นอนไม่หลับ

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการแนะนำเบื้องต้น โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง

อาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก ปัญหายอดฮิตที่เราพบมากขึ้นในทุกวันนี้ ด้วยสภาพแวดล้อม การทำงาน รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจส่งผลทั้งทางด้านสภาพร่างกายและจิตใจจึงทำให้เกิดการนอนไม่หลับ บางคนนอนหลับยาก นอนแล้วสะดุ้งตื่นกลางดึก ทำให้รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลาในตอนกลางวัน ซึ่งอาการนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างยิ่ง และยังส่งผลต่อสุขภาพด้วย ปัจจุบันมีแอปพลิเคชันปรึกษาหมอออนไลน์ ให้คำปรึกษาเรื่องโรคนอนไม่หลับ เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่เข้ามาช่วยผู้ป่วย

สารบัญบทความ

นอนไม่หลับ (Insomnia) คืออะไร

อาการนอนไม่หลับรูปแบบต่างๆ

  • นอนหลับยาก ต้องใช้ระยะเวลานานเกินสามสิบนาทีถึงจะหลับได้
  • หลับ ๆ ตื่น ๆ ตลอดคืนโดยตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อใช้เวลามากกว่า 30 นาที เมื่อมีอาการดังกล่าวจะทำให้รู้สึกเหมือนไม่ได้นอนตลอดทั้งคืน 
  • ตื่นเช้าก่อนเวลาที่จะต้องการตื่นจริง

ผลเสียของการนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับนอกจากจะทำให้รำคาญใจเมื่อถึงเวลาที่ต้องนอนหลับพักผ่อนแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันในหลาย ๆ ด้านได้ดังนี้

  • รู้สึกเหนื่อย อ่อนแรงในตอนกลางวัน 
  • ง่วงนอนระหว่างวันตลอดเวลาไม่สดชื่น 
  • สมาธิ ความจำแย่ลง การจดจำแย่ลง
  • มีปัญหาทางด้านอารมณ์ รู้สึกหงุดหงิด วิตกกังวล
  • ปวดศีรษะ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร 
  • เสี่ยงต่อโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคอ้วน
  • เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เช่น ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หัวใจวาย
  • เสี่ยงต่อโรคทางจิตใจ เช่น โรคซึมเศร้า มีความคิดอยากตาย 
  • อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
  • มีปัญหาในการเข้าสังคม การทำงาน และการเรียน
  • มีปัญหาพฤติกรรม เช่น อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว
  • ไม่มีแรงจูงใจในการใช้ชีวิต
  • มีความกังวลเกี่ยวกับการนอนหลับ

สาเหตุของการนอนไม่หลับ

นอนไม่หลับเกิดจากอะไร

สาเหตุของการนอนไม่หลับนั้นสามารถแบ่งตามปัจจัยต่าง ๆ ได้ดังนี้

ปัญหาทางด้านร่างกาย 

  • อาการนอนไม่หลับที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในวัยรุ่นทำให้รูปแบบการนอนเปลี่ยนไป
  • มีอาการกรดไหลย้อน 
  • มีอาการเจ็บปวด เช่น ปวดท้อง ปวดตามเนื้อตัวทำให้นอนไม่หลับ
  • หยุดหายใจขณะหลับ 
  • ดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่ ทำให้นอนหลับยาก

ปัญหาด้านพฤติกรรม

  • ใช้เวลาทำกิจกรรมบนที่นอน ที่ไม่ใช่การนอนหลับหรือ Sex มากเกินไป
  • การนอนกลางวัน

ปัญหาทางด้านจิตใจ และความคิด

ปัญหาด้านสภาพแวดล้อม

  • มีแสงสว่างหรือเสียงที่รบกวนการนอนหลับ
  • อุณหภูมิห้องสูง 
  • การทำงานที่ต้องปรับเปลี่ยนเวลานอนตลอดเวลา

อาการนอนไม่หลับแบบไหนจึงควรพบจิตแพทย์

นอนไม่หลับแบบไหนควรพบแพทย์

หากมีอาการนอนไม่หลับจนทำให้เกิดผลกระทบดังนี้ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์โดยด่วน 

  • มีอาการนอนไม่หลับ นอนหลับแล้วสะดุ้งตื่นกลางดึก นอนแล้วกระตุก ติดต่อกันอย่างน้อย 3 วัน/ สัปดาห์ เป็นระยะเวลาตั้งแต่ 1 เดือนขึ้นไป
  • รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลาไม่สดชื่นในตอนกลางวัน ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น
  • สมาธิ ความจำ แย่ลง อารมณ์และจิตใจขุ่นหมอง ไม่สดใส กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียน การทำงาน

การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง (Chronic Insomnia Disorder)

ผู้ป่วยที่มีอาการนอนไม่หลับ (Insomnia) ทุกรายไม่ได้จำเป็นต้องเป็นโรคนอนไม่หลับเสมอไป การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับอาศัยการสัมภาษณ์ประวัติโดยแพทย์โดยประวัติที่ได้อาจมาจาก ผู้ป่วยหรือญาติ

โดยเกณฑ์การวินิจฉัยโรคนอนไม่หลับเรื้อรังในปัจจุบันอาศัยเกณฑ์ The International Classification of Sleep Disorders 3rd version จัดทำโดยสมาคมวิชาชีพด้านการแพทย์เฉพาะทางด้านยานอนหลับของสหรัฐอเมริกา มีดังนี้

  1. ผู้ป่วยหรือญาติรายงานปัญหาการนอนหนึ่งในข้อต่อไปนี้
  • มีปัญหาเข้านอนยากในช่วงแรก
  • มีความลำบากในการนอนอย่างต่อเนื่อง
  • ตื่นเร็วกว่าที่ตั้งใจ
  • ในกรณีของเด็กจะปฏิเสธการเข้านอนตามเวลาที่กำหนด
  • ในกรณีของเด็กมีการเข้านอนหลับยากถ้าไม่มีผู้ดูแลคอยช่วยเหลือ

  1. ผู้ป่วยหรือญาติรายงานอาการระหว่างวันข้อใดต่อไปนี้
  • เหนื่อยล้า
  • สมาธิ ความจำแย่ลง
  • มีปัญหาในการเข้าสังคม การงาน และ การเรียน
  • มีปัญหาอารมณ์แปรปรวน หรือ หงุดหงิด
  • ง่วงนอนระหว่างวัน
  • มีปัญหาพฤติกรรม เช่น อยู่ไม่นิ่ง หุนหันพลันแล่น ก้าวร้าว
  • ขาดพลังงานในการใช้ชีวิต
  • ผิดพลาดหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
  • มีความกังวลหรือไม่พอใจเกี่ยวกับการนอน

  1. ภาวะที่เป็นไม่ได้เกิดจากโอกาสในการนอนที่ไม่เพียงพอ หรือ สภาพแวดล้อมการนอนที่ไม่เหมาะสม
  2. ปัญหาการนอนและอาการระหว่างวันเกิดขึ้นอย่างน้อย 3 ครั้ง / สัปดาห์
  3. ปัญหาการนอนและอาการระหว่างวันเกิดขึ้นอย่างน้อย 3 เดือน
  4. อาการที่เกิดขึ้นไม่สามารถอธิบายจากโรคความผิดปกติในการนอนหลับชนิดอื่น

การรักษาโรคนอนไม่หลับ

โรคนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายสาเหตุ ก่อนรักษาด้วยการใช้ยาและไม่ใช้ยา ควรพบแพทย์เพื่อสาเหตุที่แท้จริงก่อนการรักษา สาเหตุที่พบบ่อยได้แก่ โรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรคไบโพลาร์ และสาเหตุจากโรคทางกาย เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ปวดเรื้อรัง ปัญหาการใช้สารเสพติด เป็นต้น

รักษาโรคนอนไม่หลับโดยไม่ใช้ยา

สำหรับการรักษาโรคนอนไม่หลับโดยการไม่ใช้ยานั้น แพทย์จะเน้นการทำกิจกรรมบำบัดด้านพฤติกรรม เช่น 

  • สุขอนามัยในการนอนหลับ
    • หลีกเลี่ยงการใช้สารกระตุ้นระหว่างวัน หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์
    • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 
    • ใช้เวลาผ่อนคลายอย่างน้อย 1 ชั่วโมงก่อนเข้านอน 
    • จัดห้องนอนให้ เงียบ เย็น และ มืดสนิท 
    • เข้านอนและตื่นนอนตรงเวลาสม่ำเสมอ
  • เทคนิคผ่อนคลายความเครียด เช่น การฝึกหายใจเข้าออก การใช้จินตภาพบำบัด 
  • การรักษาโรคนอนไม่หลับด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการนอน (Cognitive Behavioral Therapy for insomnia) เป็นการรักษาที่เป็นมาตรฐานโดยผู้เชี่ยวชาญใน

รักษาโรคนอนไม่หลับโดยใช้ยา

 

การรักษาด้วยการใช้ยาตามมาตรฐานแนะนำให้รักษาด้วยวิธี Cognitive Behavioral Therapy for Insomnia (CBT-I)  คือ การบำบัดรักษาโรคนอนไม่หลับด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการนอน เพิ่มทักษะของการผ่อนคลายก่อน หากพบว่าวิธีดังกล่าวไม่ได้ผลจึงค่อยรักษาด้วยยา ข้อควรระวังคือไม่ควรใช้ยาติดต่อกันนานเกิน 4 อาทิตย์ ซึ่งกลุ่มยาที่ใช้รักษาอาการนอนไม่หลับสามารถแบ่งเป็นกลุ่มดังนี้ 

 

*การรักษาด้วยยาต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนทุกครั้ง 

 

 

  1. Benzodiazepine เป็นกลุ่มยาที่ใช้บ่อยในการรักษา มีทั้งกลุ่มที่ออกฤทธิ์สั้นและยาว สำหรับยาที่ออกฤทธิ์สั้นได้แก่ Lorazepam เหมาะกับผู้ที่มีปัญหาเข้านอนยากในช่วงแรก ส่วนยาที่ออกฤทธิ์ยาว ได้แก่ Diazepam Clonazepam และ Clorazepate เหมาะกับผู้ที่มีปัญหานอนหลับไม่สนิทตื่นกลางดึก ส่วนยาที่ควรใช้อย่างระมัดระวังเนื่องจากมีโอกาสเสพติดได้ง่าย ได้แก่ Midazolam และ Alprazolam

โดยการใช้ยากลุ่มนี้ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากอาจมีปัญหาผลข้างเคียงเกิดขึ้นได้แก่ ง่วงซึมช่วงตื่น เดินเซ อ่อนเพลีย ความจำแย่ลง มีอาการสับสนเพิ่มขึ้น และ เกิดปัญหานอนไม่หลับมากขึ้นหลังจากหยุดยา

 

 

  1. Non-Benzodiazepine หรือยา Zolpidem เป็นยาที่ออกฤทธิ์ไว และหมดฤทธิ์เร็ว จึงมักไม่มีปัญหาง่วงนอนช่วงตื่น แต่ผลข้างเคียงที่สามารถพบได้ คือ ง่วงซึม เดินเซ และอาจมีปัญหาพฤติกรรมผิดแปลกมากขึ้นที่สัมพันธ์กับช่วงที่นอนหลับ
     
  1. Orexin Receptor antagonist ยากลุ่มนี้เป็นยาชนิดใหม่ ในประเทศไทยมียาชื่อ Lemborexant โดยข้อดีของยากลุ่มนี้มีการศึกษาว่า ผู้ป่วยสูงอายุรับประทานแล้วมีปัญหาด้านความจำน้อย และสามารถปลุกให้ตื่นได้ง่าย แต่ข้อจำกัดคือราคายาที่ค่อนข้างสูง

  1. Melatonin ยากลุ่มนี้มีชื่อว่า Circadin เหมาะสำหรับผู้ป่วยสูงอายุเนื่องจากมีผลข้างเคียงที่พบได้น้อย

  1. Sedating Antidepressant เป็นยาต้านเศร้าที่มีฤทธิ์ช่วยนอนหลับ ได้แก่ Trazodone, Mirtazapine,  Doxepin และ  Amitryptyline
     
  1. Antihistamine คือกลุ่มของยาแก้แพ้ ได้แก่ CPM หรือ ยา Hydroxyzine โดยยากลุ่มนี้อาจมีผลข้างเคียงในแง่ความจำ และไม่เหมาะกับการใช้ในผู้ป่วยสูงอายุ
     
  1. ยาต้านโรคจิต เช่น Quetiapine และ Olanzapine

การป้องกันโรคนอนไม่หลับ

เทคนิคป้องกันโรคนอนไม่หลับเหล่านี้สามารถทำได้ทั้งผู้ที่ยังไม่มีปัญหาการนอนหลับ และผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับแต่ยังไม่อยากพบแพทย์ได้แก่

  1. ตื่นนอนและเข้านอนให้เป็นเวลา ไม่ควรเปลี่ยนเวลาเข้านอนหรือตื่นไปมา โดยเวลาการเข้านอนขึ้นกับนาฬิกาชีวิตของแต่ละบุคคล
  2. ห้ามใช้เตียงนอนในการทำกิจกรรมอื่น นอกจากการนอนหลับและกิจกรรมทางเพศ เช่น ห้ามดูโทรทัศน์ รับประทานอาหาร พูดคุยโทรศัพท์ เล่นคอมพิวเตอร์ อ่านหนังสือ และ คิดกังวล
  3. หากิจกรรมที่เงียบสงบที่ทำแล้วจะรู้สึกผ่อนคลายก่อนที่จะเข้านอนประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อเตรียมพร้อมร่างกายให้สงบลงก่อนที่จะเข้านอน เช่น อ่านหนังสือธรรมะ นั่งสมาธิ ฟังเพลงผ่อนคลาย อ่านตำราเรียน 
  4. หากนอนไม่หลับหลังจากเข้านอนมากกว่า 20 นาทีไม่ควรบังคับตัวเองให้พยายามนอนต่อ ควรลุกขึ้นมาทำกิจกรรมที่จะทำให้สงบผ่อนคลายในข้อ 3
  5. ปรับอุณหภูมิห้องและแสงสว่างให้พอดีกับการนอน ห้องนอนควรมืดสนิท ไม่มีแสงและเสียงเข้ามารบกวน 
  6. ไม่ควรวางนาฬิกาไว้ในห้องนอน และควรหลีกเลี่ยงการดูนาฬิกาจากโทรศัพท์ เนื่องจากการดูนาฬิกาจะยิ่งทำให้เกิดความกังวลว่าทำไมยังนอนไม่หลับ ซึ่งจะส่งผลให้นอนไม่หลับยิ่งขึ้น 
  7. ใช้กลิ่นในการบำบัดผ่อนคลาย เช่น กลิ่นลาเวนเดอร์ 
  8.  งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนผสมหลังเที่ยง เช่น น้ำชา ชาเขียว ช็อคโกแลต โค้ก
  9. งดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ ถึงแม้ว่าจะช่วยให้หลับดีขึ้นแต่เมื่อหลับไปแล้วมักกระตุ้นให้เกิดการตื่นได้บ่อยช่วงกลางคืน
  10. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแต่หลีกเลี่ยงการออกช่วงก่อนเข้านอน 
  11. ไม่ควรงีบระหว่างวันเกิน 30 นาทีและ ไม่ควรงีบหลังเวลา 15.00 น

สรุปเรื่องนอนไม่หลับ

อาการนอนไม่หลับอาจฟังดูไม่ใช่ปัญหาใหญ่แต่เป็นเรื่องที่รบกวนการใช้ชีวิตและส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก เสมือนภัยเงียบที่ค่อย ๆ ทำลายสุขภาพกายและสุขภาพใจของเราไปเรื่อย ๆ การนอนไม่หลับอันตรายกว่าที่เราคิด หากมีอาการนอนไม่หลับควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน 

 

 

 

Content powered by BeDee’s experts 

นพ.อภิชาญ แดงรุ่งโรจน์

จิตแพทย์ทั่วไป

  1. Sateia M. J. (2014). International classification of sleep disorders-third edition: highlights and modifications. Chest146(5), 1387–1394. https://doi.org/10.1378/chest.14-0970
  2. RIEMANN, D. (n.d.). European guideline for the diagnosis and treatment of insomnia. Journal of Sleep Research26(6). doi:10.1111/jsr.12594
  3. Kilduff, T.S., & Mendelson, W.B. (2017). Chapter 41 – Hypnotic Medications: Mechanisms of Action and Pharmacologic Effects.
  4. Chan, N. Y., Chan, J. W. Y., Li, S. X., & Wing, Y. K. (2021). Non-pharmacological Approaches for Management of Insomnia. Neurotherapeutics : the journal of the American Society for Experimental NeuroTherapeutics18(1), 32–43. https://doi.org/10.1007/s13311-021-01029-2
  5. Hershner, S. (2021). Retrieved from https://sleepeducation.org/healthy-sleep/healthy-sleep-habits/

รักษาโรคนอนไม่หลับที่ไหนดี

รักษาอาการนอนไม่หลับ

BeDee มีทีมจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง เลือกคุยกับผู้เชี่ยวชาญตามเวลาที่คุณสะดวก ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจากเครือ BDMS พร้อมช่วยเหลือคุณทุกวัน สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

บทความที่เกี่ยวข้อง

เสี่ยง สงสัย โรคซึมเศร้า, โรคเครียด, โรควิตกกังวล, นอนไม่หลับ, หยุดคิดไม่ได้ หรือมีปัญหาสุขภาพใจอื่น ๆ ห้ามปล่อยไว้ !    ปัจจุบันสังคมหันมาให้ความสำคัญกับการปรึกษาจิตแพทย์มากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สะท้อนได้ว่ามีผู้ป่วยทางด้านจิตใจ เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เ

คุณอาจเคยได้ยินถึงอาการแพนิคกันมาบ้างไม่มากก็น้อยว่าเป็นอาการตื่นตระหนกกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่อาจไม่ได้เป็นอันตรายต่อคนทั่วไป แต่ผู้ที่มีอาการแพนิคจะรู้สึกว่าสิ่งนั้นเป็นอันตรายกับตนเอง อาการนี้สามารถรักษาได้หากมีการปฏิบัติตนอย่างเหมาะสม ในบทความนี้ B