โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

พูดถึงโรคซึมเศร้า เราอาจจะนึกถึงภาพถึงกลุ่มคนในช่วงอายุวัยรุ่น วัยทำงาน ที่ป่วยเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นในช่วงหลังมานี้ แต่มีอีกกลุ่มหนึ่งที่เราอาจไม่ได้นึกถึงว่าอาจเสี่ยงต่อโรคซึมเศร้าได้เช่นกันได้แก่กลุ่มผู้สูงอายุ โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นอันตรายไม่ต่างจากโรคซึมเศร้าในกลุ่มผู้ป่วยที่อายุน้อย เพราะบางทีเราอาจไม่ได้เฝ้าสังเกตอาการหรือพฤติกรรมอย่างใกล้ชิด คิดว่าอาจเป็นนิสัยปกติทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นเพราะความชรา ซึ่งสุดท้ายอาจนำมาซึ่งความสูญเสียได้ มารู้จักโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อาการ วิธีรักษา ดูแล และวิธีป้องกัน

สารบัญบทความ

ทำความรู้จักกับ “โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ” คืออะไร?

ประเทศไทยนับได้ว่าเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) จากข้อมูลสถิติผู้สูงอายุไทย ปี 2563 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่ามีประชากรไทยที่อายุมากกว่า 60 ปี ถึง 12 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 18 ของประชากรทั้งหมด 

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ (Late-life depression : LLD) คือ โรคทางจิตเวชที่มีอาการหลักเป็นอารมณ์เศร้า บางรายอาจพบมีอารมณ์หงุดหงิดที่มากขึ้น โดยภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักพบร่วมกับอาการวิตกกังวล และมักพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย และพบได้สูงในผู้ที่เคยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามาก่อน

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ด้วยอาการทางกาย เช่น ปวดเมื่อยบ่อย น้ำหนักลด นอนไม่หลับ เป็นต้น โดยที่แพทย์มักตรวจไม่พบสาเหตุที่สัมพันธ์กับอาการทางกายที่เป็น หาสาเหตุของอาการได้ไม่แน่ชัดและไม่ตรงไปตรงมา


ปรึกษาจิตแพทย์เรื่องโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ สาเหตุเกิดจากอะไร

ปัจจัยทางชีวภาพ

  • พันธุกรรม
  • อายุมาก
  • เพศหญิง
  • มีโรคประจำตัว 
  • การรับรู้ทางประสาทสัมผัสบกพร่อง เช่น สายตาผิดปกติ หูได้ยินลดลง เป็นต้น
  • ความสามารถทางด้านร่างกายและความจำบกพร่อง
  • ยาที่รับประทาน
  • ติดสารเสพติด

ปัจจัยทางจิตสังคม

  • ความเครียด
  • ปัญหาด้านเศรษฐกิจ รายได้น้อย
  • ขาดแรงสนับสนุนจากสังคม
  • มีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว 
  • การสูญเสีย การเสียชีวิตของบุคคลรอบข้าง โดยเฉพาะการเสียชีวิตของคู่ครอง การสูญเสียตำแหน่งหน้าที่การทำงาน สูญเสียการได้รับการเคารพ 
  • บุคลิกภาพบางอย่าง เช่น ลักษณะย้ำคิดย้ำทำ วิตกกังวล

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ มีอาการอย่างไร

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ อาการ

อาการซึมเศร้าในผู้สูงอายุนั้นอาจแตกต่างออกไปตามแต่ละบุคคล แต่โดยมากแล้วโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมักอาการที่สังเกตได้ดังนี้

  • อ่อนเพลีย 
  • วิตกกังวล
  • นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป 
  • เบื่ออาหารหรือรับประทานมากเกินไป 
  • สมรรถภาพทางเพศลดลง 
  • เคลื่อนไหวช้าลงหรือกระสับกระส่าย 
  • สมาธิลดลง 
  • ความสามารถในการตัดสินใจลดลง 
  • โทษตัวเอง 
  • คิดว่าตนเองไร้ค่า 
  • สิ้นหวังท้อแท้ 
  • คิดอยากตาย พยายามฆ่าตัวตาย
  • แยกตัว ไม่อยากเข้าสังคม ปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นลดลง
  • หลงผิด ประสาทหลอน

 

สังเกตเห็นผู้สูงอายุซึมเศร้า ผู้สูงอายุอารมณ์แปรปรวน อย่าปล่อยไว้! รีบปรึกษาแพทย์เพื่อดูแลอาการ

โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุอันตรายไหม?

โรคซึมเศร้าผู้สูงอายุอาจเป็นโรคอันตรายได้ เพราะหากผู้สูงอายุได้รับการรักษาล่าช้า มักทำให้สมรรถภาพทางกายและใจถดถอยได้อย่างรวดเร็ว ต้องใช้ระยะเวลาในการกลับสู่ภาวะปกติ และทำให้เกิดโอกาสในการกลับมาเป็นโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุซ้ำสูง และมักดื้อต่อการรักษา 

 

โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวร่วมด้วยแล้ว ผลจากโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุจะยิ่งทำให้โรคทางกายเลวร้ายลงได้ เนื่องจากผู้สูงอายุมักไม่ให้ความร่วมมือในการรักษา จึงทำให้การรักษาเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้น และผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร ส่งผลให้อัตราการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นสูงและเพิ่มจำนวนวันในการนอนโรงพยาบาลนานกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้มีโรคซึมเศร้าร่วม

 

นอกจากนี้ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคซึมเศร้า แม้จะมีอัตราการพยายามฆ่าตัวตายต่ำกว่าช่วงวัยทั่วไป แต่มีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จสูงบุคคลใกล้ชิดในครอบครัวจึงต้องระวังเป็นอย่างมาก

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ 

ภาวะซึมเศร้าผู้สูงอายุเบื้องต้นแพทย์จำเป็นต้องสัมภาษณ์ประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจทางระบบประสาท และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเป็นเพื่อแยกโรคอื่น ๆ ออกจากโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุก่อน เนื่องจากในกลุ่มผู้สูงอายุมักมีอาการที่คล้ายคลึงกับโรคอื่น ๆ ได้ เช่น บางรายอาจมีภาวะเกลือแร่ผิดปกติทำให้มีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย เฉี่อยชา เป็นต้น 

 

การวินิจฉัยโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุแพทย์จะใช้อาการในการวินิจฉัยเป็นหลัก โดยอ้างอิงตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคซึมเศร้า DSM-5 Criteria คือ หากคุณมีอาการอย่างน้อย 5 ข้อในทั้งหมด 9 ข้อ โดยต้องมีอาการในข้อที่ 1 หรือ 2 และอาการดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องกันนานเกิน 2 อาทิตย์ และส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต

  1. อารมณ์เศร้า 
  2. สนใจสิ่งที่เคยสนใจลดลง 
  3. น้ำหนักเปลี่ยนแปลง
  4. นอนไม่หลับหรือนอนมากเกินไป 
  5. เคลื่อนไหวช้าลงหรือกระสับกระส่าย 
  6. อ่อนเพลีย
  7. สิ้นหวังท้อแท้
  8. สมาธิแย่ลง
  9. คิดอยากตาย พยายามฆ่าตัวตาย 

 

แบบประเมินเพื่อช่วยในการวินิจฉัย

  • Patient Health Questionnaire 9-item depression scale (PHQ-9) 
  • Thai-Geriatric depression scale (TGDS) เป็นต้น

 

ทำแบบทดสอบโรคซึมเศร้ากับพยาบาลที่แอป BeDee เพื่อคัดกรองโรคเบื้องต้น ไม่มีค่าใช้จ่าย

การรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ 

การรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุอาจใช้วิธีแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคลขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยปกติแล้ววิธีการรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุมีดังนี้

รักษาด้วยจิตบำบัด 

สำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่อาการไม่รุนแรง แพทย์อาจจะใช้วิธีรักษาซึมเศร้าผู้สูงอายุด้วยจิตบำบัดเพียงอย่างเดียว แต่ในผู้ป่วยที่มีระดับความรุนแรงของอาการปานกลาง หรือรุนแรง แพทย์จะรักษาด้วยการใช้จิตบำบัดควบคู่กับการรับประทานยา การรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วยจิตบำบัดนั้นมีทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ จิตบำบัดทางความคิดและพฤติกรรม Cognitive Behavioral Therapy (CBT) พฤติกรรมบำบัด จิตบำบัดระหว่างบุคคล Interpersonal theraphy (IPT) ครอบครัวบำบัด การฝึกทักษะต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น ทักษะการแก้ปัญหา Problem solving therapy (PST) ทักษะการจัดการความเครียด ทักษะการจัดการความโกรธ ทักษะการสื่อสาร เป็นการสร้างเสริมทักษะชีวิต ทั้งนี้สามารถใช้จิตบำบัดร่วมกับการรับประทานยาในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากขึ้นได้

รักษาด้วยยา 

สำหรับคนไข้โรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่มีอาการรุนแรงมากขึ้นแพทย์จะรักษาด้วยยาโรคซึมเศร้าเพื่อปรับสารสื่อประสาทในสมอง ช่วยควบคุมอารมณ์ของผู้ป่วย ในบางรายอาจใช้การรักษาซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วยการพูดคุยร่วมด้วย การเลือกยาจะเลือกตามชนิดของโรคซึมเศร้าที่ผู้ป่วยเป็น สิ่งสำคัญของการรักษาด้วยยาคือผู้ป่วยต้องรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรหยุดยาเองเพราะจะทำให้อาการกำเริบได้

รักษาด้วยไฟฟ้า

การรักษาโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุด้วยไฟฟ้า (Electroconvulsive therapy : ECT) คือการปล่อยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าผ่านศีรษะเพื่อไปกระตุ้นเซลล์สมองผ่านสมองส่วนหน้าซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอาการซึมเศร้าและอาการทางจิตเวช วิธีนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุที่ใช้การรักษาด้วยการพูดคุยและการใช้ยาไม่ได้ผลหรือผู้ป่วยภาวะซึมเศร้าผู้สูงอายุที่มีอาการรุนแรงมากมีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง

ไม่แน่ใจอาการโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุรีบปรึกษา นักจิตวิทยา กับ จิตแพทย์