healthy keto คือ

Key Takeaways

  • คีโต คือ การทานอาหารที่จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตและเพิ่มปริมาณไขมัน โดยมีเป้าหมายหลักคือการทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า “คีโตซิส” (Ketosis)
  • การทานคีโตไม่ได้ทำให้ไขมันที่เป็นอันตรายต่อร่างกายเพิ่มขึ้น แต่อาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน
  • การทานคีโตควรปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหารก่อนเริ่มทาน
สารบัญบทความ

คีโตคืออะไร มีกี่ประเภท 

เมื่อพูดถึงเรื่องวิธีการลดน้ำหนัก หลายคนน่าจะนึกถึงรูปแบบการรับประทานหรือการประพฤติกรรมการรับประทานอาหารในหลากหลายรูปแบบ เช่น IF การทานอาหารคลีน อีกหนึ่งวิธีที่หลายคนอาจจะเคยได้ยินหรือหลายคนกำลังทำอยู่นั่นคือการทานคีโต 

 

คีโต หรือ ketogenic diet คือ รูปแบบการรับประทานอาหารที่มีการจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตและเพิ่มปริมาณไขมัน โดยมีเป้าหมายหลักคือการทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะที่เรียกว่า “คีโตซิส” (ketosis) หรือภาวะที่ร่างกายจะเข้าไปสลายไขมันแทนคาร์โบไฮเดรต โดยหลักการกินอาหารแบบคีโต คือ

  • ลดการทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต ซึ่งเมื่อร่างกายได้รับปริมาณคาร์โบไฮเดรตที่น้อยลง ร่างกายจะมีปริมาณกลูโคสที่เป็นแหล่งพลังงานหลักไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ร่างกายจึงจำเป็นต้องหาแหล่งพลังงานอื่น
  • ร่างกายจะเริ่มสลายไขมันเพื่อใช้เป็นพลังงานให้กับร่างกาย โดยจะเปลี่ยนไขมันให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล และสร้างคีโตน โดยตับจะเปลี่ยนกรดไขมันเป็นคีโตน ซึ่งสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานสำรองให้กับสมองและร่างกายได้

 

การกินแบบ keto สามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้

Standard Ketogenic Diet – SKD

คาร์โบไฮเดรต: ประมาณ 5-10% ของแคลอรี่ต่อวัน

โปรตีน: ประมาณ 20-25% ของแคลอรี่ต่อวัน

ไขมัน: ประมาณ 70-75% ของแคลอรี่ต่อวัน

Cyclical Ketogenic Diet – CKD

การกินคีโต 5 วัน: การกินคีโตตามมาตรฐาน 5 วันต่อสัปดาห์

การกินคาร์โบไฮเดรตสูง 2 วัน: เพิ่มการบริโภคคาร์โบไฮเดรตให้สูงขึ้นในช่วง 2 วันหลัง เพื่อเติมเต็มพลังงานในร่างกายและให้โอกาสในการรับประทานอาหารที่หลากหลาย

Targeted Ketogenic Diet – TKD

คาร์โบไฮเดรตเฉพาะเวลา: เพิ่มการบริโภคคาร์โบไฮเดรตในช่วงเวลาก่อนและหลังการออกกำลังกายเท่านั้น เพื่อให้พลังงานในการออกกำลังกาย

High-Protein Ketogenic Diet

คาร์โบไฮเดรต: ประมาณ 5-10% ของแคลอรี่ต่อวัน

โปรตีน: ประมาณ 30-35% ของแคลอรี่ต่อวัน

ไขมัน: ประมาณ 60-65% ของแคลอรี่ต่อวัน

BeDee Tips: ดูไอเดีย 10 เมนูอาหารลดน้ำหนัก เพิ่มเติมเลย

 

ปรึกษาเรื่องการทานคีโตคืออะไร ? และการลดน้ำหนักกับคุณหมอและนักกำหนดอาหารที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

หลักการทานคีโต คืออะไร

healthy ketogenic diet คือ

หลักการกินคีโต คือ การทำให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะคีโตซิส (ketosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลักแทนคาร์โบไฮเดรต การรับประทานอาหารแบบคีโตต้องมีการปรับเปลี่ยนสัดส่วนของสารอาหารที่ได้รับอย่างเหมาะสม ดังนี้

  1. จำกัดคาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate Restriction)
    • จำกัดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานให้น้อยที่สุด ส่วนมากมักจะรับประทานอยู่ที่ประมาณ 20-50 กรัมต่อวัน
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูงและแป้ง เช่น ขนมปัง ข้าว พาสต้า ขนมหวาน และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล

  2. เพิ่มการบริโภคไขมัน (Increased Fat Intake)
    • เน้นการบริโภคไขมันจากแหล่งไขมันที่ดีเพิ่มขึ้น เช่น เนื้อสัตว์ ปลา ไข่ เนย น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่ว และเมล็ดพืช
    • ปริมาณไขมันควรทานคิดเป็นประมาณ 70-75% ของแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน

  3. โปรตีนปานกลาง (Moderate Protein Intake)
    • การบริโภคโปรตีนควรอยู่ในระดับปานกลาง ประมาณ 20-25% ของแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน
    • เลือกโปรตีนจากแหล่งที่ดี เช่น เนื้อสัตว์, ปลา, ไข่, และผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันสูง

  4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีการแปรรูปสูง (Avoid Highly Processed Foods)
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีการแปรรูปสูงและมีสารเติมแต่ง
    • เลือกอาหารสดใหม่และปรุงเอง

  5. ดื่มน้ำให้เพียงพอ (Stay Hydrated)
    • การดื่มน้ำสำคัญต่อการช่วยร่างกายปรับตัวและลดผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น เช่น คีโตฟลู (keto flu)

  6. รับประทานผักที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ (Eat Low-Carb Vegetables)
    • ทานผักใบเขียวและผักที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ เช่น ผักสลัด ผักโขม บรอกโคลี และกะหล่ำปลี

อาหารคีโตแบ่งออกเป็นอะไรบ้าง สิ่งที่ควรทานและไม่ควรทานสำหรับคีโต

การทานคีโต คือ การทานอาหารที่เน้นทานอาหารที่มีไขมันสูง โปรตีนปานกลาง และคาร์โบไฮเดรตต่ำ เพื่อให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะคีโตซิส (Ketosis) ซึ่งเป็นภาวะที่ร่างกายใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลักแทนคาร์โบไฮเดรต อาหารคีโตสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้

อาหารกลุ่มไขมัน 

  • น้ำมันมะพร้าว: มีไขมันสายกลาง (MCT) ที่ช่วยให้ร่างกายเข้าสู่ภาวะคีโตซิสได้เร็ว
  • น้ำมันมะกอก: เหมาะสำหรับการปรุงอาหารและทำสลัด
  • น้ำมันอะโวคาโด: มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวสูงและจุดเดือดสูง ทำให้เหมาะสำหรับการทอด
  • น้ำมันแมคคาเดเมีย: มีไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและรสชาติอ่อน
  • เนย (Butter): จากนมวัวหรือเนยจากสัตว์ที่เลี้ยงด้วยหญ้า
  • ถั่วเปลือกแข็ง เช่น พิตาชิโอ้ อัลมอนด์ วอทนัท ฯลฯ

อาหารกลุ่มโปรตีน

  • เนื้อวัว 
  • เนื้อหมู 
  • เนื้อไก่ 
  • ไข่ 
  • ปลา 
  • อาหารทะเล 
  • เต้าหู้
  • ถั่ว
  • เนื้อสัตว์ที่ไม่ผ่านการแปรรูป

อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต

การจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการกินแบบคีโต กล่าวคือควรทานคาร์โบไฮเดรตที่ประมาณ 20-50 กรัมต่อวัน ดังนั้นอาหารที่เลือกทานในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตสำหรับการทาน keto คืออาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตต่ำและมีไฟเบอร์สูง เช่น 

  • ผักโขม 
  • คะน้า 
  • ผักสลัด 
  • บร็อคโคลี่ 
  • กะหล่ำดอก 
  • หน่อไม้ฝรั่ง 
  • เบอร์รี่ต่าง ๆ เช่น สตรอเบอร์รี่ ราสเบอร์รี่ บลูเบอร์รี่ แบล็กเบอร์รี่ 
  • มะนาว 
  • มะเขือเทศ 
  • อะโวคาโด 
  • อัลมอนด์ 
  • วอลนัท 
  • เมล็ดแฟลกซ์ 
  • เมล็ดเจีย 

 

ในการรับประทานอาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) การหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ร่างกายสามารถเข้าสู่ภาวะคีโตซิส (Ketosis) และใช้ไขมันเป็นแหล่งพลังงานหลักแทนคาร์โบไฮเดรต อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่

  • อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต เช่น ข้าว ขนมปัง พาสต้า แป้งสาลีและผลิตภัณฑ์จากแป้งสาลี
  • น้ำตาลและผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น น้ำผึ้ง น้ำผลไม้ ชานมไข่มุก น้ำอัดลม เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เบียร์ ค็อกเทล
  • ขนมหวาน เค้ก คุกกี้ และขนมอบต่าง ๆ ไอศกรีม 
  • พืชหัว และผักที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น มันฝรั่ง มันเทศ แคร์รอต ข้าวโพด ในปริมาณมาก
  • ผลไม้ที่มีน้ำตาลสูง กล้วย ส้ม แอปเปิล องุ่น มะม่วง สับปะรด 
  • อาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูป
  • ขนมขบเคี้ยว เช่น มันฝรั่งทอด ขนมอบกรอบ 

 

ปรึกษาเรื่องการทานคีโตคืออะไร ? และการลดน้ำหนักกับคุณหมอและนักกำหนดอาหารที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

การทานคีโตเหมาะกับใครและไม่เหมาะกับใครบ้าง

มาเช็กลิสต์กันดีกว่าว่าใครบ้างที่เหมาะกับการทานคีโต และใครบ้างที่ไม่เหมาะ ดังต่อไปนี้

ผู้ที่เหมาะกับคีโต

  • ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก
  • ผู้ป่วยโรคลมชัก (Epilepsy)
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
  • ผู้ที่มีภาวะต้านอินซูลิน (Insulin Resistance)

ผู้ที่ไม่เหมาะกับคีโต

  • ผู้ป่วยโรคตับ 
  • ผู้ป่วยโรคไต 
  • ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับถุงน้ำดี 
  • ผู้ที่มีประวัติการเกิดนิ่วในไต 
  • ผู้ที่มีปัญหาการเผาผลาญไขมัน 
  • สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร 
  • เด็กและวัยรุ่น ยกเว้นในกรณีที่ใช้การทานอาหารคีโตในการรักษาโรคลมชัก 
  • ผู้ที่มีประวัติภาวะกินอาหารผิดปกติ (Eating Disorders)

ประโยชน์ของการทานคีโตมีอะไรบ้าง

keto friendly คือ

ประโยชน์ของการรับประทานคีโตนั้นไม่ได้มีดีแค่ในเรื่องของการควบคุมน้ำหนักเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลดีต่อสุขภาพมากมาย ดังนี้ 

  1. การลดน้ำหนัก
  • เผาผลาญไขมัน: การทานคาร์โบไฮเดรตต่ำและไขมันสูงช่วยให้ร่างกายเผาผลาญไขมันเป็นพลังงานได้ดีขึ้น
  • ทำให้อิ่มนาน: การทานอาหารที่มีไขมันสูงช่วยให้รู้สึกอิ่มนาน ลดการทานอาหารว่างระหว่างมื้อ

  1. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ลดน้ำตาลในเลือด: การลดการบริโภคคาร์โบไฮเดรตช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น
  • ลดความต้องการอินซูลิน: การทานคีโตช่วยลดความต้องการอินซูลินในร่างกาย ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2

  1. ดีต่อสุขภาพหัวใจ
  • ลดระดับไตรกลีเซอไรด์: การทานอาหารคีโตช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
  • เพิ่ม HDL: ช่วยเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพหัวใจ

  1. ช่วยควบคุมโรคลมชัก
  • ลดการชัก: การทําคีโตคือหนึ่งในวิธีลดการชักในผู้ป่วยโรคลมชัก โดยเฉพาะในเด็ก

  1. ช่วยควบคุมความอยากอาหาร
  • ความอิ่มนาน: การทานอาหารที่มีไขมันและโปรตีนสูงช่วยควบคุมความอยากอาหารและลดการบริโภคอาหารเกินจำเป็น

การทานคีโตมีผลข้างเคียงระยะยาวอย่างไร

หากจะเริ่มทานอาหารคีโตควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์หรือนักกำหนดอาหารที่มีความรู้ความชำนาญ เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายได้รับสารอาหารที่เพียงพอและลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว ผลข้างเคียงที่อาจพบได้เมื่อทานคีโต คือ

  • คีโตฟลู (keto flu) ซึ่งรวมถึงปวดหัว เหนื่อยล้า คลื่นไส้ และเวียนหัวในช่วงแรกของการปรับตัว
  • ปัญหาทางเดินอาหาร เช่น ท้องผูก เนื่องจากการบริโภคใยอาหารจากผักและผลไม้ลดลง
  • ขาดวิตามินและแร่ธาตุ เช่น วิตามินซี วิตามินดี แมกนีเซียม โพแทสเซียม ขาดไฟเบอร์ 
  • ระดับคอเลสเตอรอล LDL สูงขึ้นในบางคน ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • ภาวะคีโตแอซิโดซิส (Ketoacidosis) การทานคีโตอาจทำให้ระดับคีโตนในเลือดสูงเกินไปจนเป็นอันตรายได้
  • ภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) การทานโปรตีนและไขมันสูงอาจทำให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมามากขึ้น ซึ่งอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน

 

ปรึกษาเรื่องการทานคีโตคืออะไร ? และการลดน้ำหนักกับคุณหมอและนักกำหนดอาหารที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง