หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้

Key Highlight

  • หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้อย่างหนึ่งคือการเปลี่ยนบรรยากาศ ลาพักร้อน ออกไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ ช่วงวันเสาร์อาทิตย์
  • หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ไขที่สำคัญที่สุดเลยก็คือการแบ่งเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม
  • หากรู้สึกหมดไฟ การออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุข
สารบัญบทความ

หมดไฟในการทำงาน เกิดจากสาเหตุใด 

หมดไฟในการทํางาน ลาออกเลยดีไหม ! หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้คืออะไรใครรู้บอกที! ใครที่กำลังมองหาทางออกของอาการหมดไฟในการทำงานต้องมาทำความเข้าใจภาวะนี้ก่อนเลย

 

ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burn out คือการเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ จิตใจ ที่เกิดขึ้นจากความเครียดในการทำงานเป็นระยะเวลานาน และขาดวิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสม

 

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการหมดไฟในการทํางานมีหลายปัจจัยดังนี้

  • ความกดดันในการทำงาน เช่น ปริมาณงานที่มากเกินไป ความยากของเนื้องาน เวลาการทำงานที่จำกัด กระชั้นชิด หรือการทำงานที่มากเกินไป
  • มีปัญหาความสัมพันธ์หรือบรรยากาศในที่ทำงาน เช่น มีปัญหากับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน 
  • รู้สึกว่างานที่ตนเองทำไม่สัมพันธ์กับค่าตอบแทนที่ได้รับ
  • มีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ (Low self-esteem)
  • ไม่มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวหรือเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร

 

BeDee Tips: องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ขึ้นทะเบียน ให้ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout Syndrome เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในสถานที่ทำงาน ที่ควรได้รับการรักษาและป้องกันเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ อีกด้วย

รู้สึกหมดไฟในการทำงาน อยากได้วิธีแก้ ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาที่แอป BeDee เลย สะดวก เป็นส่วนตัว เอาใจคนเลิกดึกปรึกษาได้ถึง 22.00 น.

รับมือหมดไฟในการทำงานกับ 5 วิธีแก้ Burnout

หมดไฟในการทํางาน แก้ยังไง

ออกไปเที่ยว 

หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้อย่างหนึ่งที่ควรทำเลยก็คือการเปลี่ยนบรรยากาศ ลาพักร้อน ออกไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ ช่วงวันเสาร์อาทิตย์จะช่วยลดความเครียด ทำให้สมองได้ผ่อนคลาย หรือลองทำ Workshop กิจกรรมบำบัดต่าง ๆ ที่เดี๋ยวนี้มักมีจัดในช่วงวันหยุดจะช่วยทำให้สมองได้ผ่อนคลายและได้เพื่อนใหม่ที่สนใจเรื่องเดียวกันกับเราด้วย

แบ่งเวลา

อาการหมดไฟในการทำงานอาจเกิดขึ้นได้จากการแบ่งเวลาไม่เหมาะสม มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มากเกินไป หากรู้สึกหมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ไขที่สำคัญเลยก็คือการแบ่งเวลาทำงานและเวลาพักผ่อนให้เหมาะสม

ออกกำลังกาย

เราอาจจะได้ยินกันบ่อยแล้วว่าเมื่อมีปัญหาสุขภาพอะไร หลายคนก็มักจะแนะนำให้ไปออกกำลังกาย สำหรับ Burnout Syndrome วิธีแก้ก็คือการออกกำลังกายเช่นกัน เนื่องจากการออกกำลังกายจะช่วยให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุข ทำให้เรารู้สึกมีความสุข เคลิบเคลิ้ม อิ่มอกอิ่มใจ คลายเครียด อยากอาหารมากขึ้น ช่วยหลั่งฮอร์โมนเพศ และเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายเพื่อลดความเครียดนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายที่ใช้แรงมากหรือออกอย่างหนัก สามารถออกกำลังกายเบา ๆ อย่างการเดินเล่น ปั่นจักรยาน หรือเล่นโยคะเบา ๆ

กินอิ่ม นอนหลับ

คำว่ากินให้ดีในที่นี้ก็คือการทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ ร่างกายของเราก็เหมือนกับรถยนต์ หากเราเติมน้ำมันที่ดี เหมาะสมกับรถยนต์ก็จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ดี นอกจากทานอาหารแล้วต้องนอนหลับให้ดีด้วย

พูดคุยกับคนที่รู้สึกสบายใจ

วิธีแก้หมดไฟในการทำงาน ที่ทำได้อย่างรวดเร็วและช่วยได้สำหรับหลายคนคือการพูดคุยกับคนใกล้ตัวที่เรารู้สึกสบายใจด้วย ลองเปิดใจพูดคุยถึงปัญหาหรือความรู้สึกของเรา ณ ขณะนี้ให้เพื่อนหรือคนในครอบครัวรับฟัง จะช่วยให้รู้สึกโล่งขึ้น และบางทีอาจได้ไอเดียใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาด้วยเช่นกัน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับวิธีแก้ภาวะหมดไฟในการทำงาน

หมดไฟในการทำงานมีผลอย่างไรต่อด้านจิตใจ?

อาการหมดไฟในการทำงาน หากไม่มีวิธีแก้ที่เหมาะสมและทันท่วงทีอาจส่งผลกระทบต่อด้านอารมณ์และจิตใจ เช่น

  • รู้สึกหดหู่ 
  • มีอาการซึมเศร้า หรือเสี่ยงโรคซึมเศร้า 
  • อารมณ์แปรปรวน 
  • หงุดหงิด โมโหง่าย
  • รู้สึกสิ้นหวัง
  • ไม่พอใจชีวิต
  • นอนไม่หลับ

หมดไฟในการทำงานกับโรคซึมเศร้าเหมือนกันหรือไม่?

ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ จิตใจ ที่เกิดขึ้นจากความเครียดในการทำงานเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคเครียดเรื้อรัง ทำให้รู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์และร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการ ภาวะหมดไฟในการทำงาน หมดไฟในการใช้ชีวิต ขาดแรงจูงใจในการทำงาน เบื่อหน่าย รู้สึกห่างเหินกับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีอารมณ์อยากทำงาน จนทำให้ทำงานได้แย่ลงหรือไม่อยากทำงานอีกเลย

 

ส่วนโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์อิพิเนฟริน และโดปามีน สาเหตุของโรคซึมเศร้าสามารถเกิดจากทางพันธุกรรม เช่น ผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคทางด้านอารมณ์หรือโรคทางจิตเวช จะมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไป และอีกสาเหตุเกิดจากการเลี้ยงดูของครอบครัว สภาพแวดล้อมซึ่งตัวกระตุ้นอาจจะมาจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ จนส่งผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ 

 

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะรู้สึกเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง มีความรู้สึกไม่อยากทำอะไร เบื่อแม้แต่สิ่งที่เคยชอบทำ มีอาการติดต่อกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รู้สึกไร้เรี่ยวแรง หงุดหงิด กระสับกระส่าย กระวนกระวายใจ รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า รู้สึกผิด อ่อนเพลีย มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับ และอาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ซึ่งผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำเป็นต้องได้รับยาและการรักษาจากจิตแพทย์ต่อไป 

 

ปรึกษาจิตแพทย์ นักจิตวิทยา หรือทำแบบประเมินความเครียด Burnout กับพยาบาลแบบไม่มีค่าใช้จ่ายที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง

สรุป หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ควรรีบปรึกษาแพทย์

หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป อาการหมดไฟในการทํางานยิ่งปล่อยไว้ยิ่งแย่ลง เมื่อรู้สึกหมดไฟในการทำงานควรได้รับคำแนะนำและควรมีวิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสม การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายและได้รับวิธีการจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกตัวเองอย่างเหมาะสม

 

ปรึกษาหมอออนไลน์หรือปรึกษาเภสัชกร หรือนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

วชิรญา บุรพธานินทร์

นักจิตวิทยาคลินิก

Abramson, A. (n.d.). Burnout and stress are everywhere. https://www.apa.org. https://www.apa.org/monitor/2022/01/special-burnout-stress

 

Job burnout: How to spot it and take action. (2023, November 30). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/burnout/art-20046642

 

Burnout Syndrome: An occupational phenomenon caused by excessive and prolonged stress | Bangkok Hospital. (n.d.). https://www.bangkokhospital.com/en/content/burnout-syndrome

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคไบโพลาร์กับโรคซึมเศร้าเป็นโรคที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ และได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในปัจจุบัน บางคนที่เราเห็นยิ้มแย้ม อารมณ์ดี แต่ก็อาจจะป่วยด้วยกลุ่มโรคทางจิตเวช ที่เรียกว่า Smiling depression ได้เช่นกัน    ด้วยสังคมปัจจุบันที่มีความเครียดสูง ปัจจ

ทุกวันนี้กลุ่มโรคทางด้านอารมณ์หรือจิตเวชนั้นมีมากมาย เช่น ซึมเศร้าเรื้อรัง, ไบโพลาร์หรือแม้แต่อาการที่คนทั่วไปอาจคาดไม่ถึงอย่างภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือบางคนที่เราเห็นยิ้มแย้ม อารมณ์ดี แต่ก็อาจจะป่วยด้วยกลุ่มโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า Smiling depression