ยาทาแก้ผดผื่นคัน

ผื่นคัน เป็นความรู้สึกระคายเคืองบริเวณผิว อาจเป็นผลมาจากความผิดปกติของผิวหนัง เนื่องจากปัจจุบันมีปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้ผิวหนังของเราเกิดการระคายเคืองได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นสาเหตุจากมลภาวะ, แมลง, การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ รวมถึงสารเคมีต่าง ๆ ที่เต็มไปด้วยสิ่งไม่พึงประสงค์ ปัจจัยเหล่านี้อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคืองได้ ในบทความนี้จะมาแนะนำยาทาแก้ผื่นคัน เพื่อบรรเทาอาการระคายเคืองผิวหนัง พร้อมกับสาระน่ารู้เกี่ยวกับการใช้ยาทาแก้ผื่นคันที่ไม่ควรพลาด

สารบัญบทความ

ยาทาแก้ผื่นคันคืออะไร? เลือกอย่างไรให้เหมาะกับผิว

ยาทาลดผื่นคัน

ผื่นคันเป็นอาการที่พบได้บ่อย เมื่อเกิดการระคายเคืองผิวและมีอาการคันร่วมด้วย แม้ผื่นคันจะไม่ใช่อาการที่ร้ายแรงต่อสุขภาพ แต่อาจรบกวนชีวิตประจำวันได้ ในบางสาเหตุอาการคันสามารถเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันและหายเองได้ แต่หากมีอาการคันเกิดขึ้นอย่างรุนแรงและเป็นระยะเวลาต่อเนื่อง เราควรใช้ยาทาแก้ผื่นคันเพื่อบรรเทาอาการคันอย่างเหมาะสม

 

รับสาระน่ารู้ต่อได้ที่ : รู้จักกับ “ผื่นคัน” แต่ละประเภท มีอะไรบ้าง แตกต่างกันอย่างไร?

 

ยาทาแก้แพ้ แก้คันอาจช่วยบรรเทาอาการคันได้เพียงชั่วคราวจึงเหมาะกับผื่นคันบางประเภท แต่อาการคันเรื้อรังอาจจะเป็นสาเหตุหรืออาการแสดงของโรคร้ายแรงได้ จึงต้องปรึกษาแพทย์และเภสัชกรที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการนี้ ซึ่งยาทาแก้ผื่นคันมีหลายแบบ แตกต่างกันไปตามอาการและสภาพผิวหนังของแต่ละคน ดังนี้

1. ยาทาผื่นคันแบบเย็น (Cooling)

ยาทาแก้ผื่นคันประเภทนี้ จะช่วยลดอาการคันที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ เมื่อทายาทาผื่นคันแล้วจะรู้สึกเย็นและทำให้อาการคันลดลง ใช้ได้กับทุกวัยขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

2. ยาทาผื่นคันแบบช่วยให้ผิวชุ่มชื้น (Moisturizing)

ยาทาแก้ผื่นคันประเภทนี้ จะช่วยลดอาการคันและระคายเคืองผิวสำหรับผู้ที่มีผิวแห้งขาดความชุ่มชื้น ไม่ว่าจะเกิดจากอากาศหนาวหรืออากาศแห้งก็สามารถใช้ได้ ยาทาแก้คันประเภทนี้มีความปลอดภัยสูง ไม่มีสเตียรอยด์ ปราศจากน้ำหอมและแอลกอฮอล์

3. ยาทาผื่นคันแบบมีสเตียรอยด์ (Steroid)

ยาทาแก้ผื่นคันประเภทนี้ ใช้บรรเทาอาการคันในโรคผิวหนังที่มีการอักเสบแบบไม่ติดเชื้อ เช่น ผื่นแพ้อากาศ, โรคสะเก็ดเงิน และโรคผื่นภูมิแพ้ หลังจากใช้ยาทาแก้คันอาการอักเสบจะลดน้อยลงและทำให้อาการคันลดลงตามไปด้วย ยาประเภทนี้ไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งก่อนใช้ยา

4. ยาทาผื่นคันแบบยับยั้งฮิสตามีน (Antihistamine) 

ยาทาแก้ผื่นคันประเภทนี้ ใช้ลดอาการคันจากแมลงสัตว์กัดต่อยและคันจากโรคผิวหนังอื่น ๆ เช่น โรคลมพิษ ร่างกายจะรับรู้ได้ถึงความผิดปกติ ว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาในร่างกาย จึงมีการหลั่งสารฮิสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาอาการแพ้ต่าง ๆ ตามมา  เมื่อใช้ยาทาแก้คันจะทำให้เกิดการยับยั้งฮีสตามีนที่ปล่อยออกมาส่งผลให้ลดอาการคันและลดผื่นที่เกิดขึ้นตามผิวหนังอีกด้วย

 

ปรึกษาการใช้ยาแก้ผื่นคันกับเภสัชกรที่แอป BeDee ไม่มีค่าใช้จ่าย สะดวก ไม่ต้องเดินทาง พร้อมส่งสินค้าถึงมือ

แนะนำโลชันลดอาการคันจากผื่น

นอกจากยาทาแก้ผื่นคัน ผิวหนังอักเสบแล้วนั้น การดูแลผิวให้มีความชุ่มชื้นไม่แห้งตึงยังช่วยไม่ให้เกิดอาการคันจากภาวะผิวแห้งแตกได้ BeDee ขอแนะนำ 5 โลชันให้ความชุ่มชื้นสำหรับผิวบอบบางแพ้ง่าย

1. Physiogel Soothing Care A.I. Body Lotion

Physiogel Soothing Care

ครีมบำรุงผิว สูตรบางเบาหรือผิวผสม ช่วยปลอบประโลมผิวและลดปัญหาผิวแห้งที่ทำให้ผิวแดงและระคายเคือง พร้อมฟื้นบำรุงผิวให้ชุ่มชื้นยาวนาน ดูสุขภาพดี เหมาะสำหรับสำหรับผิวแห้งมาก ไวต่อการระคายเคือง 

  • ช่วยลดผิวแห้ง ให้ความชุ่มชื้นยาวนาน
  • ผ่านการทดสอบแล้วว่าสามารถฟื้นบำรุงปราการปกป้องผิว
  • ปราศจากสารกันเสีย น้ำหอม และสี

 

วิธีใช้ : ทาผิวเป็นประจำวันละ 2 ครั้ง

2. Cerave Moisturizing Cream

cerave ครีม

CeraVe Moisturizing Cream เติมเต็มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวพร้อมฟื้นบำรุงปราการปกป้องผิว เพื่อผิวหน้าและลำตัวที่แห้งถึงแห้งมากโดยเฉพาะ เหมาะสำหรับผู้ที่มีผิวบอบบาง ผิวแพ้ง่าย หรือผู้ที่มีแนวโน้มระคายเคืองง่าย เนื้อครีมเข้มข้นไม่เหนียวเหนอะหนะและซึมซาบลงสู่ผิวได้อย่างเร็ว มีเทคโนโลยี MVE Delivery Technology ค่อย ๆ กระจายส่วนผสมของไฮยาลูโรนิค แอซิดและเซราไมด์สามชนิดที่จำเป็นลงสู่ผิวได้ต่อเนื่องตลอดวัน ปราศจากน้ำหอม 

 

วิธีใช้ ใช้บำรุงผิวหน้าและผิวกาย ทาผลิตภัณฑ์ให้ทั่วบริเวณที่ต้องการเป็นประจำทุกวัน บ่อยครั้งตามต้องการ หรือตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ สามารถใช้ได้กับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไปและผู้ใหญ่

3. Ezerra Cream

ครีม ezerra

ครีมสำหรับเด็กและผู้ที่มีผิวแห้ง เหมาะกับผิวแพ้ง่าย อีเซอร์ร่าครีมไม่มีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ไม่แต่งสี ไม่แต่งกลิ่น ไม่มีสารกันเสียพาราเบน สามารถใช้เป็นประจำในระยะยาว มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ สเป็นเกรนแว็กซ์ เชียร์บัทเทอร์ และอาร์แกนออยล์ สูตรตำรับสารสกัดจากธรรมชาติ และแซคคาไรด์ ไอโซเมอเรท สารสกัดธรรมชาติ จากอนุพันธ์กลูโคสของพืช เป็นสารเพิ่มความชุ่มชื้นที่มีโครงสร้างเช่นเดียวกับสารที่ให้ความชุ่มชื้นธรรมชาติในชั้นผิวของเรา ได้รับการพัฒนาเพื่อให้มีประสิทธิภาพในการให้ความชุ่มชื้นกับผิว

วิธีใช้ ทาครีมทาผิวเด็ก Ezerra ที่ผิวหน้าและผิวกายได้บ่อยครั้งตามต้องการ เพื่อบำรุงและดูแลผิว

4. Eucerin Omega Soothing Cream

Eucerin Omega

ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้า และผิวกายสำหรับ สำหรับผู้มีปัญหาผิวแห้ง แดง คัน จากผิวที่มีแนวโน้ม ผื่นภูมิแพ้ และผิวแพ้ง่าย ด้วย Licochalcone A สารจากธรรมชาติ ช่วยลดปัญหาผิวแห้ง แดง และการระคายที่มีสาเหตุจากผิวแห้ง พร้อมผสาน Omega 3&6 fatty acids และ Ceramides เพื่อคืนความชุ่มชื่นและฟื้นบำรุงชั้นปกป้องผิว ให้มีสุขภาพดีขึ้น สูตรอ่อนโยน ปราศจากพาราเบน น้ำหอม และสี

 

วิธีใช้ : ทาผิววันละ 2 ครั้ง สามารถใช้ได้ทั้งผิวหน้าและผิวกาย

5. Eucerin Ultrasensitive Repair Cream

Eucerin Ultrasensitive

ครีมบำรุงหน้า ผิวแพ้ง่าย ด้วยนวัตกรรม Barrier Repair Innovation ที่เข้ามาช่วยดูแลและฟื้นบำรุงเกราะปกป้องผิวที่อ่อนแอและแพ้ง่าย ช่วยลดปัญหาผิวแห้ง แดง ระคายผิวใน 2 ชั่วโมง เมื่อใช้เป็นประจำอย่างต่อเนื่อง จะช่วยลดอาการระคายผิวที่เกิดจากปัญหาผิวแห้ง และจากปัจจัยภายนอกที่ทำร้ายผิว ทั้งอากาศ มลภาวะ ฝุ่น สารเคมี ความเครียด การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอด้วยสารสำคัญ 3 ชนิด

  • Symsitive ลดความรู้สึกไม่สบายระคายผิว
  • Licochalcone A ลดปัญหาผิวระคายไวต่อปัจจัยการทำร้าย
  • Dexpanthenol ช่วยฟื้นบำรุงและเสริมเกราะปกป้องผิว ให้เนื้อผิวใหม่ดูสม่ำเสมอ เรียบเนียนใส ดูสุขภาพดี

 

ปราศจากสารกันเสีย พาราเบน พาราฟินส์ สี น้ำหอม แอลกอฮอล์และซิลิโคนที่ก่อให้เกิดการระคายผิว

 

เนื้อสัมผัสเป็นเนื้อครีมที่บางเบา แต่ให้ความชุ่มชื่นเข้มข้นโดยไม่ทำให้อุดตันผิว จึงเหมาะสำหรับผิวธรรมดาถึงผิวแห้งและผิวแพ้ง่าย ช่วยเสริมให้เครื่องสำอางติดทนได้

 

วิธีใช้ : ทาบำรุงทั่วใบหน้าเป็นประจำทั้งเช้าและเย็น

ยาทาแก้ผื่นคันมีวิธีใช้อย่างไร?

วิธีใช้ครีมทาแก้คัน ผิวหนังอักเสบ

ยาทาแก้ผื่นคันมีหน้าที่ช่วยบรรเทาอาการแดง ผื่นคัน และเปลี่ยนแปลงสีผิวให้กลับมาสม่ำเสมอ ยาทาแก้ผื่นคันมีวิธีใช้โดยทั่วไปดังนี้

  • แนะนำให้ทายาแก้ผื่นคันบาง ๆ บริเวณที่มีอาการวันละ 1-2 ครั้ง เมื่ออาการดีขึ้นแนะนำให้หยุดใช้ยาทันที 
  • ทายาแก้คันบาง ๆ บริเวณที่มีอาการ หากผื่นมีบริเวณกว้างอาจจะต้องใช้ยาทาผื่นคันประเภทอื่นที่เหมาะสมหรืออาจพิจารณาใช้ยาแก้แพ้รูปแบบรับประทานตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร
  • ผู้ป่วยต้องตรวจสอบตนเองว่ามีอาการเบื้องต้นอย่างไร เพื่อง่ายต่อการซักประวัติโดยแพทย์หรือเภสัชกร
  • หากมีผื่นคันรุนแรงไม่ควรซื้อยาทาผื่นคันใช้เอง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรที่มีประสบการณ์
  • ปฏิบัติตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้การรักษาเกิดผลลัพธ์ที่ดี

 

ปรึกษาอาการผื่นคันกับแพทย์ผู้ชำนาญการที่แอป BeDee สะดวก ไม่ต้องเดินทาง

ข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ยาทาแก้ผื่นคัน

ยาทาแก้ผื่นคัน ข้อควรระวัง

แม้ว่าอาการคันและการระคายเคืองผิวจะเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งเราสามารถป้องกันได้ด้วยตัวเอง โดยเริ่มจากการรักษาความสะอาดของผิวหนัง การสวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด และการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่อาจก่อให้เกิดอาการคัน แต่หากอาการคันยังไม่หายอาจจำเป็นต้องใช้ยา เราควรทราบข้อควรระวังเกี่ยวกับการใช้ยาทาแก้ผื่นคันก่อน ดังนี้

  1. หากอาการแย่ลงหรือผื่นมีปริมาณเพิ่มขึ้นหลังจากใช้ยาทาแก้ผื่นคัน แสดงว่าอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรืออาจแพ้ยาทาแก้คัน ควรหยุดใช้ยาและรีบไปพบแพทย์ทันที
  2. หากมีอาการคันเนื่องจากโรคเรื้อรัง และยาทาแก้ผื่นคันไม่สามารถบรรเทาอาการได้ ต้องเข้ารับการรักษาโรคเรื้อรังดังกล่าวให้หายก่อน อาการคันจึงจะบรรเทา
  3. หากใช้ยาทาแก้ผื่นคันแล้วอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการคันเรื้อรังนานถึง 6 สัปดาห์ ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจมีสาเหตุอื่นและมีความเสี่ยงในการติดเชื้อภายบริเวณผิวหนังด้านในได้

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยาทาแก้ผื่นคัน

1. ยาทาแก้ผื่นคันใช้ติดต่อกันนาน ๆ ได้ไหม?

ยาทาแก้ผื่นคันไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะอาจจะถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ เช่น ทำให้ผิวบางลง ผิวแตก หรือ ทำให้เกิดผิวหนังบริเวณนั้นเกิดรอยได้ ทั้งนี้ควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร

2. ยาทาแก้ผื่นคันช่วยอาการแพ้เหงื่อได้ไหม?

ยาทาแก้ผื่นคันประเภทยับยั้งฮิสตามีน (Antihistamine) ช่วยต้านอาการแพ้เหงื่อได้ เพราะในเหงื่อมีสารบางอย่างที่ขับออกมาจากร่างกายที่ไปกระตุ้นในผิวหนังเกิดการระคายเคืองได้ แม้คนส่วนใหญ่จะใช้ยาคาลาไมน์เพื่อบรรเทาอาการคัน แต่ยาคาลาไมน์ไม่ได้ช่วยให้ผื่นหายน้อยลงเท่าที่ควร

3. ยาทาแก้ผื่นคันสามารถหาซื้อได้ทั่วไปไหม?

ยาทาแก้ผื่นคันสามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาที่มีเภสัชกร หรือใครอยากพบแพทย์เพื่อตรวจสอบผื่นคันเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ โดยแพทย์จะทำการทดสอบภูมิแพ้ผิวหนัง (Patch Test) หรืออาจทำการทดสอบการแพ้ด้วยการตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดได้เช่นกัน

สรุปยาทาแก้ผื่นคัน

การระคายเคืองผิวหรือมีผื่นคัน เป็นเรื่องทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน แม้อาการจะไม่รุนแรง แต่ก็ทำให้หลายคนไม่มั่นใจและเป็นกังวลกับอาการที่เกิดขึ้น หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจส่งผลเสียต่อผิวและทำให้ต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูผิวที่นานขึ้น ทั้งนี้อาการคันยังเป็นสิ่งที่รักษาให้หายได้ด้วยการใช้ยาทาแก้ผื่นคัน 

 

ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เราแพทย์ผิวหนัง พยาบาล และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

ภญ.วรรณพร เกตุเลิศประเสริฐ

เภสัชกร

Ellis, ME. (2023, October 18). What’s Causing Your Itchy Skin (pruritis)? (with Pictures). Healthline. https://www.healthline.com/health/itching


Higuera, V. (2022, December 23). Why is my skin itchy?. Medicalnewstoday. https://www.medicalnewstoday.com/articles/311473#treatment


Rashes. (2022, April 26). WebMD. https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/common-rashes


Zoellner, D. (2023, October 5). Best Anti-Itch Creams to Relieve Itchy Skin On the Spot. verywellhealth. https://www.verywellhealth.com/good-anti-itch-creams-82799

บทความที่เกี่ยวข้อง

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติเป็นสภาวะที่เกิดจากการมีความไม่สมดุลกันของไขมันชนิดต่าง ๆ ภายในกระแสเลื

Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง ปัญหาการนอนไม่หลับพบได้ในทุกช่วงอายุ แต่จะพบเพิ่มขึ้นในผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีปัญหาโรคเครียด,