แบบประเมินความเครียด (ST-5) คัดกรองความเครียดได้ด้วยตัวเอง
แบบประเมินความเครียดเป็นเครื่องมือคัดกรองโรคเครียดรูปแบบหนึ่ง เวลาที่เราเครียดเรามักประเมินความเครียดในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็สังเกตจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่นนอนไม่หลับ, ปวดหัวเรื้อรัง, กรดไหลย้อน, ท้องอืด เป็นต้น หรือประเมินความเครียดความผิดปกติทางจิตใจ เช่น รู้สึกวิตกกังวล คิดมาก หงุดหงิดโกรธง่าย เป็นต้น หรืออาจสังเกตจากความผิดปกติทางพฤติกรรม เช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกฮอล์มากขึ้น ใช้สารเสพติด อย่างไรก็ตามนอกจากการเช็คโรคเครียดด้วยวิธีเหล่านี้แล้ว เรายังสามารถทดสอบความเครียดด้วยการทำแบบประเมินความเครียดได้ ซึ่งการทำแบบประเมินความเครียดมีขั้นตอนการประเมินที่ไม่ซับซ้อน ใช้เวลาไม่นาน และช่วยให้คุณสามารถวัดระดับความเครียดได้อย่างง่ายดายด้วยตนเอง
แบบประเมินและวิเคราะห์ความเครียด
แบบประเมินความเครียดที่น่าสนใจและแนะนำให้ลองใช้วิเคราะห์ความเครียดของตนเองกันนั่นคือแบบประเมินความเครียด 5 ข้อ (ST-5) ซึ่งเป็นแบบสอบถามความเครียดที่มีข้อคำถามจำนวน 5 ข้อ โดยการประเมินอาการหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นกับเราในระยะเวลา 2-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา และให้ระดับคะแนนตั้งแต่ 0-3 ตามความถี่ที่ตรงกับตัวเรามากที่สุด (0 คือ มีความเครียดน้อยมากหรือแทบไม่มี ไปจนถึงระดับ 3 คือ มีความเครียดเกิดขึ้นประจำ) โดยมีการแปลผลช่วงคะแนนของความเครียดจำแนกได้เป็น 4 ระดับ คือ เครียดน้อย เครียดปานกลาง เครียดมาก และเครียดมากที่สุด
แบบประเมินความเครียด (ST-5: Stress Test Questionnaire)
คำแนะนำในการทดสอบ: ต่อไปนี้เป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับท่าน โปรดอ่านแต่ละข้ออย่างรอบคอบ หลังจากที่ท่านอ่านแล้ว ให้เลือกคำตอบที่ตรงกับตัวของท่านมากที่สุดว่าอาการหรือความรู้สึกนี้ได้รบกวนท่านมากน้อยเพียงใดในช่วงระยะเวลา 2- 4 สัปดาห์
ข้อที่ | อาการหรือความรู้สึกที่เกิดในระยะ 2-4 สัปดาห์ | คะแนน | Add New | Add New | Add New |
Add New | Add New | 0 | 1 | 2 | 3 |
1 | มีปัญหาการนอน นอนไม่หลับหรือนอนมาก | ||||
2 | มีสมาธิน้อยลง | ||||
3 | หงุดหงิด,กระวนกระวาย,วุ่นวายใจ | ||||
4 | รู้สึกเบื่อ เซ็ง | ||||
5 | ไม่อยากพบปะผู้คน | ||||
คะแนนรวม | Add New |
การแปลผล
คะแนน 0-4 ความเครียดน้อย
คะแนน 5-7 ความเครียดปานกลาง
คะแนน 8-9 ความเครียดมาก
คะแนน 10-15 ความเครียดมากที่สุด
อ้างอิง กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
ทำแบบประเมินความเครียดกับพยาบาลที่แอป BeDee ไม่มีค่าใช้จ่าย
การทำแบบประเมินความเครียด สำคัญอย่างไร
แบบประเมินความเครียดมีความสำคัญอย่างไร หลายครั้งที่ผลกระทบของความเครียดส่งผลต่อร่างกาย จิตใจ และพฤติกรรม แต่หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่าตนเองกำลังประสบกับภาวะเครียด จนทำให้เกิดความเครียดสะสม ซึ่งหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง อาจก่อให้เกิดโรคเครียด, โรคเครียดสะสมหรือโรคทางกายได้ ดังนั้นแบบประเมินความเครียดจึงมีความสำคัญที่จะทำให้เราได้สำรวจ ทดสอบ
ความเครียดของตนเองผ่านข้อคำถามต่าง ๆ โดยมีการแปลผลจำแนกความเครียดออกเป็นระดับที่ชัดเจน ทำให้เราเข้าใจความเครียดของตนเองได้ดีขึ้น และสามารถหาวิธีจัดการความเครียดได้อย่างเหมาะสม เพราะยิ่งเรารู้ตัวเร็วเท่าไหร่ เราจะยิ่งสามารถหาทางรับมือ และป้องกันกับความเครียดได้มากขึ้น นอกจากนี้แบบประเมินความเครียดยังช่วยทำให้เราทราบว่า เมื่อไหร่ที่เราสมควรได้รับคำแนะนำหรือความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย
ทำแบบทดสอบแล้วพบว่ามีระดับความเครียดสูงหรือไม่มั่นใจระดับความเครียดของตัวเอง อยากหาทางจัดการและรับมือกับความคิดของตัวเอง ปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee
ใครบ้างที่ควรทำแบบประเมินความเครียด
แบบประเมินความเครียดเป็นแบบประเมินที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ใครกันบ้างที่เหมาะสำหรับทำแบบประเมินความเครียดนี้
- แบบประเมินความเครียดเหมาะสำหรับคนที่กำลังเผชิญกับความกดดันและปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจ เช่น ปัญหาด้านการทำงาน ความสัมพันธ์ การเงิน ครอบครัว สุขภาพ เป็นต้น
- แบบประเมินความเครียดเหมาะสำหรับบุคคลที่ต้องการประเมินสภาพจิตเบื้องต้น ประเมินความเครียดที่เกิดขึ้น ณ ตอนนี้ หรือมีความประสงค์อยากคัดกรองความเสี่ยงโรคเครียด
- แบบประเมินความเครียดเหมาะกับบุคคลที่อยากวัดระดับความเครียด ความรุนแรงของอาการ เพื่อหาวิธีการรับมือ และจัดการกับความเครียดได้อย่างเหมาะสม
- แบบประเมินความเครียดเหมาะกับบุคคลที่มีการตระหนักรู้ในตนเองต่ำ เนื่องจากบุคคลเหล่านี้อาจมีภาวะเครียดสะสมโดยไม่รู้ตัว จนอาจนำไปสู่ความเจ็บป่วย หรือปัญหาสุขภาพจิตอื่นๆได้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแบบประเมินความเครียด
1. แบบประเมินความเครียดสามารถวินิจฉัยโรคเครียดได้หรือไม่?
แบบประเมินความเครียดไม่ใช่เครื่องมือวินิจฉัยโรค ดังนั้นแบบประเมินความเครียดจึงเป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยคัดกรองภาวะความเสี่ยงของโรคเครียด (Mental Health Screening) ทั้งนี้การวินิจฉัยโรคเครียด ควรได้รับการประเมินจากจิตแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรง อย่างไรก็ตามแบบประเมินความเครียดสามารถนำมาเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจรักษา เพื่อติดตามความก้าวหน้า และผลลัพธ์ของการรักษาได้
2.การทำแบบประเมินความเครียดต้องทำภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญไหม?
แบบประเมินความเครียด จัดเป็นเครื่องมือที่สามารถประเมินด้วยตนเองรูปแบบหนึ่ง (Self-Assessment) จึงไม่จำเป็นต้องทำแบบประเมินความเครียดภายใต้การดูแลของผู้เชี่ยวชาญหรือบุคลากรทางการแพทย์
3. ความเครียดระดับใดที่ควรไปพบจิตแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ?
ระดับความเครียดที่ควรรีบปรึกษาแพทย์คือระดับความเครียดมากไปจนถึงระดับความเครียดมากที่สุด เพราะถือเป็นระดับความเครียดที่รุนแรง ควรรีบปรึกษาจิตแพทย์หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินอาการและเข้ารับการรักษาโดยเร็วที่สุด เพราะหากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลเสียต่อตัวเองและบุคคลรอบข้างได้
สอบถามวิธีจัดการความเครียด นอนไม่หลับ วิตกกังวล หรือปัญหาสุขภาพใจอื่น ๆ กับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก