Burnout คืออะไร
สารบัญบทความ

รู้จักกับ Burnout คืออะไร?

ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ จิตใจ ที่เกิดขึ้นจากความเครียดในการทำงานเป็นระยะเวลานาน และขาดวิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคเครียดเรื้อรัง ทำให้รู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์และร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการ ภาวะหมดไฟในการทำงาน หมดไฟในการใช้ชีวิต รู้สึกพลังน้อยลงหรือหมดแรง รู้สึกไม่ชอบงาน รู้สึกต่อต้านหรือเกลียดงาน ขาดแรงจูงใจในการทำงาน เบื่อหน่าย จนทำให้งานได้แย่ลงหรือไม่อยากทำงานอีกเลย ภาวะหมดไฟเป็นจะเกิดขึ้นเฉพาะกับบริบทการทำงานเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับด้านอื่น ๆ ในชีวิต นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังได้ขึ้นทะเบียน ให้ Burnout Syndrome เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความเครียดเรื้อรัง ในสถานที่ทำงาน ที่ควรได้รับการรักษาและป้องกันเช่นเดียวกับโรคอื่น ๆ อีกด้วย

 

ปรึกษาอาการ Burnout กับจิตแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่มีค่าจัดส่งยา

อาการ Burnout คืออะไรบ้าง ส่งผลเสียต่อชีวิตอย่างไร?

อาการ Burnout

ภาวะ Burnout ส่งผลกระทบหลายด้านต่อชีวิต ทั้งด้านอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม มีรายละเอียดดังนี้

อาการด้านอารมณ์

  • รู้สึกหดหู่ 
  • มีอาการซึมเศร้า หรือเสี่ยงโรคซึมเศร้า 
  • อารมณ์แปรปรวน 
  • หงุดหงิด โมโหง่าย
  • รู้สึกสิ้นหวัง
  • ไม่พอใจชีวิต
  • นอนไม่หลับ 

อาการด้านความคิด

  • มองโลกในแง่ร้าย
  • หนีปัญหา
  • โทษคนอื่น
  • คิดว่าตัวเองไม่มีความสามารถพอ

อาการด้านพฤติกรรม

  • มีปัญหากับคนที่ทำงาน
  • ไม่อยากพบผู้คน
  • มาทำงานสายเป็นประจำจนผิดสังเกต หรือไม่อยากตื่นไปทำงาน
  • ผัดวันประกันพรุ่ง
  • แบ่งเวลาหรือจัดการเวลาไม่ได้
  • ไม่มีสมาธิ
  • ขาดความกระตือรือร้น

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะ Burnout คืออะไร?

สาเหตุที่ทำให้เกิด Burnout มีหลายปัจจัยดังนี้

  • ความกดดันในการทำงาน เช่น ปริมาณงานที่มากเกินไป ความยากของเนื้องาน เวลาการทำงานที่จำกัด กระชั้นชิด ชั่วโมงการเรียนหรือการทำงานที่มากเกินไป
  • มีปัญหาความสัมพันธ์หรือบรรยากาศในที่ทำงาน เช่น มีปัญหากับหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงาน 
  • รู้สึกว่างานที่ตนเองทำไม่สัมพันธ์กับค่าตอบแทนที่ได้รับ
  • มีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ (Low self-esteem)
  • ไม่มีความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันเดียวหรือเป็นส่วนหนึ่งกับองค์กร

กลุ่มเสี่ยงเกิดภาวะ Burnout คือใครบ้าง

กลุ่มเสี่ยงที่จะเกิดภาวะ Burnout

ภาวะ Burnout หรืออาการหมดไฟ เกิดขึ้นกับใครได้บ้าง แล้วใครบ้างที่เสี่ยงต่อภาวะนี้ 

  • บุคคลที่อยู่ในวัยทำงาน
  • พนักงานออฟฟิศ
  • แม่บ้าน 

 

สังเกตได้ว่าจริง ๆ แล้วภาวะ Burnout สามารถเกิดขึ้นได้กับ กับกลุ่มบุคคลที่อยู่ในวัยทำงานโดยเฉพาะผู้ที่ต้องจมอยู่กับการทำงานทุกวัน เป็นระยะเวลานาน หรือแม้แต่กลุ่มแม่บ้าน คุณแม่ที่ทำทำกิจวัตรเดิม ๆ ทุกวัน เจอกับแรงกดดัน ขาดการยืดหยุ่น ก็จะทำให้เกิดอาการหมดไฟ หรือภาวะ Burnout ได้

ระยะของ Burnout 

ภาวะ Burnout แบ่งออกเป็น 5 ระยะดังนี้ 

  1. ระยะฮันนีมูน (The Honeymoon) ระยะนี้ถือเป็นระยะแรกในการทำงาน กล่าวคือจะยังรู้สึกกระตือรือร้น ตั้งใจที่จะทำงานและเรียนรู้ รวมถึงพยายามปรับตัวเพื่อให้เข้ากับสังคมที่ทำงานและองค์กร

  1. ระยะรู้สึกตัว (The Awakening) เมื่อผ่านจากช่วงระยะฮันนีมูนหรือผ่านการทำงานมาช่วงเวลาหนึ่งอาจเริ่มรู้สึกว่าเป้าหมายของตัวเองและงานนั้นไม่เป็นไปตามที่คิด เริ่มรู้สึกว่างานไม่ตอบสนองต่อความต้องการหรือความชื่นชอบของเรา รู้สึกว่าไม่ตอบโจทย์ในด้านค่าตอบแทน รู้สึกไม่ได้รับการยอมรับ อาจรู้สึกว่าเกิดความผิดพลาด อึดอัดใจ เหนื่อยล้า 

  1. ระยะไฟตก (Brownout) ภาวะ Burnout ในระยะนี้ จะเริ่มรู้สึกเหนื่อยล้ามากยิ่งขึ้น อารมณ์แปรปรวน เริ่มหาทางออกหรือทางระบายอาการขับข้อง อึดอัดใจ เช่น ช้อปปิ้ง ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง แยกตัวออกจากสังคม รู้สึกตั้งคำถามหรือวิพากษ์วิจารณ์องค์กรตัวเอง

  1. ระยะหมดไฟเต็มที่ (Full scale of Burnout) หากอาการหรือปัญหาในระยะไฟตกยังเกิดขึ้นอยู่ ยังไม่ได้รับการแก้ไข ไม่มีวิธีจัดการความเครียดที่เหมาะสม จะเกิดความรู้สึกสิ้นหวัง ท้อแท้ ล้มเหลว ขาดความมั่นใจในตัวเอง เรียกได้ว่าเข้าสู่ภาวะหมดไฟหรือ Burnout อย่างเต็มรูปแบบ

  2. ระยะฟื้นตัว (The Phoenix Phenomenon) ในระยะนี้หากมีการจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม ได้พักผ่อน ไปเที่ยว เปลี่ยนบรรยากาศ จนรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นจะทำให้ภาวะ Burnout ค่อย ๆ ดีขึ้น รู้สึกมีแรง มีกำลังใจที่จะกลับมาเริ่มต้นทำงานใหม่อีกครั้ง

อาการแทรกซ้อนจากการหมดไฟ 

Burnout อาการแทรกซ้อน

ภาวะ Burnout ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบทางด้านร่างกายอย่างมาก อาการหมดไฟอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ดังนี้ 

  • ส่งผลกระทบต่อการนอน ทำให้นอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท
  • กินมากขึ้น น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือ กินไม่ได้ น้ำหนักลดลงอย่างมาก
  • ออฟฟิศซินโดรม ปวดคอบ่าไหล่ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ 
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า
  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
  • ภูมิคุ้มกันต่ำ
  • เสี่ยงต่อการติดแอลกอฮอล์หรือยาเสพติด
  • อาจเกิดโรคความดันโลหิตสูง

เมื่อ Burnout ควรรับมืออย่างไร?

วิธีรับมือ Burnout

เมื่อเกิดภาวะ Burnout ควรจัดการและรับมือให้ทันท่วงที เพราะหากปล่อยอาจทำให้อาการแย่ลงหรือบั่นทอนจิตใจไปเรื่อย ๆ ภาวะหมดไฟในการทํางาน วิธีแก้ หรือการบรรเทาอาการมีดังนี้

  • นอนหลับพักผ่อนให้เป็นเวลาและพักผ่อนให้เพียงพอ ควรเข้านอนไม่เกิน 22.00 น. เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • พยายามไม่เครียด ไม่วิตกกังวลในสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้หรือยังไม่เกิดขึ้น
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
  • ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือ 150 นาที / สัปดาห์
  • ฝึกทักษะการแก้ไขปัญหา และการจัดการอารมณ์
  • เปลี่ยนบรรยากาศ ลาพักร้อน ออกไปเที่ยวสถานที่ใหม่ ๆ ช่วงวันเสาร์อาทิตย์ 
  • แบ่งเวลาการทำงานและเวลาพักผ่อนให้สมดุลกัน
  • ปรึกษาคนรอบข้าง เช่น เพื่อน หัวหน้างาน หรือคนที่เรารู้สึกสบายใจที่จะคุยด้วย เพื่อช่วยระบายความเครียดและช่วยคิดหาทางออก

 

หากปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้วภาวะ Burnout ยังไม่ดีขึ้นหรือภาวะหมดไฟของคุณมีอาการรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการ Burnout 

1. Burnout กับ ซึมเศร้า เหมือนกันหรือไม่? 

ภาวะหมดไฟในการทำงาน หรือ Burnout คือ การเปลี่ยนแปลงทางด้านอารมณ์ จิตใจ ที่เกิดขึ้นจากความเครียดในการทำงานเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคเครียดเรื้อรัง ทำให้รู้สึกอ่อนล้าทางอารมณ์และร่างกาย ส่งผลให้เกิดอาการ ภาวะหมดไฟในการทำงาน หมดไฟในการใช้ชีวิต ขาดแรงจูงใจในการทำงาน เบื่อหน่าย รู้สึกห่างเหินกับเพื่อนร่วมงาน ไม่มีอารมณ์อยากทำงาน จนทำให้งานได้แย่ลงหรือไม่อยากทำงานอีกเลย

 

ส่วนโรคซึมเศร้าเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง 3 ชนิด คือ ซีโรโตนิน นอร์อิพิเนฟริน และโดปามีน สาเหตุของโรคซึมเศร้าสามารถเกิดจากทางพันธุกรรม เช่น ผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นโรคทางด้านอารมณ์หรือโรคทางจิตเวช จะมีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไป และอีกสาเหตุเกิดจากการเลี้ยงดูของครอบครัว สภาพแวดล้อมซึ่งตัวกระตุ้นอาจจะมาจากเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจ จนส่งผลทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้

 

ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะรู้สึกเศร้า ท้อแท้ สิ้นหวัง มีความรู้สึกไม่อยากทำอะไร เบื่อแม้แต่สิ่งที่เคยชอบทำ มีอาการติดต่อกัน 2 สัปดาห์ขึ้นไป น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว รู้สึกไร้เรี่ยวแรง หงุดหงิด กระสับกระส่าย กระวนกระวายใจ รู้สึกสิ้นหวัง ไร้ค่า รู้สึกผิด อ่อนเพลีย มีปัญหาในการนอนหลับ เช่น นอนมากเกินไป หรือนอนไม่หลับ และอาจมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ซึ่งผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำเป็นต้องได้รับยาและการรักษาจากจิตแพทย์ต่อไป

Burnout คือภัยเงียบอันตรายด้านจิตใจที่ไม่ควรปล่อยไว้

Burnout แม้จะไม่ใช่ภาวะที่อันตรายต่อชีวิตแต่สร้างผลกระทบด้านจิตใจอย่างรุนแรง ค่อย ๆ ลุกลามมากขึ้นทุกวัน ปรึกษาหมอออนไลน์หรือปรึกษาเภสัชกร หรือนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

สิธยา อนุสนธิ์ 

นักจิตวิทยาคลินิก

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Abramson, A. (n.d.). Burnout and stress are everywhere. https://www.apa.org. https://www.apa.org/monitor/2022/01/special-burnout-stress


Job burnout: How to spot it and take action. (2023, November 30). Mayo Clinic. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/adult-health/in-depth/burnout/art-20046642

บทความที่เกี่ยวข้อง

ทุกวันนี้กลุ่มโรคทางด้านอารมณ์หรือจิตเวชนั้นมีมากมาย เช่น ซึมเศร้าเรื้อรัง, ไบโพลาร์หรือแม้แต่อาการที่คนทั่วไปอาจคาดไม่ถึงอย่างภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือบางคนที่เราเห็นยิ้มแย้ม อารมณ์ดี แต่ก็อาจจะป่วยด้วยกลุ่มโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า Smiling depression

เสาร์อาทิตย์ทีไรก็อยากจะนอนยาว ๆ ทั้งวัน ไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรแล้ว รู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ นอนเยอะแต่ยังง่วง รู้หรือไม่ว่าคุณอาจกำลังเป็น “โรคนอนเยอะเกินไป” แม้เราจะคิดว่าการนอนหลับนั้นเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เมื่อไหร่ที่เจอเรื่องเครียด เหนื่อ