มีพบก็ต้องมีจาก… การสูญเสียบุคคลหรือสิ่งที่รัก เช่น บุคคลที่เรารัก หรือสัตว์เลี้ยง เมื่อถึงเวลาหนึ่งเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องพบเจอเป็นเรื่องธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดอยู่กับเราได้ตลอดไป แม้แต่ตัวเราเองก็ตาม แต่การสูญเสียส่งผลกระทบต่อจิตใจไม่น้อย โดยเฉพาะการสู
นักจิตวิทยากับจิตแพทย์ เมื่อมีปัญหาสุขภาพจิตจะเลือกคุยกับใครดีนะ?
ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวทำให้เรามีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยทางจิตเวชมากมายโดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น โรคเครียด, นอนไม่หลับ หรือแม้แต่โรคซึมเศร้า ก็ดูจะใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด ทุกวันนี้เรามีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาทางด้านจิตเวชมากมาย ทั้งนักจิตวิทยา กับ จิตแพทย์ คำถาม คือ เมื่อเรามีปัญหาสุขภาพใจเราควรเลือกคุยกับนักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ดี ทั้ง 2 วิชาชีพนี้แตกต่างกันอย่างไร
นักจิตวิทยากับจิตแพทย์ คือใคร? ทำงานเหมือนกันไหม?
จิตแพทย์ กับ นักจิตวิทยา ต่างกันอย่างไรเป็นคำถามยอดฮิตของหลายคน เนื่องจากทั้ง 2 อาชีพนี้มีความใกล้เคียงกันมาก
นักจิตวิทยา (Psychologist) คือ ผู้ที่ศึกษาจบในหลักสูตรด้านจิตวิทยา ซึ่งเป็นการศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรม จิตใจ ความคิด ระบบความคิด และสิ่งแวดล้อมทางสังคมของมนุษย์ ซึ่งหลังจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้วจำเป็นต้องเข้ารับการฝึกอบรมเพิ่มเติมในหลักสูตรการฝึกปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิกในกรณีที่ต้องการให้คำปรึกษาผู้ป่วยในฐานะนักจิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychologist) จากนั้นต้องผ่านการสอบเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิก จึงจะสามารถดูแล ให้คำปรึกษากับผู้ป่วยจิตเวช หรือผู้ที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตได้ตามมาตรฐานวิชาชีพอย่างเหมาะสม และสามารถทำการทดสอบและประเมินทางจิตวิทยาคลินิกได้
จิตแพทย์ (Psychiatrist) คือ แพทย์เฉพาะทางที่เป็นผู้รักษาบุคคลที่ป่วยเป็นโรคจิตเวช อาชีพจิตแพทย์มีจุดที่แตกต่างจากนักจิตวิทยาคลินิก คือ จิตแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคในกลุ่มจิตเวชและโรคอื่น ๆ ได้ มีความสามารถในการวินิจฉัยและแยกแยะกลุ่มโรคจิตเวชและโรคในกลุ่มอื่น ๆ ออกจากกันเพื่อทำการรักษา หรือส่งต่อผู้ป่วยที่ไม่พบความผิดปกติทางด้านจิตเวชไปยังแผนกอื่น ๆ เพื่อรับการรักษาให้ตรงกับโรคต่อไป
นักจิตวิทยา vs จิตแพทย์ ต่างกันอย่างไร?
นักจิตวิทยา กับ จิตแพทย์ นั้นมีความแตกต่างกันในหลายด้านตั้งแต่การเรียน และแนวทางการรักษาและบำบัดดังนี้
การศึกษา
สำหรับจิตแพทย์นั้นคือผู้ที่เรียนในด้านแพทยศาสตร์ในชั้นปริญญาตรีเป็นระยะเวลา 6 ปี จากนั้นจึงศึกษาต่อในด้านจิตเวชศาสตร์เป็นระยะเวลา 3 ปี จึงจะสามารถเป็นจิตแพทย์ทั่วไปได้ หากจิตแพทย์ท่านนั้นต้องการศึกษาต่อเฉพาะทางด้านจิตเวชอีกก็จะใช้ระยะเวลาศึกษาต่ออีกประมาณ 4 ปีจึงจะสามารถเป็นจิตแพทย์เฉพาะทาง เช่น จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น เป็นต้น
ในด้านนักจิตวิทยาหรือนักจิตวิทยาคลินิกนั้น มีแนวทางการศึกษาระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 4 ปี) ในคณะจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ หรือคณะสังคมศาสตร์ตามแต่ละมหาวิทยาลัยซึ่งอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป สำหรับนักจิตวิทยาคลินิกนั้นจะต้องเข้ารับการฝึกปฏิบัติงานด้านจิตวิทยาคลินิก และสอบเพื่อขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะสาขาจิตวิทยาคลินิกจึงจะสามารถให้คำปรึกษาผู้รับบริการได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ
BeDee มีบริการให้คำปรึกษาโรคทางจิตเวชโดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกที่ได้รับใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ
การวินิจฉัย และรักษา
นักจิตวิทยา ทําอะไรบ้าง สำหรับการให้บริการของนักจิตวิทยาคลินิกนั้น โดยทั่วไปแล้วนักจิตวิทยาคลินิกจะสามารถทำแบบทดสอบทางจิตวิทยาคลินิกเพื่อให้ได้ทราบถึงกลไกทางจิตใจของผู้รับบริการ และสามารถให้คำปรึกษาทางด้านจิตใจ ความเครียด ปัญหาความขับข้องใจทั่วไป รวมถึงการบำบัดโดยไม่ใช้ยารักษาโรค เช่น การบำบัด Supportive Psychotherapy, Cognitive Behavioral Therapy, Art Therapy, Music Therapy หรือ Drama Therapy เป็นต้น
ส่วนจิตแพทย์นั้นสามารถทำการวินิจฉัยถึงโรคจิตเวชและโรคอื่น ๆ ที่คนไข้เป็น เพื่อแยกแยะภาวะ อาการของโรคทางจิตเวชและโรคอื่น ๆ ออกจากกัน จากนั้นอาจให้การรักษาด้วยยาร่วมกับการทำจิตบำบัดขึ้นอยู่กับอาการของคนไข้และความเชี่ยวชาญของจิตแพทย์แต่ละท่าน
ปัญหาสุขภาพจิต และโรคที่รักษา
โดยทั่วไปแล้วนักจิตวิทยา กับ จิตแพทย์นั้นให้คำปรึกษาในกลุ่มโรคทางจิตเวชที่เหมือนกัน เช่น โรคซึมเศร้า ซึมเศร้าเรื้อรัง, โรคแพนิค, ไบโพลาร์, วิตกกังวลและโรคจิตเวชอื่น ๆ โดยมีความแตกต่างกันตรงที่นักจิตวิทยาคลินิกสามารถให้บริการให้รูปแบบของการให้คำปรึกษาและการทำจิตบำบัดโดยไม่ใช้ยา หากพบว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยใช้ยาหรือมีอาการรุนแรง ไม่สามารถควบคุมตนเองได้ควรปรึกษาจิตแพทย์
การจ่ายยา
จุดที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนระหว่างจิตแพทย์ กับ นักจิตวิทยาและนักจิตวิทยาคลินิกในประเทศไทย คือ จิตแพทย์เป็นผู้ที่สามารถจ่ายยารักษาอาการทางจิตเวชได้เท่านั้น แต่ในต่างประเทศนักจิตวิทยาคลินิกสามารถจ่ายยาได้ด้วยเช่นกัน
อาการทางสุขภาพจิตแบบใดที่ควรพบผู้เชี่ยวชาญ
อาการเบื้องต้นที่สามารถปรึกษานักจิตวิทยา กับ จิตแพทย์ออนไลน์ได้ เช่น
- รู้สึกเศร้าหรือว่างเปล่าเป็นเวลานาน
- ไม่มีความสุขหรือไม่รู้สึกสนใจกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่เคยชื่นชอบในอดีต
- หงุดหงิด กระสับกระส่าย กระวนกระวายใจ
- รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า รู้สึกผิด
- อ่อนเพลีย มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับ
- มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารเปลี่ยนไป
- ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร
- มีปัญหาในการใช้สมาธิจดจำรายละเอียด หรือการตัดสินใจ
- คิด พูดช้าลง
- คิดเรื่องความตายและการฆ่าตัวตาย
- ใช้สารเสพติด
- วิตกกังวล หรือสงสัยว่าอาจเสี่ยงต่อโรควิตกกังวล มีปัญหาในการจัดการและรับมือความกังวล
- มีปัญหาความด้านความสัมพันธ์ เช่น ความสัมพันธ์ในครอบครัว คนรัก เพื่อน คนในที่ทำงาน
- เครียด มีปัญหาการเรียน การทำงาน หรือชีวิตส่วนตัว
- ไม่มีวิธีจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม
ระหว่างนักจิตวิทยา VS จิตแพทย์ มีปัญหาสุขภาพจิตควรพบใคร
โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยสามารถเลือกปรึกษานักจิตวิทยาหรือ ปรึกษาจิตแพทย์ก่อนก็ได้ ในกรณีที่ผู้ป่วยเลือกปรึกษานักจิตวิทยาก่อนแล้วพบว่าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยหรือต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติม นักจิตวิทยาจะส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรักษากับจิตแพทย์ต่อไป หรือในทางกลับกันหากผู้ป่วยรักษากับจิตแพทย์ก่อนแล้วจิตแพทย์ท่านนั้นมีความเห็นว่าผู้ป่วยควรพบนักจิตวิทยาควบคู่ไปด้วยผู้ป่วยก็สามารถพบกับนักจิตวิทยาและจิตแพทย์ไปพร้อม ๆ กันได้
ปรึกษานักจิตวิทยา กับ จิตแพทย์ ที่ไหนดี
ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee วันนี้ ไม่มีค่าใช้จ่าย ! ปัจจุบันการปรึกษาสุขภาพใจนั้นสามารถทำได้ผ่านแอปพลิเคชันออนไลน์ได้แล้ว BeDee มีบริการให้คำปรึกษาปัญหาด้านจิตเวชโดยจิตแพทย์ผู้ชำนาญการและนักจิตวิทยาคลินิก เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก ไม่ต้องเดินทาง ไม่ต้องหยุดเรียนหรือลางาน ตั้งแต่วันนี้ – 31 ธ.ค. 2566 สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับนักจิตวิทยากับจิตแพทย์
1. ระหว่าง นักจิตวิทยา VS จิตแพทย์ ใครสามารถออกใบรับรองแพทย์ได้?
ในกรณีที่ผู้ป่วยจำเป็นต้องใช้ใบรับรองแพทย์เป็นเอกสารยืนยันประกอบการรักษา เช่น เบิกประกัน ลางาน หรืออื่น ๆ ควรปรึกษาจิตแพทย์เนื่องจากผู้ที่สามารถออกใบรับรองแพทย์ได้คือจิตแพทย์เท่านั้น นักจิตวิทยาไม่สามารถออกใบรับรองแพทย์ได้
มีปัญหาด้านจิตใจลองหันมาปรึกษานักจิตวิทยา กับ จิตแพทย์
การพูดคุยหรือปรึกษานักจิตวิทยา กับ จิตแพทย์ ไม่ใช่เรื่องน่าอายและยุ่งยาก อีกทั้งการปรึกษานักจิตวิทยา กับ จิตแพทย์ช่วยให้จัดการความคิด อารมณ์ และความรู้สึกของตนเองได้ดีขึ้น ช่วยให้เรารู้เท่าทันสุขภาพใจของตัวเองก่อนที่อาการจะแย่ลง และยังช่วยให้เราสบายใจขึ้น
ปรึกษาหมอออนไลน์หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้า เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
สิธยา อนุสนธิ์
นักจิตวิทยาคลินิก
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Psychologist vs Psychiatrist – What Is the Difference? (2023, October 4). UCLA Med School. https://medschool.ucla.edu/news-article/psychologist-vs-psychiatrist-what-is-the-difference
What is the difference between psychologists, psychiatrists and social workers? (2017, July 31). https://www.apa.org. https://www.apa.org/ptsd-guideline/patients-and-families/psychotherapy-professionals