ยาคุมฉุกเฉินออกฤทธิ์เปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน เพื่อชะลอการตกไข่ หรือรบกวนการปฏิสนธิไม่ให้เกิดขึ้น อสุจิสามารถมีชีวิตรอดอยู่ภายในร่างกายผู้หญิงได้ประมาณ 48 – 72 ชั่วโมง จึงควรทานยาคุมฉุกเฉินภายในช่วงเวลาดังกล่าว ยาคุมฉุกเฉินไม่สามารถป้องกันการตั้งครรภ์ไ
PMS สัญญาณเตือนก่อนมีประจำเดือนที่ผู้หญิงต้องระวัง
เมื่อพูดถึงการมีประจำเดือนหรืออาการเมนส์จะมาหลายคนอาจจะนึกถึงอาการปวดท้องประจำเดือน, ตกขาว หรือสิว จริง ๆ แล้วไม่ใช่อาการเหล่านี้เท่านั้นที่เกี่ยวข้องกับการมีประจำเดือน แต่อาการก่อนเมนส์มาหรืออาการ PMS ยังสร้างความรำคาญและการเปลี่ยนทั้งด้านร่างกายและจิตใจอีกด้วย ทั้งอาการหงุดหงิดง่าย โมโห อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ปวดหลัง แล้วเราจะจัดการและรับมือกับอาการเหล่านี้ที่เกิดขึ้นทุกเดือนอย่างไรดี
PMS คืออะไร
Premenstrual Syndrome หรือ PMS คืออาการก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิงโดยเฉพาะในกลุ่มอายุ 20-40 ปี หลายคนอาจไม่รู้ตัวว่าอาการที่เป็นอยู่ในช่วงก่อนประจำเดือนมานี้เป็นส่วนหนึ่งของ PMS โดยอาการ PMS ส่วนใหญ่ที่พบ ได้แก่ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย รู้สึกไม่สบายตัวเหมือนจะไม่สบาย มีสิวขึ้น เป็นต้น อาการเหล่านี้มักปรากฎในช่วง 5-11 วัน ก่อนมีประจำเดือน และเมื่อประจำเดือนมาแล้วอาการต่าง ๆ ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นและหายไป
อาการ PMS
อาการก่อนเมนส์มาหรือ PMS ที่พบได้ส่วนใหญ่โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว ได้แก่
อาการด้านร่างกาย
- คัดเต้านม ก่อนประจำเดือนมาอาจรู้สึกคัดเต้านม เจ็บ ตึงเต้านมเมื่อสัมผัส
- น้ำหนักตัวเพิ่ม ตัวบวม
- อยากอาหารมากกว่าปกติ รู้สึกอยากกินจุกจิกบ่อย
- ท้องอืด ท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย แน่นท้อง
- เหนื่อย อ่อนแรง เพลีย
- ปวดหัว อาจมีอาการคล้ายปวดไมเกรน
- ปวดท้อง
- ปวดหลัง ปวดส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย
- มีสิวขึ้นโดยเฉพาะบริเวณใบหน้า
อาการด้านอารมณ์และพฤติกรรม
- หงุดหงิด โมโหง่าย
- เครียด
- อารมณ์แปรปรวน
- รู้สึกกังวล ซึมเศร้า
- นอนไม่หลับหรือนอนหลับมากเกินไป
ปรึกษาอาการ PMS กับคุณหมอที่แอป BeDee สะดวก ไม่มีค่าจัดส่งยา
สาเหตุของอาการ PMS
อาการ PMS หรืออาการก่อนเมนส์มาที่สาว ๆ เรียกนั้นมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน (estrogen) และฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (progesterone) ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าปกติในช่วงตกไข่ ประกอบกับการลดลงของสารเคมีในสมองที่เรียกว่า เซโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งสารเซโรโทนินนี้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ต่าง ๆ จึงทำให้ผู้หญิงเราเกิดอารมณ์แปรปรวนช่วงก่อนเมนส์มานั่นเอง
วิธีป้องกันและรับมือเมื่อมีอาการ PMS
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนและแอลกอฮอล์ เน้นการดื่มน้ำเปล่าเพื่อป้องกันและลดอาการนอนไม่หลับ
- รับประทานอาหารมีประโยชน์ เช่น ข้าวกล้อง แป้งไม่ขัดสี ธัญพืช ขนมปังโฮลวีต
- พยายามไม่กังวล ไม่เครียด ทำจิตใจให้สบาย
- หากรู้สึกอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดบรรยากาศหรือผู้คนใกล้ตัวอาจลองเปลี่ยนบรรยากาศ เช่น ออกไปเที่ยว ค่อย ๆ ปรับอารมณ์ หรือหากอาการรุนแรงสามารถปรึกษาจิตแพทย์ได้
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หรืออย่างน้อย 150 นาที/สัปดาห์
- พักผ่อนให้เพียงพอ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ PMS
PMS กับ PMDD ต่างกันอย่างไร?
Premenstrual Dysphoric Disorder หรือ PMDD คือกลุ่มอาการก่อนเมนส์มาซึ่งส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจที่รุนแรงกว่า PMS โดย PMDD มักปรากฎอาการช่วงก่อนเมนส์มา 1-2 อาทิตย์ อาการที่พบบ่อยมักเป็นอาการทางด้านอารมณ์ เช่น ร้องไห้ง่าย อารมณ์หงุดหงิดและโมโหรุนแรง ท้อแท้ ซึมเศร้า เบื่อหน่ายกิจกรรมที่เคยชื่นชอบ และในบางรายอาจรุนแรงถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย
PMS รักษาได้หรือไม่?
pms รักษาด้วยการดูแลอาการที่เกิดขึ้น เช่น พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และคาเฟอีน หรือหากมีอาการปวดท้องอาจรับประทานยาแก้ปวดประจำเดือนกลุ่ม NSAIDs ยาต้านเศร้า ยาฮอร์โมนคุมกำเนิด ทั้งนี้การรับประทานยาใด ๆ ก็ตามควรปรึกษาแพทย์และเภสัชกรก่อนรับประทานเท่านั้น
PMS อาจไม่ปกติเสมอไป
PMS อาจสร้างความรำคาญ ทำให้เกิดอาการไม่สบายเนื้อไม่สบายตัวก่อนเมนส์มา ซึ่งบางคนอาจมีอาการเพียงเล็กน้อยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ในบางรายอาจมีอาการ PMS รุนแรงหรืออาจเกิดโรคอื่นๆ จนต้องพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
อย่านิ่งนอนใจอาการ PMS ปรึกษาหมอออนไลน์เรื่องปัญหาสุขภาพสตรีหรือปรึกษาเภสัชกรบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ร้อมส่งสินค้าถึงมือ ไม่ต้องลางาน ไม่ต้องหยุดเรียน สะดวก เป็นส่วนตัว สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content Powered by BeDee Expert
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
Premenstrual syndrome (PMS) | Office on Women’s Health. (n.d.). https://www.womenshealth.gov/menstrual-cycle/premenstrual-syndrome
NHS inform. (2023b, February 28). Premenstrual Syndrome (PMS). NHS Inform. https://www.nhsinform.scot/healthy-living/womens-health/girls-and-young-women-puberty-to-around-25/periods-and-menstrual-health/premenstrual-syndrome-pms/