งยังสามารถเลือกชำระได้หลากหลายช่องทาง เช่น QR PromptPay หรือบัตรเครดิต

ตรวจสุขภาพผู้หญิงสำคัญสำหรับทุกวัย รีบตรวจเลย!

การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งสำคัญเพราะช่วยให้เรารู้สภาพร่างกายของตัวเอง ป้องกันการเกิดโรค และช่วยให้พบโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ ทำให้สามารถรักษาได้ก่อนจะลุกลาม ซึ่งหากตรวจพบโรคในระยะแรก ค่าใช้จ่ายในการรักษามักต่ำกว่าการรักษาโรคในระยะลุกลาม 

 

ช้อปแพ็กเกจสุขภาพได้เลยที่ Health Plaza รวมแพ็กเกจตรวจสุขภาพมาตรฐาน BDMS สะดวก ใช้งานง่าย พร้อมส่วนลด On Top

 

สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @healthplaza

 

Content powered by BeDee Expert

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

11 Health Screening Tests Every Woman Should Have. (2022, November 16). University Hospitals. https://www.uhhospitals.org/blog/articles/2018/08/11-health-screening-tests-every-woman-should-have

WebMD Editorial Contributors. (2023, August 27). Health Checklist for Women Over 40. WebMD. https://www.webmd.com/women/health-checklist-for-women-over-40


Women Health Check-Ups: Importance and List of Checks. (2023, August 11). Nanavati Max Super Speciality Hospital. https://www.nanavatimaxhospital.org/blogs/women-health-check-ups

บทความที่เกี่ยวข้อง