ยาโรคซึมเศร้า

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

สารบัญบทความ

การดูแลผู้ป่วยกลุ่มจิตเวช ทั้งโรควิตกกังวล, โรคซึมเศร้า หรือ ซึมเศร้าเรื้อรัง และโรคอื่น ๆ ต้องอาศัยการดูแลทั้งทางร่างกายและจิตใจควบคู่กัน ยาต้านเศร้า ถือเป็นทางเลือกสำคัญที่แพทย์พิจารณาใช้ ยาโรคซึมเศร้ามีผลในการแก้ไขและรักษาสมดุลของสารเคมีหรือสารสื่อประสาทในสมอง (neurotransmitter) อาทิ เซโรโทนิน (serotonin, 5-HT) , โดพามีน (dopamine, DA) และ นอร์อิพิเนฟรีน (norepinephrine, NE) ซึ่งสารสื่อประสาทเหล่านี้มีผลต่ออารมณ์ ความคิด ความอยากอาหาร ทำให้ผู้ป่วยมีอาการค่อย ๆ ดีขึ้น

 

โรคซึมเศร้าเป็นโรคที่ต้องใช้เวลาในการรักษาและกินยาปรับสารเคมีในสมอง โดยต้องทานยาซึมเศร้าในระยะหนึ่งจนกว่าจะเริ่มเห็นผล และจำเป็นต้องกินยาซึมเศร้าอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอควบคู่ไปกับการปรึกษาจิตแพทย์ หรือในบางรายอาจเลือกปรึกษานักจิตวิทยากับจิตแพทย์ควบคู่ไปด้วยกัน

 

ปัจจุบันมีกลุ่มโรคทางจิตเวชอื่น ๆ อีกหลายโรคที่หลายคนอาจคิดไม่ถึงว่าอาการเหล่านี้อาจเป็นหนึ่งในโรคทางอารมณ์ได้เช่นกัน เช่น ซึมเศร้าหลังคลอด หรือแม้แต่อาการ Smiling depression

 

รู้จักโรคนี้เพิ่มเติม: Smiling depression คืออะไร

ทำความรู้จักกับยาต้านเศร้า 

ก่อนที่จะรู้จักยาซึมเศร้าจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าผู้ป่วยที่เป็นซึมเศร้ามักจะมีสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองผิดปกติ ดังนั้นยารักษาโรคซึมเศร้า จึงเป็นยาปรับสารเคมีในสมอง ในปัจจุบันแบ่งยาต้านเศร้าได้หลายกลุ่มตามกลไกการออกฤทธิ์ ซึ่งยาซึมเศร้าแต่ละกลุ่มมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน การเลือกใช้ยาซึมเศร้าขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ และในผู้ป่วยบางรายอาจจำเป็นต้องได้ยาหลายชนิดร่วมกัน

ประเภทและกลไกการออกฤทธิ์ของยาซึมเศร้า

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

ยาโรคซึมเศร้า มีอะไรบ้าง? เมื่อแบ่งยาต้านซึมเศร้าตามกลไกการออกฤทธิ์ สามารถแบ่งกลุ่มยารักษาซึมเศร้าได้ดังนี้

ยาต้านเศร้ากลุ่ม SSRIs (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors)

ยาซึมเศร้าในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการดูดซึมซีโรโตนินกลับเข้าเซลล์ (serotonin reuptake inhibitor: SSRI) ทำให้ซีโรโตนินเพิ่มขึ้นบริเวณส่วนต่อระหว่างเซลล์ประสาท

ยาต้านเศร้ากลุ่ม SNRIs (Serotonin and Norepinephrine Reuptake Inhibitors)

ยากลุ่ม SNRIs ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการดูดซึมซีโรโตนิน และนอร์อิพิเนพฟรีนกลับเข้าเซลล์ ทำให้ซีโรโตนินและนอร์อิพิเนพฟรีนเพิ่มขึ้นบริเวณส่วนต่อระหว่างเซลล์ประสาท

ยาต้านเศร้ากลุ่ม TCA (Tricyclic antidepressant)

ยารักษาอาการซึมเศร้าในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ลดอาการซึมเศร้าโดยการไปเพิ่มระดับ ของ norepinephrine (NE) และ serotonin (5-HT) ในสมองจากการที่ยาไปยับยั้งการดูดซึมกลับเข้าเซลล์ของสารสื่อประสาทได้แก่ NE และ 5-HT กลับเข้าไปในปลายประสาท และจากการที่ยาไปยับยั้ง presynaptic alpha-2 adrenoceptors ยาในกลุ่ม TCAs จะเห็นผลรักษาอารมณ์เศร้าเมื่อใช้ยาไปแล้วนาน 2-3 สัปดาห์

ยาต้านเศร้ากลุ่ม MAOI (Monoamine oxidase inhibitor) 

ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ monoamine oxidase (MAO) ทำให้การเมแทบอลิซึมของ norepinephrine, dopamine และ serotonin ลดลง ทำให้ความเข้มข้นของสารสื่อประสาทเหล่านี้ภายนอกเซลลม์มีมากขึ้น เช่น Moclobemide ในปัจจุบันยาซึมเศร้ากลุ่มนี้ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากอาจส่งผลกับยาตัวอื่นที่มีผลในการเพิ่มระดับซีโรโทนิน โดยเฉพาะการได้ร่วมกับยากลุ่ม SSRIs ส่งผลให้เกิดภาวะ serotonin syndrome อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ดังนั้นหากมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนยาต้านเศร้าจากกลุ่ม MAOIs เป็น SSRIs ต้องหยุดยาต้านเศร้าในกลุ่ม MAOIs อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อน ถึงจะเริ่มใช้ SSRIs ยากลุ่ม MAOIs 

 

 

 

ต้องการปรึกษาเรื่องการใช้ยาซึมเศร้า ผลข้างเคียงยาซึมเศร้า ปรึกษาเภสัชกร ไม่มีค่าใช้จ่าย

ยาต้านเศร้าช่วยรักษาอาการเศร้าได้อย่างไร

ยาแก้ซึมเศร้า กลไกการทำงาน

ยาต้านซึมเศร้ามีผลเพิ่มระดับสารสื่อประสาท (neurotransmitter) พวกซีโรโตนิน นอร์อิพิเนฟฟรีน  ซึ่งมีความสัมพันธ์กับอารมณ์และความรู้สึก นอกจากนี้ neurotransmitter ดังกล่าวยังมีผลต่อการส่งสัญญาณประสาทของระบบความเจ็บปวด (pain signal) จากเส้นประสาท ยาโรคซึมเศร้าจึงสามารถใช้ในการรักษาอาการปวดแบบเรื้อรังได้ด้วยเช่นกัน การใช้ยาซึมเศร้าเพื่อปรับสมดุลของสารสื่อประสาทในสมองนั้นจำเป็นต้องใช้ระยะเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ถึงจะเริ่มเห็นผล ดังนั้นผู้ที่กินยาปรับอารมณ์จำเป็นต้องกินยาต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ไม่ลดขนาดยาเองในช่วงแรก และจำเป็นต้องเข้าใจในหลักการนี้ แต่หากกินยาไปแล้ว 4 สัปดาห์ ยังรู้สึกว่าอาการไม่ดีขึ้น ให้กลับไปพบแพทย์ตามนัดและแจ้งแพทย์ทราบ เพื่อพิจารณาปรับเปลี่ยนการรักษาให้เหมาะสม

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาต้านเศร้า

ผลข้างเคียงยาซึมเศร้าที่พบได้มักจะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของการกินยา แล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น อาการข้างเคียงที่เกิดขึ้นจะแตกต่างกันตามกลุ่มยาปรับสารเคมีในสมอง โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ 

 

  • ยากลุ่ม SSRIs และ SNRIs 

อาการข้างเคียงที่สำคัญ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน แน่นท้อง ท้องเสีย เบื่ออาหาร ปากแห้ง ปวดหัว นอนไม่หลับหรือง่วงซึม เหงื่อออก กระสับกระส่าย สมรรถภาพทางเพศแย่ลง หรืออาจทำให้เกิดอาการ สับสน มือสั่น กล้ามเนื้อกระตุก เดินเซ เหงื่อแตก และท้องเสีย ควรหยุดยาและพบแพทย์ทันที ในระหว่างการรักษาอาจมีความคิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์โดยด่วน 

 

นอกจากนี้ควรระมัดระวังการใช้ยาในกลุ่ม SSRIs และ SNRIs ร่วมกับยาอื่น โดยเฉพาะการได้ร่วมกับยาที่มีผลระดับ serotonin เช่น การได้ SSRI, SNRI ร่วมกัน หรือการได้ร่วมกับยากลุ่ม MAOIs ส่งผลให้เกิดภาวะ serotonin syndrome ส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้ 

 

  • ยากลุ่ม TCA

อาการข้างเคียงของยาต้านเศร้าในระยะแรก ได้แก่ ง่วง อ่อนเพลีย เจริญอาหารหรือเบื่ออาหาร ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่ามัว ปัสสาวะคั่ง หัวใจเต้นเร็ว สับสน น้ำหนักเพิ่มขึ้น อาการเหล่านี้ส่วนใหญ่ไม่อันตรายและสามารถหายไปได้เอง เนื่องจากยานี้มีผลต่อระดับความรู้สึก จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ การทำงานกับเครื่องจักรกลที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขณะใช้ยา

 

ยาปรับอารมณ์ซึมเศร้าอาจส่งผลต่อแต่ร่างกายแต่ละคนแตกต่างกันออกไป ปรึกษาเภสัชกรเพิ่มเติม ไม่มีค่าใช้จ่าย

ข้อควรทราบเกี่ยวกับยารักษาอาการซึมเศร้า

ไม่ควรหยุดยาโรคซึมเศร้าเอง
  1. ยาปรับอารมณ์ซึมเศร้ามีหลายกลุ่ม โดยยาแต่ละกลุ่มมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน การเลือกใช้ยานั้น แพทย์จะเลือกยาให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย ดังนั้นการกินยาต้านซึมเศร้าแนะนำให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด 
  2. โรคซึมเศร้ากินยานานแค่ไหน ? โดยทั่วไปแล้วการกินยาต้านเศร้า ต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์ ถึงจะเริ่มเห็นผล ดังนั้นไม่ต้องตกใจ หรือไม่ต้องกังวลว่ากินยาแล้วไม่ได้ผล 
  3. ผลข้างเคียงยาซึมเศร้าที่พบได้จากการกินยาต้านซึมเศร้า มักจะเกิดขึ้นในช่วง 1-2 สัปดาห์แรกของการกินยา แล้วอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น ดังนั้นไม่ควรหยุดยาหรือลดยาเอง 
  4. ยาบางตัว ทำให้มีอาการง่วง จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ การทำงานกับเครื่องจักรกลที่อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ขณะใช้ยา 
  5. แนะนำให้กินยาต่อเนื่องสม่ำเสมอ และมาพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามการรักษา

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาซึมเศร้า

1. ยาซึมเศร้าต้องรับประทานนานแค่ไหน?

ระยะเวลาของการกินยาต้านเศร้าของแต่ละบุคคลมีความแตกต่างกัน ขึ้นกับการตอบสนองของการรักษา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะเป็นผู้พิจารณาในการปรับยา โดยหากผู้ป่วยคุมอาการได้แล้ว แพทย์จะพิจารณาค่อย ๆลดขนาดยาลงมาก่อน แล้วจึงหยุดยา

2. ยาซึมเศร้าสามารถหยุดทานยาเองได้หรือไม่?

ไม่แนะนำให้หยุดกินยาต้านเศร้าเอง เนื่องจากการหยุดยาต้านเศร้าต้องอาศัยการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าสามารถคุมโรคได้ก่อน การหยุดยาเองอาจส่งผลให้ผู้ป่วยควบคุมโรคไม่ได้ หรือ อาจกลับมาเป็นซ้ำได้

3. หากมีอาการซึมเศร้าสามารถซื้อยาต้านเศร้าทานเองได้หรือไม่?

ไม่แนะนำให้ซื้อยาต้านซึมเศร้ามาทานเอง เนื่องจากโรคซึมเศร้าต้องผ่านการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางก่อนว่าผู้ป่วยมีภาวะซึมเศร้าจริงจึงจะเริ่มใช้ยา และการเลือกใช้ยาก็ต้องอาศัยการวินิจฉัยของแพทย์ในการเลือกชนิดยาให้เหมาะกับแต่ละบุคคล และต้องดูปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อความปลอดภัยสูงสุดในการใช้ยา

ยาที่กินร่วมกับยาต้านซึมเศร้าแล้วทำให้เกิด Serotonin syndrome มีอะไรบ้าง? 

  1. การกินยาต้านซึมเศร้า กลุ่ม MAOIs ร่วมกับยากลุ่ม SSRIs หรือ SNRIs หากจำเป็นต้องเปลี่ยนจากยา MAOIs เป็น SSRIs แนะนำให้เริ่มยากลุ่ม SSRIs หลังจากหยุดยา MAOIs ไปแล้วอย่างน้อย 14 วัน 
  2. ยาอื่น ๆ ที่มีผลเพิ่มระดับซีโรโทนิน เช่น meperidine เป็นต้น

** ดังนั้น การกินยาต้านซึมเศร้าควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างใกล้ชิด **

สรุปยารักษาซึมเศร้า ควรทานต่อเนื่อง ไม่แน่ใจควรรีบปรึกษาแพทย์

ยาปรับสารเคมีในสมอง

ยาปรับอารมณ์เพื่อใช้ในการรักษาอาการซึมเศร้ามีหลายกลุ่ม ล้วนแล้วมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคได้ไม่แตกต่างกันขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ผู้ชำนาญการ ดังนั้นผู้ที่ภาวะซึมเศร้าควรทานยาต่อเนื่องสม่ำเสมอเพื่อให้คุมอาการของโรคได้ 

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิกและเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

ภญ.วุฒิรัต ธรรมวุฒิ

เภสัชกร

  1. Website, N. (2022, February 18). Overview – Antidepressants. nhs.uk. https://www.nhs.uk/mental-health/talking-therapies-medicine-treatments/medicines-and-psychiatry/antidepressants/overview/

     

  2. Fluoxetine: Adverse Drug Reaction. (2023). IBM Micromedex (College of DuPage Library ed.). Retrieved December 6, 2023.

  1. Website, N. (2022b, March 10). Cautions – antidepressants. nhs.uk. https://www.nhs.uk/mental-health/talking-therapies-medicine-treatments/medicines-and-psychiatry/antidepressants/considerations/

     

  2. รัศมี ลีประไพวงษ์ คู่มือการใช้ยารักษาโรคทางจิตเวช สําหรับเภสัชกร ห้องยาจิตเวช ผู้ป่วยนอก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. Retrieved from: https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/917.

สรุปยาโรคซึมเศร้าที่มีในประเทศไทย

กลุ่มยา
กลไกการออกฤทธิ์
ชื่อยา
อาการข้างเคียง
1. SSRIs (Selective Serotonin Reuptake Inhibitors)
ยับยั้งการดูดซึมซีโรโตนิน กลับเข้าเซลล์ (serotonin reuptake inhibitor: SSRI) ทำให้ซีโรโตนินเพิ่มขึ้นบริเวณส่วนต่อระหว่างเซลล์ประสาท
  • Fluoxetine
  • Sertraline
  • Citalopram
  • Escitalopram
  • Fluvoxamine
  • Paroxetine
ความต้องการทางเพศลดลง ปวดศรีษะ นอนไม่หลับ สั่น กระตุก
2. SNRIs (Serotonin and Norepinephrine Reuptake Inhibitors)
ยับยั้งการดูดซึมซีโรโตนิน และนอร์อิพิเนพฟรีนกลับเข้าเซลล์ ทำให้ซีโรโตนินและนอร์อิพิเนพฟรีนเพิ่มขึ้นบริเวณส่วนต่อระหว่างเซลล์ประสาท
  • Duloxetine
  • Desvenlafaxine
  • Venlafaxine
เหงื่อออกมากผิดปกติ ปากแห้ง หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ท้องผูก ภาวะเลือดออกผิดปกติ
3. TCA (Tricyclic antidepressant)
ยับยั้งการดูดซึมกลับเข้าเซลล์ reuptake ของสารสื่อประสาทได้แก่ ซึมซีโรโตนิน และนอร์อิพิเนพฟรีน กลับเข้าไปในปลายประสาทที่ presynaptic alpha-2 adrenoceptors
  • Amitriptyline
  • Clomipramine
  • Imipramine
  • Nortriptyline
ปากแห้ง คอแห้ง ตาพร่ามัว ปัสสาวะคั่ง หัวใจเต้นเร็ว สับสน น้ำหนักเพิ่มขึ้น
4. Atypical antidepressant
กลไกการออกฤทธิ์แตกต่างกันตามชนิดของยา
  • Trazodone
  • Mirtazapine
  • Vortioxetine
  • Bupropion
  • Agomelatine
  • Tianeptine
- ชัก (Bupropion)   
- ความดันต่ำขณะเปลี่ยนท่าทาง วิงเวียน ง่วงนอน (trazodone)
5. MAOI (Monoamine oxidase inhibitor)
ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ monoamine oxidase (MAO) ทำให้การเมแทบอลิซึมของ norepinephrine, dopamine และ serotonin ลดลง ทำให้ความเข้มข้นของสารสื่อประสาทเหล่านี้ภายนอกเซลล์มากขึ้น
  • Moclobemide
ระวังการเกิด serotonin syndrome หากได้ร่วมกับยากลุ่ม SSRI

ยาโรคซึมเศร้ากลุ่ม Atypical antidepressant 

ยารักษาซึมเศร้ากลุ่ม Atypical antidepressant เป็นยาต้านซึมเศร้ากลุ่มใหม่ ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์จะแตกต่างกันไป อาทิ 

  • Trazodone ออกฤทธิ์ลดอาการซึมเศร้า โดยมีฤทธิ์อย่างอ่อนในการยับยั้งการดูดซึมของสารสื่อประสาท serotonin กลับเข้าเซลล์ประสาทและมี ฤทธิ์เป็น norepinephrine (NE) antagonist ยามีฤทธิ์ง่วงนอน จึงเหมาะสำหรับใช้ในผู้ป่วยซึมเศร้าที่มีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย 
  • Reboxetine ออกฤทธิ์ลดอาการซึมเศร้าโดยยับยั้งการดูดซึมของสารสื่อประสาท norepinephrine (NE) กลับเข้าเซลล์ประสาท ทำให้มี norepinephrine ใน synaptic cleft เพิ่มขึ้น
  • Bupropion ออกฤทธิ์โดยยับยั้งการดูดซึมของสารสื่อประสาท norepinephrine (NE) และ dopamine กลับเข้าไปในปลายประสาท ผลข้างเคียงยาซึมเศร้า bupropion คือ อาการชัก จึงห้ามใช้ยาในผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชัก
บทความที่เกี่ยวข้อง

ผื่นคัน เป็นความรู้สึกระคายเคืองบริเวณผิว อาจเป็นผลมาจากความผิดปกติของผิวหนัง เนื่องจากปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ผิวหนังของเราเกิดการระคายเคืองได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากมลภาวะ, แมลง, การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ รวมถึงสารเคมีต่าง ๆ ที่เต็มไปด

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง ปัญหาการนอนไม่หลับพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาโรคเครียด,