นอนเยอะเกินไป

เสาร์อาทิตย์ทีไรก็อยากจะนอนยาว ๆ ทั้งวัน ไม่อยากลุกขึ้นมาทำอะไรแล้ว รู้สึกว่านอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ นอนเยอะแต่ยังง่วง รู้หรือไม่ว่าคุณอาจกำลังเป็น “โรคนอนเยอะเกินไป” แม้เราจะคิดว่าการนอนหลับนั้นเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุด เมื่อไหร่ที่เจอเรื่องเครียด เหนื่อยล้า แค่นอนหลับก็พอแล้ว แต่พฤติกรรมการนอนแบบนี้อาจไม่ปกติ ทำให้เสี่ยงโรคซึมเศร้า และนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆ ได้

สารบัญบทความ

รู้จักอาการนอนเยอะเกินไปที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ

ภาวะนอนเยอะเกินไป (Hypersomnia) คือภาวะที่ผู้ป่วยรู้สึกอยากนอนมากขึ้นทั้งในตอนกลางคืนและกลางวัน รู้สึกไม่อยากตื่นนอน เมื่อตื่นขึ้นมาก็รู้สึกว่าต้องการนอนต่ออีก นอนไม่เพียงพอ ในตอนกลางวันก็อยากนอน อยากงีบหลับ การนอนเยอะเกินไปลักษณะนี้อาจไม่ใช่เรื่องปกติแต่กลายเป็นโรคนอนหลับเยอะเกินไปได้

 

นอกจากนี้โรคนอนเยอะเกินไปยังนำไปสู่โรคอื่น ๆ เช่น โรคซึมเศร้า หรือ โรคซึมเศร้าเรื้อรัง

สัญญาณเตือนว่าคุณกำลังนอนเยอะเกินไป

  • ตื่นนอนแล้วยังรู้สึกง่วง เพลีย ไม่สดชื่น
  • ต้องการนอนหลับมากขึ้นทั้งในช่วงกลางคืนและกลางวัน
  • การจดจำ สมาธิแย่ลง
  • ระหว่างวันรู้สึกเพลีย ไม่สดชื่น อยากงีบ
  • เฉื่อยชา 
  • ไม่มีแรง
  • อามรมณ์หงุดหงิด
  • อยากหลับแม้ในตอนขับรถ ทานข้าว 


มีอาการนอนเยอะเกินไป ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น รีบปรึกษาจิตแพทย์ ที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องลางาน

นอนเยอะเกินไป เกิดจากอะไร

อาการนอนเยอะเกินไปอาจไม่ปกติควรหมั่นสังเกตตัวเอง ภาวะนอนเยอะเกินไป สาเหตุอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้

อดนอน พักผ่อนไม่เพียงพอ

เมื่อร่างกายเกิดการอดนอนมาเป็นเวลานาน พักผ่อนไม่เพียงพอ จึงทำให้เกิดอาการนอนเยอะเกินไป

เปลี่ยนแปลงเวลาเข้านอนบ่อย

คนที่เปลี่ยนแปลงเวลาเข้านอนบ่อยหรือต้องเดินทาง เปลี่ยนแปลงไทม์โซนอาจทำให้นาฬิกาชีวภาพแปรปรวนจนทำให้เกิดอาการนอนเยอะเกินไป

โรคทางจิตเวช

ผู้ที่นอนเยอะเกินไปอาจเกิดจากอาการทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล ไบโพล่า เป็นต้น

โรคไทรอยด์

 การทำงานผิดปกติของต่อมไทรอยด์สามารถทำให้เกิดอาการนอนมากเกินไป

นอนกรน

การนอนกรนหรือหยุดหายใจขณะหลับอาจทำให้นอนหลับได้ไม่เต็มอิ่ม ร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ รู้สึกนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ

การใช้ยาที่ทำให้ง่วงซึม

การใช้ยาหรือสารที่มีผลกระทบต่อการหลับสามารถทำให้เกิดอาการนอนเยอะเกินไปได้

สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม

การนอนหลับในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ห้องนอนมีแสงสว่างมากเกินไป เสียงดัง อุณหภูมิห้องที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้ผักไม่เพียงพอหรือนอนไม่ได้คุณภาพในช่วงกลางคืนจึงทำให้ต้องงีบหลับบ่อยครั้งในตอนกลางวันซึ่งนำมาสู่โรคนอนเยอะเกินไป

การตั้งครรภ์ 

การตั้งครรภ์ในช่วงแรกของผู้หญิงอาจทำให้ในบางรายมีอาการนอนเยอะผิดปกติได้

นอนเยอะเกินไปมีผลเสียอย่างไร

การนอนพักผ่อนอาจให้ประโยชน์ต่อร่างกายแต่เมื่อไหร่ที่เรานอนเยอะเกินไป ผลเสียนั้นอาจตามมามากกว่าที่คิด เช่น

  • โรคอ้วน

เมื่อเรานอนเยอะเกินไปจะทำให้การเผาผลาญไขมันในร่างกายลดลง ร่างกายเกิดการสะสมไขมันมากขึ้นจึงทำให้เกิดโรคอ้วนได้

  • เสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ 

เนื่องจากการนอนเยอะเกินไปทำให้ร่างกายไม่ได้เคลื่อนไหว ขาดการออกกำลังกายอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงเหล่านี้ได้

  • สมองล้า เฉื่อยชา 

นอนเยอะเกินไปอาจทำให้รู้สึกง่วง ไม่มีความกระปรี้กระเปร่า และมีผลต่อความจำและการวิเคราะห์ข้อมูลได้

  • เสี่ยงโรคซึมเศร้า

นอนเยอะเกินไปซึมเศร้าอาจจะถามหาเราได้ เนื่องจากร่างกายขาดการเคลื่อนไหว ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรงจะทำกิจกรรมอื่น ๆ การนอนมากเกินไปมีผลกระทบทั้งทางกายและทางจิตใจ คนที่มีภาวะนอนหลับเยอะเกินไปอาจมีอารมณ์เศร้า หดหู่ ไม่มีความสุข

 

รู้สึกว่าตัวเองกำลังนอนเยอะเกินไปลองหันมาคุยกับนักจิตวิทยากับจิตแพทย์ เพราะการนอนของคุณอาจกำลังเป็นปัญหาได้

นอนเยอะเกินไปเกี่ยวข้องกับโรคซึมเศร้าอย่างไร

ข้อเสียของการนอนเยอะเกินไป

การนอนเยอะเกินไปไม่ได้ส่งผลกระทบเฉพาะในด้านร่างกายเท่านั้นแต่ยังส่งผลถึงด้านจิตใจด้วย การนอนมากเกินไปผลต่อสุขภาพจิตใจและร่างกายในรูปแบบต่างๆ โดยเฉพาะโรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) เนื่องจากการนอนเยอะเกินไปมีผลต่อระดับสารเคมีในสมอง เช่น เซโรโทนิน (Serotonin) และ เมลาโทนิน(Melatonin) ซึ่งมีบทบาทในการควบคุมอารมณ์และการนอนหลับ

 

นอกจากนี้ข้อเสียของการนอนเยอะยังส่งผลต่อการทำงานของระบบฮอร์โมน ทำฮอร์โมนที่ควบคุมด้านอารมณ์ จิตใจทำงานบกพร่อง ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้

นอนเยอะเกินไปมีวิธีแก้อย่างไร

  • ฝึกการตื่นและเข้านอนเป็นเวลา

ถ้านอนเยอะเกินไปลองพยายามเข้านอนและตื่นให้เป็นเวลา โดยเริ่มจากการกำหนดเวลาตื่นตอนเช้าและตื่นให้ตรงเวลา ไม่ว่าวันที่เริ่มปรับเวลานอนจะนอนดึกแค่ไหนก็ไม่ควรทดเวลาตื่นสาย พยายามไม่นอนตอนกลางวันเพราะจะส่งผลต่อการนอนในตอนกลางคืนได้

 

  • จัดระเบียบห้องนอนให้เหมาะสมกับการนอน

สาเหตุหนึ่งของการนอนเยอะเกินไปและทำให้พักผ่อนไม่เพียงพออาจเกิดจากสภาพห้องนอน ห้องนอนที่ดีไม่ควรมีแสงเข้ามารบกวนการนอนหลับในตอนกลางคืน และในตอนกลางวันควรได้สัมผัสกับแสงแดดอย่างพอเหมาะเพื่อช่วยกระตุ้นให้ตื่นตัว

 

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายสามารถช่วยภาวะนอนเยอะได้เช่นกัน การออกกำลังกายจะช่วยส่งเสริมสุขอนามัยการนอนที่ดี (Sleep Hygiene) โดยช่วงเวลาในการออกกำลังกายที่ช่วยในเรื่องการนอนหลับคือ 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอนเพราะจะทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานมากเกินไปจนทำให้ร่างกายตื่นตัว

 

  • ดื่มนมอุ่น หรือรับประทานกล้วยหอมก่อนนอน

หากอยากนอนหลับให้ได้คุณภาพเพื่อลดปัญหานอนเยอะเกินไป วิธีแก้อย่างหนึ่งคือการดื่มนมอุ่น ๆ หรือรับประทานกล้วยหอม เนื่องจากกล้วยและนมจะมีกรดอะมิโนทริปโตเฟน (Tryptophan) ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสารเซโรโทนิน (Serotonin) ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียด ความวิตกกังวล ทำให้ง่วงและนอนหลับได้ง่ายขึ้น

 

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจากในบุหรี่จะมีสารนิโคติน (Nicotine) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นประสาท ทำให้หลับยาก และเมื่อสารนิโคตินในร่างกายลดลงก็จะทำให้ตื่นง่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่สูบบุหรี่โดยตรง (Active Smoker) หรือผู้ที่มักจะได้กลิ่นควันบุหรี่จากผู้อื่นอยู่บ่อย ๆ (Passive Smoker) ก็จะทำให้ได้รับสารนิโคตินซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท อาจทำให้นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน แต่ส่งผลให้ง่วงนอนในตอนกลางวันและนำมาสู่ปัญหานอนเยอะเกินไปได้

 

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารมื้อหนัก หรือรสจัดก่อนนอน

การรับประทานอาหารมื้อหนักก่อนนอนนั้นส่งผลให้ร่างกายต้องทำงานหนักในการย่อย ซึ่งใช้เวลาถึง 2-3 ชั่วโมง นอกจากจะทำให้นอนหลับยากแล้ว ยังอาจส่งผลให้เป็นกรดไหลย้อน

 

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน

ในช่วง 4-6 ชั่วโมงก่อนนอน หรือถ้าจะให้ดีคือ 10 ชั่วโมงก่อนนอน ควรที่จะงดเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น กาแฟ ชา โกโก้ น้ำอัดลม ดื่มเครื่องดื่มชูกำลัง เนื่องจากคาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท อาจทำให้นอนไม่หลับในช่วงกลางคืน แต่ส่งผลให้ง่วงนอนในตอนกลางวัน

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ นอนเยอะเกินไป

1. นอนเยอะเกินไปคือกี่ชั่วโมง?

สำหรับระยะเวลาที่ควรนอนหลับนั้นจะแตกต่างกันไปตามละช่วงวัยกล่าวคือ 

  • เด็ก 6-12 ปี ควรนอน 9 -12 ชั่วโมง/ วัน
  • วัยรุ่น 13-18 ปี ควรนอน 8 -10 ชั่วโมง/ วัน
  • วัยทำงาน ควรนอน 7 -9 ชั่วโมง/ วัน

 

หากพบว่ามีการนอนหลับเยอะเกินไปจนผิดปกติรวมถึงมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น อยากงีบหลับตลอดเวลา ตื่นนอนไม่สดชื่น อารมณ์ฉุนเฉียว ควรรีบปรึกษาแพทย์

2. นอนเยอะเกินไปมีโอกาสเสียชีวิตไหม?

การนอนเยอะเกินไปอาจไม่ได้ทำให้เสียชีวิตในทันที แต่ส่งผลกระทบต่อปัญหาสุขภาพระยะยาวที่อาจนำมาสู่สาเหตุการเสียชีวิตได้ เช่น เสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิต เป็นต้น

สรุปนอนเยอะเกินไปไม่ใช่เรื่องปกติ รีบปรึกษาแพทย์ 

การนอนมีความสำคัญต่อสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจ การนอนไม่เพียงแต่ช่วยฟื้นฟูร่างกายจากการใช้พลังงานในระหว่างวันเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย และสนับสนุนกระบวนการเจริญเติบโตทางร่างกายและสมอง นอนเยอะเกินไปหรือนอนไม่เพียงพอสามารถมีผลกระทบที่เสียหายต่อสุขภาพได้

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

Content powered by BeDee Expert

ผศ.นพ.โชติมันต์ ชินวรารักษ์

จิตแพทย์

 

เรียบเรียงโดย

กรวรรณ ใจซื่อกุล

Sleep Foundation. (2024, January 16). Hypersomnia. https://www.sleepfoundation.org/hypersomnia 

 

Sleep and hypersomnia. (2005, April 25). WebMD. https://www.webmd.com/sleep-disorders/hypersomnia

 

Idiopathic hypersomnia. (2017, September 12). Stanford Health Care. https://stanfordhealthcare.org/medical-conditions/sleep/idiopathic-hypersomnia.html

บทความที่เกี่ยวข้อง

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการแนะนำเบื้องต้น โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง อาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก ปัญหายอดฮิตที่เราพบมากขึ้นในทุกวันนี้ ด้วยสภาพแวดล้อม การทำงาน รวมถึงปัญหาต่าง ๆ ที่อาจส่งผลทั้งทางด้านสภาพร่างกายและจิต

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวทำให้เรามีความเสี่ยงต่อความเจ็บป่วยทางจิตเวชมากมายโดยที่เราไม่รู้ตัว เช่น โรคเครียด, นอนไม่หลับ หรือแม้แต่โรคซึมเศร้า ก็ดูจะใกล้ตัวมากกว่าที่เราคิด ทุกวันนี้เรามีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้คำปรึกษาทางด้านจิตเวชมา