ในสถานการณ์ปัจจุบันนี้ไม่ว่าจะเป็นวัยเรียน วัยทำงาน ต้องพบเจอสถานการณ์หลากหลายรูปแบบ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ได้รับแรงกดดัน จนเกิดเป็นความเครียดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งในแต่ละกรณีก็อาจจะมีวิธีแก้ปัญหาที่แตกต่างกันไป แต่หากเป็นความกดดันที่เกิดขึ้น
คนท้องนอนไม่หลับทำไงดี? รวมวิธีจัดการปัญหานอนไม่หลับในคุณแม่ตั้งครรภ์แบบปลอดภัย
Key Takeaways
- คนท้องนอนไม่หลับเป็นอาการที่พบได้ในช่วงตั้งครรภ์เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย ฮอร์โมน และอารมณ์
- หากคุณแม่มีอาการนอนไม่หลับควรหาวิธีผ่อนคลายโดยไม่ใช้ยานอนหลับ เพราะอาจส่งผลต่อทารก
- หากมีอาการนอนไม่หลับรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์ ไม่ควรซื้อยานอนหลับมารับประทานเอง
คนท้องนอนไม่หลับสาเหตุเกิดจากอะไร?
นอนไม่หลับไม่ใช่ปัญหาที่พบในคนทั่วไปเท่านั้นแต่ยังพบในช่วงตั้งครรภ์ได้อีกด้วย อาการคนท้องนอนไม่หลับเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ อาการนอนไม่หลับในคนท้องเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยทั่วไปมักเกิดจากปัจจัยดังนี้
ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง
ในช่วงการตั้งครรภ์นั้น ระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนและเอสโตรเจนในร่างกายของคุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการนอนหลับผิดปกติ รู้สึกอ่อนเพลีย แต่กลับทำให้ตอนกลางคืนนอนไม่หลับ
ร่างกายเปลี่ยนแปลง
คนท้องนอนไม่หลับสาเหตุหนึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย เช่น มดลูกขยายตัวทำให้ปวดปัสสาวะบ่อย อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย บวมน้ำ กรดไหลย้อน หรือตะคริว เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนอนหลับของคุณแม่
เกิดความเครียด วิตกกังวล
แน่นอนว่าในการตั้งครรภ์คุณแม่ย่อมมีความวิตกกังวลต่อเรื่องสุขภาพร่างกาย กังวลว่าลูกน้อยจะเป็นอันตรายหรือได้ผลรับผลกระทบหรือไม่ มีความกังวลเกี่ยวกับการคลอด การดูแลทารก หรือความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ทำให้เกิดความเครียดที่รบกวนการนอน
BeDee Tips: วิธีเอาชนะ อาการนอนไม่หลับในคนทั่วไปทำอย่างไรดี? อ่านเพิ่มเติมเลย
คนท้องนอนไม่หลับอันตรายไหม?
ท้องแล้วนอนไม่หลับอันตรายต่อลูกน้อยหรือไม่เป็นคำถามที่คุณแม่หลายคนเกิดความสงสัย อาการคนท้องนอนไม่หลับนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากสาเหตุต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย รวมถึงความเครียด ความวิตกกังวลต่าง ๆ ซึ่งทำให้คนท้องนอนไม่หลับ อย่างไรก็ตามหากอาการนอนไม่หลับของคุณแม่เกิดขึ้นเพียงระยะเวลาสั้น ๆ อาจไม่ส่งผลกระทบต่อลูกน้อย แต่หากคุณแม่มีอาการนอนไม่หลับเรื้อรังต่อเนื่องเป็นเวลาหลายคืนขึ้นไป อาจทำให้คุณแม่อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า อารมณ์แปรปรวน เพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด และส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของทารก
BeDee Tips: Sleep Test เหมาะกับใคร ทำไมจึงควรตรวจการนอนหลับ?
วิธีแก้ปัญหาคนท้องนอนไม่หลับ
คำถามที่หลายคนสงสัยคือแล้ววิธีแก้อาการนอนไม่หลับของคนท้องควรทำอย่างไร? จะให้ทานยานอนหลับก็อาจส่งผลกระทบต่อลูกน้องในครรภ์ได้ วันนี้ BeDee มีวิธีแก้ปัญหาคนท้องนอนไม่หลับแบบไม่อันตรายต่อลูกน้อยมาฝากกัน
จิบเครื่องดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอน
หากคุณมีปัญหาคนท้องนอนไม่หลับลองหาเครื่องดื่มอุ่น ๆ ที่ไม่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีนมาจิบก่อนนอน เช่น นมอุ่น น้ำขิง หรือชาคาโมมายล์ การดื่มเครื่องดื่มอุ่น ๆ ก่อนนอนจะช่วยให้รู้สึกสบายท้อง นอนหลับสบายยิ่งขึ้น แต่ไม่ควรดื่มมากเกินไปเพราะอาจทำให้รู้สึกปวดปัสสาวะในตอนกลางคืนได้ นอนไม่หลับกินอะไรดี ดูไอเดียเพื่อช่วยในการนอนหลับเพิ่มเติมเลย!
อาบน้ำอุ่น
คุณแม่ที่ท้องอ่อน ๆ นอนไม่หลับกลางคืนหรือคุณแม่ท้องแก่นอนไม่หลับลองอาบน้ำอุ่นก่อนนอน เนื่องจากการอาบน้ำอุ่นจะช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย ลดอาการความเมื่อยล้า ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น หมดปัญหาตั้งครรภ์นอนไม่หลับ
นวดผ่อนคลายก่อนนอน
คนท้องนอนไม่หลับลองให้คุณพ่อหรือญาติ ๆ ช่วยนวดเบา ๆ ช่วงบริเวณแขน ขา หลัง หรือคอบ่าไหล่ จะช่วยให้คุณแม่รู้สึกสบาย ผ่อนคลาย นอนหลับง่ายขึ้น
ออกกำลังกายเบา ๆ
คนท้องนอนไม่หลับสามารถใช้วิธีออกกำลังกายเบา ๆ เพื่อช่วยลดความเครียด นอนหลับได้ดีขึ้น สิ่งสำคัญคือควรหาวิธีออกกำลังกายที่เหมาะสมกับอายุครรภ์ในแต่ละช่วง เช่น เดินเล่น โยคะสำหรับคุณแม่ เป็นต้น
ปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม
จัดห้องนอนให้ เงียบ เย็น และ มืดสนิท การที่ห้องนอนมีอากาศที่ร้อนเกินไป มีแสงและเสียงจากภายนอกรบกวน อาจส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับได้
ปรึกษาคุณหมอ
ในกรณีที่คุณแม่หรือคนท้องนอนไม่หลับที่มีอาการเรื้อรัง ใช้วิธีจัดการต่าง ๆ แล้วไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม
ท้อง 8 เดือนนอนไม่หลับปรึกษาคุณหมอที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก ส่งยาถึงที่
คนท้องนอนไม่หลับปรึกษาที่ไหนดี?
เมื่อมีอาการนอนไม่หลับแน่นอนว่าคุณแม่หลายคนย่อมวิตกกังวล เกิดความเครียดว่าจะทำอย่างไรดี การนอนไม่หลับจะส่งผลอันตรายต่อลูกในครรภ์หรือไม่ และเมื่อยิ่งเกิดความเครียดดังกล่าวก็จะยิ่งทำให้อาการนอนไม่หลับรุนแรงมากขึ้น เมื่อมีปัญหาคนท้องนอนไม่หลับสามารถปรึกษาคุณหมอผ่านแอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ คุณหมอสูตินรีเวชที่ชำนาญการเฉพาะทางจากเครือ BDMS พร้อมให้คำแนะนำและการดูแลทันที สะดวก ไม่ต้องเดินทาง พร้อมส่งยาถึงที่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับคนท้องนอนไม่หลับ
1. คนท้องควรนอนวันละกี่ชั่วโมง
คนท้องควรนอนพักผ่อนประมาณ 7-9 ชั่วโมงต่อวันเช่นเดียวกับคนทั่วไป แต่ในช่วงตั้งครรภ์คุณแม่อาจมีความต้องการพักผ่อนมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้รู้สึกเพลีย เหนื่อยล้า หากรู้สึกเพลียมากอาจเลือกงีบสั้น ๆ ในช่วงกลางวันได้
2. คนท้องกินยานอนหลับได้ไหม
โดยทั่วไปแล้ว คนท้องควรหลีกเลี่ยงการใช้ยานอนหลับเพราะอาจมีผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามหากคุณแม่มีอาการนอนไม่หลับรุนแรง จำเป็นต้องทานยา ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนทุกครั้ง ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองโดยเด็ดขาด
3. คนท้องนอนดึกมีผลต่อลูกไหม
การพักผ่อนไม่เพียงพอหรือการนอนดึกของคุณแม่นั้นอาจส่งผลกระทบต่อลูกน้อย เช่น เกิดปัญหาในการเจริญเติบโตและพัฒนาการ หรืออาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนดในกรณีที่คุณแม่พักผ่อนไม่เพียงพอเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน หากกำลังมีปัญหาคนท้องนอนไม่หลับสามารถปรึกษาแพทย์ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน
คนท้องนอนไม่หลับ หากมีอาการเรื้อรังควรปรึกษาคุณหมอ
ถึงแม้ว่าอาการนอนไม่หลับจะสามารถพบได้ในช่วงตั้งครรภ์แต่ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ หากคุณแม่มีอาการนอนไม่หลับติดต่อกันนาน ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อไม่ให้อาการนอนไม่หลับส่งผลกระทบต่อลูกน้อย
ปรึกษาหมอออนไลน์ นักกำหนดอาหาร พยาบาล และปรึกษาเภสัชกรแบบไม่มีค่าใช้จ่ายบนแอป BeDee ได้ทุกวัน ส่งยาและสินค้าถึงที่ สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
Content powered by BeDee Expert
พญ. กัญจน์อมล ศิริเวช
อายุรแพทย์สมองและระบบประสาท
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
- Mindell, J. A., & Williamson, A. A. (2018). Sleep and sleep disorders in children and adolescents. Pediatrics, 141(1), e20173859.
https://doi.org/10.1542/peds.2017-3859 - Pregnancy Insomnia: Snooze Or Lose!. (n.d.). American Pregnancy Association. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/pregnancy-health-wellness/insomnia-during-pregnancy/
- Yang, H., & Chen, Y. (2019). The relationship between sleep quality and pregnancy outcomes: A systematic review and meta-analysis. Journal of Maternal-Fetal & Neonatal Medicine, 32(8), 1314-1321.https://doi.org/10.1080/14767058.2018.1445116