ภูมิแพ้

“ภูมิแพ้” โรคยอดฮิตของคนในปัจจุบัน เราอาจพบว่าคนใกล้ตัวหรือแม้แต่ตัวเราเองอย่างน้อยต้องมีอาการแพ้อะไรบางอย่าง เช่น ภูมิแพ้อากาศ ภูมิแพ้ผิวหนัง แพ้ฝุ่น แพ้ขนแมว แพ้ครีม แพ้เครื่องสำอาง หรือภูมิแพ้อาหาร บางรายอาจเกิดอาการแพ้เพียงเล็กน้อย เช่น เป็นผื่นคัน ไอ จามบ่อย แสบจมูก แต่ในบางรายอาจเกิดอาการแพ้รุนแรงจนอันตรายถึงชีวิตได้ เมื่อป่วยเป็นโรคภูมิแพ้แล้วเราควรจัดการ รับมือกับอาการป่วยอย่างไรดี

สารบัญบทความ

ภูมิแพ้ คืออะไร

โรคภูมิแพ้ คือ ภาวะที่ร่างกายไวต่อสารบางอย่างในสิ่งแวดล้อมมากกว่าปกติ เช่น ฝุ่น ควัน เชื้อรา ละอองเกสรดอกไม้ แมลง ขนสุนัข ขนแมว น้ำหอม หรืออาหารบางชนิด เป็นต้น เมื่อร่างกายเกิดปฏิกิริยากับสารเหล่านี้จะทำให้เกิดอาการ จามบ่อย คันตา คันจมูก คัดจมูก แสบจมูก ผื่นขึ้น ไอ หอบ แน่นหน้าอก เป็นต้น

อาการโรคภูมิแพ้

ภูมิแพ้ อาการเป็นอย่างไร

อาการภูมิแพ้ในระบบหายใจ

อาการของโรคภูมิแพ้ในระบบหายใจที่สังเกตได้ เช่น จามบ่อย คันจมูก แสบจมูก น้ำมูกไหล หรืออาจรุนแรงถึงขั้น แน่นหน้าอก หอบ โดยมากอาการเหล่านี้มักเกิดจากการแพ้ฝุ่น แพ้ไรฝุ่น เชื้อรา แมลงสาบ ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ หรือการแพ้นมวัว ไข่ ในเด็กสามารถแสดงอาการแพ้ในรูปแบบของการหายใจติดขัดได้เช่นกัน

อาการภูมิแพ้ในระบบทางเดินอาหาร

อาการภูมิแพ้ที่พบได้ในระบบทางเดินอาหาร เช่น อาการปวดท้อง ท้องเสีย อาเจียน ลำไส้แปรปรวน จุดเสียดท้อง เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เรอ ผายลมบ่อย ซึ่งอาการเหล่านี้มักเกิดจากการแพ้อาหาร

อาการภูมิแพ้ในผิวหนัง

อาการของโรคภูมิแพ้ผิวหนังที่พบได้คือ ผื่นแพ้ ผื่นแพ้อากาศ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ผื่นลมพิษ ผื่นแพ้สัมผัส มักเกิดจากการแพ้อาหารและยา ส่วนอาการภูมิแพ้ผิวหนังส่วนใหญ่มักเกิดจากพันธุกรรมจากคนในครอบครัว โดยอาการจะปรากฎมากในช่วงเด็ก ได้แก่ ผื่นบริเวณข้อพับ แก้ม 

อาการภูมิแพ้ในระบบอื่นๆ

ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการภูมิแพ้หลายระบบเกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น มีอาการหอบ มีผื่นลมพิษ หรือาจรุนแรงถึงขั้นช็อก หมดสติหลังรับประทานอาหารหรือยาได้เช่นกัน

 

 

สอบถามเรื่องภูมิแพ้กับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง ไม่มีค่าจัดส่งยา

สาเหตุของโรคภูมิแพ้

  1. พันธุกรรม โรคภูมิแพ้หลายประเภทมักเกิดจากพันธุกรรม เช่น หืด แพ้อากาศ และผื่นภูมิแพ้ พบว่าหากมีประวัติครอบครัว พ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้จะทำให้ลูกมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้สูงขึ้น
  2. สิ่งแวดล้อม ได้แก่
  • สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ เช่น ฝุ่น ควัน มลพิษ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 เชื้อรา ละอองเกสรดอกไม้ แมลง ขนสุนัข ขนแมว น้ำหอม เครื่องสำอาง 
  • อากาศ เช่น อากาศร้อน อากาศหนาวเย็น 
 

อาหารบางชนิด เช่น ไข่ ถั่ว อาหารทะเล แป้งสาลี กลูเต็น

สารก่อภูมิแพ้ มีอะไรบ้าง

สารก่อภูมิแพ้

สารก่อภูมิแพ้ในอากาศ 

  • ละอองเกสรพืช เกสรดอกไม้ ต้นไม้ ต้นหญ้า 
  • ไรฝุ่น 
  • แมลงสาบ 
  • เชื้อรา
  • ขนสัตว์

 

สารก่อภูมิแพ้ในอาหาร

  • ไข่ 
  • นมวัว 
  • ถั่วชนิดต่าง ๆ 
  • อาหารทะเล

สารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ

  • สารเคมีต่าง ๆ เช่น สารเคมีในสบู่ ยาสระผม น้ำหอม ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ยาย้อมผม สารกันเสีย เครื่องสำอาง
  • ยางและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยาง เช่น ลูกโป่ง ถุงมือยาง ของเล่นเด็ก 
  • ยา เช่น กลุ่มยาฆ่าเชื้อและกลุ่มยาแก้อักเสบบางชนิด, ไอบูโพรเฟน (Ibuprofen), ยากันชัก (Anticonvulsant), หรือยาเคมีบำบัด

โรคแทรกซ้อนจากภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้หากปล่อยไว้ไม่รักษาสามารถเกิดโรคแทรกซ้อนได้เช่น โรคไอเรื้อรัง คออักเสบ ไซนัสอักเสบ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง นอนกรน ผิวหนังติดเชื้อ ริดสีดวงจมูก ปวดหู หูอื้อ เป็นต้น

การวินิจฉัยภูมิแพ้

ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด

การตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Blood Test Allergy) คือการตรวจหาภูมิต้านทาน (IgE) ต่อสารภูมิแพ้ เช่น อาหารทะเล นม ไข่ ถั่ว ฯลฯ เพื่อจำแนกว่าร่างกายแพ้ตัวกระตุ้นชนิดใดบ้าง การตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือดนั้นให้ความแม่นยำ สะดวก รวดเร็ว สามารถตรวจวิเคราะห์สารที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้หลายชนิดโดยที่ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดรับประทานยาแก้แพ้ก่อนรับการเจาะเลือด

ตรวจภูมิแพ้ด้วยการสะกิดผิวหนัง

การตรวจภูมิแพ้ด้วยการสะกิดผิวหนัง (Allergen Skin Prick Test) คือการใช้เข็มสะกิดผิวหนังแล้วหยดสารก่อภูมิแพ้เพื่อดูปฏิกิริยาการแพ้ 

ตรวจภูมิแพ้ด้วยการรับประทานอาหารที่สงสัย

การตรวจภูมิแพ้ด้วยการรับประทานอาหารที่สงสัย (Oral Food Challenge Test) คือ การรับประทานอาหารที่สงสัยว่าทำให้เกิดการแพ้เพื่อสังเกตปฏิกิริยาการแพ้ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้การทดสอบจำเป็นต้องควบคุมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเนื่องจากเมื่อผู้ป่วยรับประทานอาหารที่สงสัยแล้วอาจทำให้เกิดการแพ้รุนแรงได้ โดยแพทย์จะให้ผู้ป่วยลองรับประทานอาหารที่สงสัยว่าเกิดการแพ้ในปริมาณน้อย แล้วจึงค่อย ๆ เพิ่มปริมาณ

 

สอบถามเรื่องภูมิแพ้กับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง ไม่มีค่าจัดส่งยา

วิธีรักษาภูมิแพ้

การรักษาภูมิแพ้
  1. หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ ในกรณีที่ทราบสารก่อภูมิแพ้ที่ตนเองแพ้แล้ว ควรหลีกเลี่ยงสารดังกล่าวรวมถึงสารอื่น ๆ ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองหรืออาการแพ้ต่อร่างกาย เช่น ฝุ่น ควัน มลภาวะ เชื้อรา ขนสัตว์ เป็นต้น
  2. รับประทานยาแก้แพ้ เช่น ยากลุ่ม Antihistamines ตามคำแนะนำจากแพทย์อย่างเคร่งครัด
  3. ดูแลร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาที / สัปดาห์ และพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง
  4. รักษาโรคร่วม เช่น โรคไซนัสอักเสบ โรคอ้วน

ดูแลตัวเองอย่างไรถ้าเป็นภูมิแพ้

  1. หลีกเลี่ยงการสัมผัสสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้
  2. ออกกำลังกาย ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง
  3. พักผ่อนให้เพียงพอ แม้เราจะนอนครบ 8 ชั่วโมงแต่เข้านอนดึกมากเกินไป ย่อมไม่ดีต่อสุขภาพแน่นอน สำหรับช่วงเวลาที่ควรเข้านอนมากที่สุดคือตั้งแต่ 20.00-22.00 น. 
  4. รับประทานยาแก้แพ้หรือยาที่แพทย์สั่งเมื่อเกิดอาการภูมิแพ้
  5. ล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ จะช่วยชะล้างสารก่อภูมิแพ้ที่เกาะติดอยู่ภายในโพรงจมูกได้ ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น

สรุปเรื่องภูมิแพ้

ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มากขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสิ่งแวดล้อม ไลฟ์สไตล์ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้หากร่างกายอ่อนแอจะยิ่งทำให้อาการกำเริบ สร้างความรำคาญต่อการใช้ชีวิตประจำวัน หรือบางรายอาจแพ้รุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นเมื่อสงสัยว่าตัวเองมีอาการของโรคภูมิแพ้ควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวิเคราะห์หาสารก่อภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอาการและหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ดังกล่าว 

 

 

Content powered by BeDee Expert

ภญ.กมลวรรณ พัดศรีเรือง

เภสัชกร

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Allergies – Symptoms and causes – Mayo Clinic. (2022, August 5). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/allergies/symptoms-causes/syc-20351497

 

NHS inform. (2023, May 29). Allergies – Illnesses & conditions | NHS inform. NHS Inform. https://www.nhsinform.scot/illnesses-and-conditions/immune-system/allergies/

รักษาโรคภูมิแพ้ที่ไหนดี

รักษาภูมิแพ้ที่ไหนดี

ภูมิแพ้สร้างความรำคาญ รีบปรึกษาแพทย์ด่วน ปรึกษาหมอออนไลน์หรือปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีแพทย์และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษา เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการไข้หวัดใหญ่ คือ อาการที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัส “ไข้หวัดใหญ่” (Influenza Virus) โดยผู้ติดเชื้อมักมีอาการปวดหัว, ไอ, เจ็บคอ, คัดจมูก, มีน้ำมูก, รู้สึกอ่อนเพลีย และมีไข้ อาการของไข้หวัดใหญ่ถือเป็นอาการที่พบได้บ่อยในฤดูฝน (ช่วงเดือนมิถุนายน-ตุล

Key Takeaway ตาแดงเกิดจากการติดเชื้อที่เยื่อบุตานั้นโดยมากมักเกิดจากเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรืออาการภูมิแพ้ หากมีอาการตาแดงร่วมกับการมองเห็นแย่ลง ปวด เจ็บตามากขึ้นควรรีบปรึกษาแพทย์ แยกกักตัวผู้ป่วยตาแดงออกจากบุคคลอื่น ๆ เพราะอาการตาแดง จากเชื้อไวร