Key Takeaways โรคสมาธิสั้น ADHD มักพบได้เด็กอายุ 3-7 ขวบ แต่ตัวโรคสามารถดำเนินได้จนถึงวัยผู้ใหญ่ อาการสมาธิสั้นที่สังเกตได้ เช่น ทำกิจกรรมที่ต้องจดจ่อหรือใช้สมาธิไม่ได้ อยู่ไม่สุข ไม่สามารถนั่งนิ่งได้ หากมีสงสัยว่าลูกมีอาการสมาธิสั้นในเด็กควรปรึกษาแพ
เปลี่ยนฝันร้ายวันรวมญาติให้กลายเป็นฝันดีของลูกหลาน ไม่เครียด ไม่ดราม่า
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaways
- วันรวมญาติ คือวันที่สมาชิกในครอบครัวซึ่งอาจไม่ได้พบกันบ่อย มารวมตัวกันเพื่อพบปะ พูดคุย ทำกิจกรรมร่วมกัน
- หลายคนอาจรู้สึกว่าวันรวมญาตินั้นน่าอึดอัด เพราะถูกถามเรื่องส่วนตัวมากเกินไป ถูกเปรียบเทียบ และทำให้เสียเวลาวันหยุดพักผ่อน
- หากรู้สึกกดดัน วิตกกังวล หรือรู้สึกเศร้าจากการต้องรับมือกับการรวมญาติ สามารถปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก หรือนักจิตบำบัดจาก BeDee ได้ทุกวัน
วันรวมญาติคืออะไร?
วันรวมญาติ คือวันที่สมาชิกในครอบครัว เครือญาติ หรือวงศ์ตระกูลซึ่งอาจไม่ได้พบกันบ่อยในชีวิตประจำวัน มารวมตัวกันเพื่อพบปะ พูดคุย ทำกิจกรรมร่วมกัน และกระชับความสัมพันธ์ภายในครอบครัวให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น โดยทั่วไปวันรวมญาติมักจะถูกจัดขึ้นเป็นพิเศษในโอกาสสำคัญ เช่น วันหยุดยาว วันสงกรานต์ วันปีใหม่ วันเกิดของผู้ใหญ่ในบ้าน งานทำบุญ งานเลี้ยงรุ่นครอบครัว หรือวันครบรอบวันสำคัญของแต่ละครอบครัว
ปรึกษาจิตแพทย์ ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว
ส่งยาถึงที่ ไม่มีค่าจัดส่ง
ทำไมเด็กรุ่นใหม่ถึงไม่ชอบวันรวมญาติ?
ถึงแม้การรวมญาติจะเป็นกิจกรรมที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์ของคนในครอบครัว แต่ก็อาจไม่ใช่สำหรับทุกคน สำหรับบางคนแล้วการรวมญาติอาจสร้างบาดแผลทางใจหรืออาจทำให้เกิด โรคซึมเศร้า หรือ โรควิตกกังวล ได้เนื่องจากสาเหตุดังนี้
ถูกถามเรื่องส่วนตัวมากเกินไป
เชื่อว่าสาเหตุอันดับแรก ๆ ที่ทำให้หลายคนไม่ชื่นชอบวันรวมญาติคือการที่ถูกถามเรื่องส่วนตัวมากเกินไป หลายคนคงเคยถูกคำถาม เช่น “เรียนจบหรือยัง” “ทำงานอะไร” “เงินเดือนเท่าไหร่” “มีแฟนหรือยัง” “อ้วนขึ้นนะ” และอื่น ๆ คำถามเหล่านี้ทำให้เรารู้สึกอึดอัดใจที่จะตอบ รู้สึกว่าเป็นเรื่องส่วนตัวที่ไม่จำเป็นต้องบอกใคร
ถูกเปรียบเทียบกับคนอื่น
ประเด็นต่อมาคือเมื่อถูกคำถามส่วนตัวมากเกินไปแล้วทำให้เกิดการเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ เช่น “ลูกป้าได้เงินเดือนเท่านี้แหนะ” “หาแฟนได้แล้วนะ น้อง ๆ เค้ามีแฟนกันหมดแล้ว” “พี่เค้าได้เลื่อนตำแหน่งแล้วนะ เรายังอยู่เท่าเดิมอีกเหรอ แย่เลยนะ”
ช่องว่างระหว่างวัย
บทสนทนา หัวข้อ หรือความคิดเห็นบางอย่างที่เกิดขึ้นในวันรวมญาติอาจสะท้อนว่ามุมมองของแต่ละคนแต่ละช่วงวัยนั้นแตกต่างกันจนอาจทำให้เกิดความขัดแย้ง หรือความอึดอัดใจที่จะพูดคุย ยิ่งพูดคุยอาจจะยิ่งทะเลาะกันมากขึ้น
ถูกรบกวนในวันหยุด
วันรวมญาตินั้นมักถูกจัดขึ้นในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดเทศกาลอื่น ๆ ซึ่งหลายคนอาจจะเรียนหรือทำงานหนักมาทั้งอาทิตย์ จึงอยากจะพักผ่อนเพื่อจัดการธุระตัวเอง หรือออกไปท่องเที่ยวมากกว่าที่จะมางานรวมญาติ
ไม่ได้ชื่นชอบกิจกรรมที่ทำร่วมกัน
กิจกรรมวันรวมญาติที่หลายครอบครัวมักจะทำกัน เช่น รับประทานอาหารร่วมกัน พูดคุยเรื่องเก่า ๆ ไปเที่ยว ไปช็อปปิง เด็ก ๆ หลายคนอาจจะรู้สึกไม่อินกับกิจกรรมเหล่านี้ ไม่ได้รู้สึกสนใจ จึงทำให้ไม่อยากไปรวมญาติ
BeDee Tips: ดู 10 วิธีจัดการความเครียด สร้างสุขภาพจิตให้แข็งแรง อ่านเลย
คำถามที่มักเจอในวันรวมญาติ
หากพูดถึงสิ่งที่ถูกถามในวันรวมญาติหลายคนน่าจะถูกถามคำถามคล้าย ๆ กัน โดยส่วนมากแล้วสิ่งที่ผู้ใหญ่ในครอบครัวมักจะถามลูกหลาน ได้แก่
- เรียนได้เกรดเท่าไหร่
- มีแฟนหรือยัง
- แฟนทำงานอะไร
- ยังโสดอยู่เหรอ
- เมื่อไหร่จะแต่งงาน
- เมื่อไหร่จะมีลูก
- ทำงานอะไร
- เงินเดือนเท่าไหร่แล้ว
- อ้วนขึ้นหรือเปล่า
- น้ำหนักเท่าไหร่
- ดูคล้ำขึ้นนะ
5 วิธีรับมือวันรวมญาติแบบลดดราม่า
หากจำเป็นต้องไปรวมญาติจะทำอย่างไรดี ? BeDee มี 5 วิธีรับมือเมื่อต้องไปร่วมงานรวมญาติแบบลดการปะทะ ลดดราม่ามากฝากกัน
พยายามตอบคำถามแบบกลาง ๆ
ตอบคำถามด้วยคำตอบแบบกลาง ๆ เพื่อลดการวิพากษ์วิจารณ์และรักษาความเป็นส่วนตัว เช่น “เงินเดือนก็พออยู่ได้ค่ะ ตอนนี้มีความสุขดีค่ะ” “ยังไม่มีแฟนค่ะ อยากโฟกัสกับการเรียน / การทำงานก่อนค่ะ” “ช่วงนี้ทำงานเหนื่อยเลยอาจจะทานเยอะค่ะ”
เลี่ยงการปะทะ
หากรู้สึกว่าบทสนทนาเริ่มจะมีความขัดแย้ง หรือทำให้เรารู้สึกอึดอัดใจ ให้ลองหลีกเลี่ยงด้วยการหลบไปทำกิจกรรมอย่างอื่น เช่น หันไปช่วยยกอาหาร ออกไปเดินเล่นกับน้อง ๆ หรืออาสาออกไปซื้อของให้
ปฏิเสธการไปรวมญาติด้วยเหตุผล
อธิบายให้ครอบครัวฟังว่าเราไม่สะดวกไปรวมญาติจริง ๆ ด้วยเหตุผล เช่น ติดธุระ ต้องการพักผ่อนจริง ๆ หรือมีนัดสำคัญ
ชวนคุยเรื่องอื่น
ลองเปลี่ยนประเด็นการสนทนาจากการโฟกัสที่ตัวเราเป็นอย่างอื่น เช่น “แล้วคุณน้าทำอะไรคะช่วงนี้”
“อาหารร้านนี้อร่อยนะคะ” “เห็นว่าเพิ่งไปเที่ยวมาสนุกไหมคะ”
นาน ๆ เจอกันทีดีกว่า
หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงการพบปะรวมญาติกันได้ อาจจะลองจัดการเวลา ลดความถี่ในการเจอกัน เช่น 5-6 เดือนค่อยเจอกันที ความสัมพันธ์ที่มีระยะห่างที่พอดีอาจจะช่วยลดความบาดหมางลงได้
BeDee Tips: วิธีคุยกับคนเป็นโรคซึมเศร้า ควรพูดคุยอย่างไรไม่ให้ทำร้ายจิตใจ อ่านเลย
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวันรวมญาติ
1. ถ้าไม่อยากไปวันรวมญาติควรทำอย่างไร ?
ไม่ผิดที่เราอาจรู้สึกว่าไม่อยากไปเจอญาติ ๆ ไม่ได้สนใจที่จะทำกิจกรรมร่วมกัน เราอาจปฏิเสธด้วยความสุภาพ เช่น “ช่วงนี้งานหนักมาก ขอพักก่อนนะคะ” “ขอแวะไปช่วงเย็นได้ไหมคะ” อาจจะส่งของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือโทรไปหาผู้ใหญ่เพื่อแสดงความจริงใจแทน
2. ทำไมต้องมีวันรวมญาติ ?
เหตุผลของการรวมญาติเพราะหลายคนเชื่อว่าการมาพบปะ พูดคุย ทำกิจกรรมร่วมกันจะช่วยกระชับความสัมพันธ์ รักษาความรู้สึกดี ๆ ระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น แต่หลายคนก็อาจพบว่าการรวมญาติสร้างความอึดอัดใจได้เช่นกัน
วันรวมญาติอาจสร้างบาดแผลในใจ ปรึกษาจิตแพทย์ได้ที่ BeDee
วันรวมญาติอาจเป็นทั้งฝันดีและฝันหลายในคราวเดียวกัน เพราะคำพูดนั้นอาจเป็นอาวุธที่ทำร้ายคนอื่นได้โดยไม่รู้ตัว หากรู้สึกไม่สบายใจ กดดัน กังวล ปรึกษาหมอออนไลน์ ปรึกษาพยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรได้เลยที่นี่
BeDee พบหมอเฉพาะทางเครือ BDMS ได้ทันที ไม่ต้องรอ ส่งยาทั่วไทย มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล พื้นที่ปลอดภัย สู่สุขภาพใจที่ดีกว่า โดยบุคลากรมืออาชีพ
สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
How To Deal With A Toxic Family Member. (n.d.). Headspace. https://www.headspace.com/articles/toxic-family
Family | Mental Health Advice. (n.d.). YoungMinds. https://www.youngminds.org.uk/young-person/coping-with-life/family/
Coping with family conflicts as a student. (2022, October 20). Health Assured. https://www.healthassured.org/blog/coping-with-family-conflicts-as-a-student/