โรคแพนิค แบบทดสอบ

โรคแพนิคหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่หลายคนคงได้ยินชื่อและเป็นอีกโรคที่สร้างความยากลำบากต่อการใช้ชีวิตไม่แพ้โรคทางจิตเวชอื่น ๆ อย่างเช่นโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเกิดแพนิคตอนอยู่ในที่สาธารณะและไม่สามารถควบคุมอาการได้จึงยากที่จะรับมือ ความยากลำบากนี้เกิดขึ้นกับทั้งตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้างที่อาจไม่เข้าใจถึงโรคดังกล่าว โรคแพนิค แบบทดสอบเช็กลิสต์ของเราจะช่วยให้รู้จักกับโรคนี้มากขึ้น มาทำความเข้าใจและดูวิธีสังเกตอาการโรคแพนิคเลย

สารบัญบทความ

โรคแพนิค แบบทดสอบสัญญาณเตือนอาการแพนิค

วิธีใช้แบบทดสอบอาการแพนิค

อาการแพนิคแอทแท็ค (Panic Attack) มีความแตกต่างจากโรคแพนิค คนที่มีอาการแพนิคแอทแท็คไม่จำเป็นต้องเป็นโรคแพนิคเสมอไป อาการนี้สามารถพบได้ในโรคต่าง ๆ นอกจากโรคแพนิคได้ เช่น โรคกลัวสังคม (Social Anxiety Disorder) โรคกลัวเฉพาะอย่าง (Specific Phobia) โรคเครียดภายหลังเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ (Post-Traumatic Stress Disorder) เป็นต้น

หลายคนอาจะเกิดคำถามว่าแล้วเราเป็นโรคแพนิคแล้วหรือยัง อาการของโรคแพนิครุนแรงหรือไม่ สามารถเช็คโรคแพนิคเบื้องต้นด้วยเองได้

 

เกณฑ์การวินิจฉัยโรคแพนิค ตาม DSM-5 หรือ คู่มือวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders: DSM) ฉบับที่ 5 ซึ่งเป็นคู่มือจิตแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ใช้ในอ้างอิงและวินิจฉัยภาวะความผิดปกติทางจิตของผู้ป่วย โดยคู่มือนี้ถูกรวบรวมและเผยแพร่โดยสมาคมจิตเวชศาสตร์สหรัฐอเมริกา (American Psychiatric Association) โรคแพนิค แบบทดสอบเช็กลิสต์ของเรามีอาการทั่วไปที่ควรสังเกตดังนี้

 

  1. มีอาการแพนิคแอทแท็ค ซ้ำ ๆ โดยแพนิคแอทเท็คนี้จะมีอาการกลัว หรืออึดอัดเป็นอย่างมาก ทันทีทันใด กลัวถึงจุดสูงสุดภายในไม่กี่นาที และมีอาการดังนี้อย่างน้อย 4 อาการ

 

1) ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หรือหัวใจเต้นเร็ว

2) เหงื่อแตก

3) ตัวสั่น 

4) มีความรู้สึกเหมือนหายใจไม่ออก หายใจไม่สุด

5) รู้สึกเหมือนจะสำลัก

6) เจ็บแน่นหน้าอก

7) คลื่นไส้ หรือไม่สบายท้อง

8) รู้สึกเวียนศีรษะ หวิวๆ เหมือนจะเป็นลม

9) หนาวสั่น หรือรู้สึกร้อน

10) ตัวชา เป็นได้ทั้งอาการตึง ๆ ไม่รู้สึกอะไร หรือซ่า ๆ

11) รู้สึกเหมือนไม่ใช่ตัวเอง รู้สึกเหมือนไม่ได้อยู่ในความเป็นจริง

12) กลัวที่จะเสียการควบคุม รู้สึกเหมือนจะเป็นบ้า

13) กลัวตาย

 

  1. จะต้องมีอาการแพนิคแอทแท็ค อย่างน้อย 1 ครั้ง และจะมีอาการดังนี้อย่างน้อย 1 ใน 2 ข้อ อย่างน้อย 1 เดือน

 

1) กังวล หรือกระวนกระวายใจตลอดที่จะมีอาการแพนิคแอทแท็คซ้ำ หรือกังวลผลที่จะตามมา เช่น กลัวจะเสียการควบคุม เป็นโรคหัวใจ หรือจะเป็นบ้า

2) มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงหลังจากเกิดแพนิคแอทแท็ค เช่น ไม่ออกกำลังกาย หรือหลีกเลี่ยงสถานที่ที่ทำให้เกิดอาการแพนิคแอทแท็ค

3) อาการเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับโรคทางกาย เช่น ไทรอยด์เป็นพิษ โรคหัวใจ ผลข้างเคียงของยา หรือจากการใช้สารเสพติด

4) ไม่สามารถอธิบายได้จากโรคทางจิตเวชอื่น ๆ เช่น มีอาการแพนิคแอทแท็คจากโรคกลัวสังคม โรค Specific phobia โรคย้ำคิดย้ำทำ หรือโรควิตกกังวลต่อการแยกจาก เป็นต้น

 

ศึกษาเกี่ยวกับอาการของโรคแพนิคเพิ่มเติมได้ที่ 13 อาการแพนิค

 

หากไม่แน่ใจอาการแพนิค ลองปรึกษาจิตแพทย์ได้ที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง เป็นส่วนตัว

การทำแบบทดสอบโรคแพนิค สำคัญอย่างไร

โรคแพนิค แบบทดสอบสำคัญมากในเรื่องของการประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นแพนิคมากน้อยแค่ไหน สำหรับแบบทดสอบโรคแพนิคจะช่วยวิเคราะห์และประเมินโรคแพนิคเบื้องต้นได้ว่าเป็นอาการแพนิคที่รุนแรงมากน้อยแค่ไหน หรือมีแนวโน้มว่าจะพัฒนากลายเป็น “โรค” ได้ หากเราพบว่ามีความเสี่ยงสูง และพบนักจิตวิทยากับจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้มีแนวโน้มในการหายจากโรคได้เร็วและสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

 

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง วิธีเอาชนะโรคแพนิค เคล็ดลับรู้เท่าทันและการรับมือ

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ โรคแพนิค แบบทดสอบ

1. โรคแพนิคมีโอกาสหายไหม?

โรคแพนิคสามารถรักษาหายขาดได้ แต่แนะนำให้รีบพบแพทย์และรับการรักษาโดยเร็วจะช่วยให้การรักษาง่ายขึ้น

2. โรคแพนิคอันตรายไหม?

โรคแพนิคเป็นโรคเกี่ยวกับ ระบบประสาทอัตโนมัติที่ทำงานผิดปกติ ไม่ได้เกิดจากโรคทางกายอื่นๆ ดังนั้นโรคนี้ไม่เป็นอันตราย และผู้ป่วยจะไม่เสียชีวิตจากโรคนี้ อย่างไรก็ตามผู้ป่วยควรได้รับการตรวจจากแพทย์เพื่อวินิจฉัยแยกโรคทางกายออกก่อนที่จะวินิจฉัยโรคแพนิคจริง ๆ เนื่องจากโรคหัวใจ หรือโรคปอด ที่อาจมีอาการคล้ายกันนี้ อาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้

3. แพนิคแบบไหนถึงต้องไปหาหมอ?

เมื่อมีอาการใจสั่น, หายใจลำบาก, เหงื่อแตก, มือเท้าเย็น, หน้ามืดจะเป็นลม หรือมีอาการตื่นตระหนกบ่อย ๆ จนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การทำงาน หรือความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ควรเข้ารับการประเมินโดยแพทย์เพื่อแยกโรคแพนิคกับโรคทางกายอื่น ๆ เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม

สรุป โรคแพนิค แบบทดสอบ ไม่แน่ใจอาการ รีบปรึกษาแพทย์ด่วน

หากทำแบบประเมินแพนิคแล้วไม่แน่ใจ หรือรู้สึกตัวเองหรือคนใกล้ชิดมีอาการเข้าข่ายโรคแพนิคอย่าปล่อยไว้ รีบปรึกษาจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก เพื่อเข้ารับการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

ธนวินท์ มีลาภอุดมชัย

นักจิตวิทยาคลินิก

  • Association, A. P. (2015). Anxiety Disorders: DSM-5® Selections. American Psychiatric Pub.

https://www.nhs.uk/mental-health/conditions/panic-disorder/#:~:text=Panic%20disorder%20is%20treatable%20and,very%20difficult%20to%20cope%20with.

  • Department of Health & Human Services. (n.d.). Mental Health First Aid (MHFA) course. Better Health Channel. Retrieved May 5, 2023, from https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/servicesandsupport/mental-health-first-aid-course#the-algee-action-plan

  • Sadock, B. J., Sadock, V. A., & Ruiz, P. (2015). Kaplan and Sadock’s synopsis of psychiatry: Behavioral sciences/clinical psychiatry (11th ed.). Wolters Kluwer Health.
บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบประเมินความเครียดเป็นเครื่องมือคัดกรองโรคเครียดรูปแบบหนึ่ง เวลาที่เราเครียดเรามักประเมินความเครียดในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็สังเกตจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่นนอนไม่หลับ, ปวดหัวเรื้อรัง, กรดไหลย้อน, ท้องอืด เป็นต้น หรือประเมินควา

วิธีพูดกับคนเป็นไบโพลาร์ ถ้าหากมีคนใกล้ตัวเป็นไบโพลาร์ หลายคนก็อาจมีความกังวลว่า แล้วเราต้องพูดกับเขาอย่างไร ถ้าหากอยากให้กำลังใจ ควรจะต้องใช้คำพูดแนวไหน วันนี้เราได้รวบรวมวิธีคุยกับคนเป็นไบโพลาร์มาไว้แล้ว เชื่อว่าหากได้นำวิธีที่แนะนำไปปรับใช้กับแนวท