Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง ปัญหาการนอนไม่หลับพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาโรคเครียด,
ยาคุมฉุกเฉิน กินอย่างไรให้ถูกวิธี ปลอดภัย ไม่ต้องเสี่ยง
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
ปัจจุบันมีวิธีการคุมกำเนิดที่ได้ประสิทธิภาพมากมาย หนึ่งในนั้นคือ “ยาคุมฉุกเฉิน” ที่มีไว้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์แบบเร่งด่วน แต่ถึงอย่างนั้น การกินยาคุมฉุกเฉิน ควรกินในกรณีที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น เพราะหากใช้แทนการคุมกำเนิดแบบประจำ มีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายได้
แล้วแบบนี้ ยาคุมฉุกเฉินกินตอนไหน อาการหลังกินยาคุมฉุกเฉินเป็นยังไง ผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉินอันตรายไหม ตอบคำถามที่มักพบบ่อยในบทความนี้
ยาคุมฉุกเฉิน คืออะไร
ยาคุมฉุกเฉิน คือ หนึ่งในวิธีการคุมกำเนิดที่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการใช้ยาคุมฉุกเฉินควรใช้เพียงกรณีจำเป็นเท่านั้น เนื่องจากยาเป็นคนละรูปแบบกับยาคุมกำเนิดชนิดกินประจำ จึงอาจส่งผลกระทบต่อร่างกายได้หากกินยาคุมฉุกเฉินบ่อยๆ
นอกจากนี้ ยาคุมฉุกเฉินยังไม่สามารถยุติการตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นไปแล้วได้ จึงควรใช้ยาคุมฉุกเฉินให้ถูกต้อง ถูกวิธีเพื่อความปลอดภัย ซึ่งปกติยาคุมฉุกเฉินจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่…
1. ยาคุมฉุกเฉินชนิดฮอร์โมนรวม
เป็นการใช้ยาคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม (Combined oral contraceptive pills) ซึ่งเป็นเม็ดยาที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมน 2 ชนิด รวมกันโดยต้องใช้ในขนาดสูง ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงได้มาก จึงไม่เป็นที่นิยม
2. ยาคุมฉุกเฉินชนิดที่มีเฉพาะฮอร์โมนโพรเจสติน
ยาคุมฉุกเฉินชนิดที่มีเฉพาะฮอร์โมนโพรเจสติน (Progestin-only emergency contraceptive pills) เป็นยาคุมฉุกเฉินที่ได้รับความนิยมอย่างมากในไทย มีทั้งยาคุมฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด ขนาด 1.5 มิลลิกรัม และยาคุมฉุกเฉินแบบ 2 เม็ด ขนาดเม็ดละ 0.75 มิลลิกรัม
3. ยาคุมฉุกเฉินชนิดยาต้านโพรเจสติน
ยาคุมฉุกเฉินชนิดยาต้านโพรเจสติน (Emergency contraceptive pills containing an antiprogestin) ซึ่งตัวยาที่อยู่ในกลุ่มนี้ เช่น Ulipristal
ปรึกษาเรื่องการใช้ยาคุมฉุกเฉิน การคุมกำเนิด หรือโรคทางเพศสัมพันธ์กับสูตินรีแพทย์ที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่มีค่าจัดส่งยา
ยาคุมฉุกเฉินควรใช้เมื่อไร?
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
หลายคนอาจสงสัยว่า กินยาคุมฉุกเฉิน ควรเลือกกินเมื่อไหร่ ตอนไหนกันแน่ แตกต่างจากยาคุมกำเนิดแบบประจำยังไง? โดยปกติแล้ว ยาคุมฉุกเฉินจะถูกเลือกใช้ได้หลายกรณี ดังนี้
- มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน
- ผู้ที่ถูกข่มขืน ถูกล่วงละเมิดทางเพศ
- ถุงยางอนามัยหลุด ถุงยางอนามัยฉีกขาด
- ลืมกินยาคุมกำเนิดแบบประจำ หรือ ไม่ได้ฉีดยาคุมหรือฝังยาคุมตามกำหนดการ
- มีการหลั่งน้ำอสุจิภายในช่องคลอด หรือหลั่งโดนอวัยวะเพศภายนอกโดยไม่ตั้งใจ
- วิธีการคุมกำเนิดแบบอื่นเกิดข้อผิดพลาด เช่น ยาคุมกำเนิดแบบฝังหรือห่วงคุมกำเนิดหลุด
วิธีการกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้อง
แล้วแบบนี้ยาคุมฉุกเฉินกินยังไง? วิธีกินยาคุมฉุกเฉินที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ คือ
สำหรับยาคุมฉุกเฉินแบบ 1 เม็ด ควรกินหลังจากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกันให้เร็วสุด ภายในเวลา 72 ชั่วโมง
สำหรับยาคุมฉุกเฉินแบบ 2 เม็ด ควรกินยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด (เม็ดแรก) หลังจากมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกันให้เร็วที่สุด ซึ่งควรกินภายในเวลา 72 ชั่วโมง หลังจากนั้น ให้กินยาคุมฉุกเฉินเม็ดที่ 2 ภายใน 12 ชั่วโมงถัดจากเม็ดแรก หรือกินพร้อมกัน 2 เม็ดในครั้งเดียวก็ได้
เนื่องจากประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์จะลดลงตามระยะเวลา จึงทำให้หากคุณยิ่งใช้ยาคุมฉุกเฉินช้าเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดการตั้งครรภ์มากขึ้นเท่านั้น
การออกฤทธิ์ของยาคุมฉุกเฉิน
โดยทั่วไปแล้วอสุจิสามารถมีชีวิตรอดอยู่ภายในร่างกายผู้หญิงได้ประมาณ 48 – 72 ชั่วโมง หากเกิดเหตุการณ์ที่ไข่ตกลงมาพอดจะทำให้กระบวนการปฏิสนธิ (Fertilization) ระหว่างอสุจิกับไข่เริ่มต้นขึ้นจนก่อให้เกิดการตั้งครรภ์ได้ “ยาคุมฉุกเฉิน” จึงเป็นหนึ่งในตัวช่วยสำคัญที่จะป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ด้วยการออกฤทธิ์เปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ชะลอการตกไข่ หรือรบกวนการปฏิสนธิไม่ให้เกิดขึ้นนั่นเอง
แต่อย่างไรก็ตาม หากเกิดการปฏิสนธิและมีการฝังตัว (Implantation) ก่อนหน้าเรียบร้อยแล้ว การกินยาคุมฉุกเฉินจะไม่สามารถรบกวนหรือช่วยยุติการฝังตัว ส่งผลให้การตั้งครรภ์ยังคงสามารถดำเนินต่อไปได้
ข้อดีของยาคุมฉุกเฉิน
ข้อดีของยาคุมฉุกเฉิน ได้แก่…
- หาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไป
- ยาคุมฉุกเฉิน ราคาไม่แพงมาก
- ใช้งานได้ง่าย วิธีการกินยาคุมฉุกเฉินเข้าใจได้ไม่ซับซ้อน
- จะเลือกใช้ยาคุมฉุกเฉินแบบเม็ดเดียว หรือแบบชนิดสองเม็ด ก็มีประสิทธิภาพป้องกันได้ไม่ต่างกัน
- ยาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ได้สูง กรณีมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน หรือเหตุจำเป็นอื่น ๆ ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ เช่น ถุงยางอนามัยฉีกขาด การถูกข่มขืน ฯลฯ
ผลข้างเคียงของยาคุมฉุกเฉินมีอะไรบ้าง?
ถึงแม้ว่ายาคุมฉุกเฉินจะมีข้อดีอยู่มากมาย แต่ก็มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงขึ้นได้ ซึ่งผลข้างเคียงยาคุมฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นได้ ได้แก่
- คลื่นไส้ อาเจียน
- ปวดหัว
- ปวดท้องเหมือนปวดท้องประจำเดือน
- รู้สึกคัดตึงบริเวณหน้าอก
- เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างเดือน
- ประจำเดือนรอบถัดไปอาจมาเร็วขึ้นหรือช้าลงกว่าปกติ
ข้อควรทราบเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉิน
แม้ว่ายาคุมฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ค่อนข้างสูง แต่ก็ยังมีอีกหลายด้านเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉินที่ควรรู้ ซึ่งข้อควรทราบเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉิน มีดังนี้
- การกินยาคุมฉุกเฉินช้า-เร็ว มีผลต่อประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ด้วย
- ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
- ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้ 100% แม้ว่ายาคุมฉุกเฉินจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันตั้งครรภ์ได้สูง แต่ก็ยังมีโอกาสตั้งครรภ์ได้
- กินยาคุมฉุกเฉินบ่อยเกินไป อาจเสี่ยงส่งผลกระทบต่อร่างกาย เช่น เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก หรือเกิดความผิดปกติที่บริเวณระบบสืบพันธุ์
- หากต้องการคุมกำเนิดในระยะยาว ควรใช้เป็นยาคุมกำเนิดปกติแบบทานประจำ เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการป้องกันมากกว่ายาคุมฉุกเฉิน และมีราคาถูกกว่า
- ไม่ควรใช้ยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 กล่องต่อเดือน
ปรึกษาเรื่องการใช้ยาคุมฉุกเฉินกับเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวันถึงเที่ยงคืน ไม่มีค่าปรึกษา
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉิน
ปกติแล้วยาคุมฉุกเฉินกินได้กี่ครั้ง? กินยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 ครั้งในชีวิตอันตรายไหม? สารพัดเรื่องกลุ้มใจของการใช้ยาคุมฉุกเฉินที่ไม่รู้จะถามใครดี BeDee รวบรวมคำถามยอดฮิตที่พบบ่อย มาตอบให้หายข้องใจ ดังนี้
1. ไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 ครั้งในชีวิต จริงหรือไม่?
ยาคุมฉุกเฉินห้ามกินเกินกี่ครั้ง? ความเชื่อที่ว่า ไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉินเกิน 2 ครั้งในชีวิต จริงหรือไม่?
คำตอบก็คือ “ไม่เป็นความจริง” เพียงแต่ยาคุมฉุกเฉินควรใช้ในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เท่านั้น ไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉิน 2 ครั้ง ใน 1 เดือน หรือ 2 กล่องต่อเดือน เนื่องจากภายในยาคุมฉุกเฉินมีปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงสูงกว่ายาคุมกำเนิดแบบมาตรฐานถึง 2 เท่า ทำให้มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดเยื่อบุโพรงมดลูกผิดปกติ หรือการตั้งครรภ์นอกมดลูกได้
2. ใครที่ไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉินบ้าง?
การใช้ยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ด หรือแบบ 2 เม็ด อาจไม่ใช่ทุกคนที่จะสามารถกินยาคุมฉุกเฉินได้ ผู้ที่ไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉิน ได้แก่
- คนที่อยู่ในระหว่างตั้งครรภ์ หรือช่วงให้นมบุตร
- คนที่เป็นโรคอ้วน มีไขมันในเลือดสูง หรือความดันโลหิตสูง
- มีความผิดปกติที่ตับหรือไต เช่น โรคตับแข็ง โรคตับเฉียบพลัน
- มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหัวใจ โรคลิ่มเลือดอุดตัน
- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ
- โรคอื่นๆ เช่น โรคลมชัก โรคเบาหวาน โรคหอบหืดระดับรุนแรง โรคไมเกรน
- ทานยาหรืออาหารเสริมที่สามารถเกิดปฏิกิริยากับยาคุมฉุกเฉินได้ เช่น ยาปฏิชีวนะบางชนิด ยาโรคลมชัก วัณโรค
หากไม่มั่นใจว่า ตนเองสามารถทานยาคุมฉุกเฉินได้หรือไม่ เนื่องจากมีโรคประจำตัว หรือมีตัวยาที่ต้องทานเป็นประจำ แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยา BeDee มีบริการปรึกษาหมอออนไลน์ และปรึกษาเภสัชกร ผ่านแอปฯ BeDee ครบจบทุกเรื่องสุขภาพ
3. หลังกินยาคุมฉุกเฉินแล้วมีเลือดออก อันตรายไหม?
บางคนอาจประสบปัญหาว่า หลังกินยาคุมฉุกเฉินแล้ว จู่ ๆ มีเลือดออกผิดปกติที่ทางช่องคลอด ซึ่งกรณีแบบนี้ เป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาคุมฉุกเฉินที่สามารถเกิดขึ้นได้ เนื่องจากยาคุมฉุกเฉินมีฮอร์โมนเพศจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ควรสังเกตตนเองเพิ่มเติม หากมีเลือดออกผิดปกติเกินกว่า 7 วัน หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ เช่น ปวดท้องมาก ฯลฯ ให้รีบเข้าพบแพทย์ เพื่อตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม
กินยาคุมฉุกเฉินชนิด 2 เม็ด พร้อมกันในครั้งเดียวได้ไหม?
ถ้ากินยาคุมฉุกเฉินชนิด 2 เม็ด พร้อมกันในครั้งเดียว จะเหมือนกับการใช้วิธีกินยาคุมฉุกเฉิน 1 เม็ดไหม?
คำตอบก็คือ 2 วิธีนี้ มีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้เหมือนกัน เพียงแต่การนำยาคุมฉุกเฉินชนิด 2 เม็ด มาทานพร้อมกันในครั้งเดียว อาจเกิดผลข้างเคียงได้ง่ายกว่า เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ฯลฯ
ยาคุมฉุกเฉินควรกินภายในกี่ชั่วโมง?
ยาคุมฉุกเฉินกินภายในกี่ชั่วโมง? กรณีที่ดีที่สุด คือ การกินยาคุมฉุกเฉินหลังมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกันให้เร็วที่สุด แต่ถ้าหากเวลานั้นไม่มียาคุมฉุกเฉินสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้โดยการกินยาคุมฉุกเฉินภายใน 72 ชั่วโมง ซึ่งประสิทธิภาพยาจะขึ้นอยู่กับความช้า-เร็วในการกินยาคุมฉุกเฉิน
ยาคุมฉุกเฉินป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ไหม?
ยาคุมฉุกเฉิน “ไม่สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้” เช่น หนองใน ซิฟิลิส หากต้องการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ควรใช้ถุงยางอนามัยขณะมีเพศสัมพันธ์
สรุปยาคุมฉุกเฉินกินยังไงให้ปลอดภัย
การกินยาคุมฉุกเฉินให้ปลอดภัย ควรกินยาภายใต้คำแนะนำอย่างเคร่งครัด ใช้ยาคุมฉุกเฉินเฉพาะกรณีจำเป็นเท่านั้น ไม่ควรกินยาคุมฉุกเฉินบ่อยเกินไป และไม่ควรใช้เกิน 2 กล่องต่อเดือน เพื่อประสิทธิภาพที่ดี ควรรีบกินยาคุมฉุกเฉินหลังมีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกันให้เร็วที่สุด
มีข้อกังวลใจเกี่ยวกับยาคุมฉุกเฉินแต่ไม่รู้จะถามใครดี? BeDee พร้อมตอบทุกข้อสงสัยเรื่องยาคุมฉุกเฉิน สิว, ฝ้า กระ หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ปรึกษาหมอออนไลน์หรือปรึกษาเภสัชกร ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีแพทย์ พยาบาล และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้า เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
ภก.วิรุฬห์ ก้องศิริวงศ์
เภสัชกร
Which kind of emergency contraception should I use?. (n.d.). Planned Parenthood.
Emergency contraception (morning after pill, IUD). (2018, February 22). NHS. https://www.nhs.uk/conditions/contraception/emergency-contraception/
Emergency contraception. (2021, November 09). World Health Organization. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/emergency-contraception
The morning-after pill following unprotected sex. (2022, May 18). University of lowa Hospitals & Clinics. https://uihc.org/health-topics/morning-after-pill-following-unprotected-sex
WebMD Editorial Contributors. (2023, April 14). Emergency Contraception FAQ. https://www.webmd.com/sex/birth-control/faq-questions-emergency-contraception