Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง Key Takeaways ภูมิแพ้อาหารแฝงคือภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่ออาหารบางชนิดแบบล่าช้า แตกต่างจากกา
รู้จัก “ฮอร์โมน” สารเคมีสำคัญ ควบคุมทั้งร่างกายและจิตใจ
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaways
- ฮอร์โมนคือสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย โดยจะถูกหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ
- เป็นสารเคมีมีบทบาทสำคัญต่อการเจริญเติบโต การเผาผลาญ ระบบสืบพันธุ์ และอารมณ์
- สามารถเลือกซื้อแพ็กเกจตรวจวัดระดับฮอร์โมนราคาพิเศษจากโรงพยาบาลในเครือ BDMS ได้ที่ Health Plaza
ฮอร์โมนคืออะไร สำคัญอย่างไรต่อร่างกาย?
ฮอร์โมน (Hormone) คือสารเคมีชนิดหนึ่งที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย โดยจะถูกหลั่งออกมาจากต่อมไร้ท่อ (Endocrine Glands) แล้วเดินทางผ่านกระแสเลือดไปยังอวัยวะเป้าหมาย เพื่อกระตุ้นหรือควบคุมการทำงาน ตัวอย่างฮอร์โมนในร่างกายที่สำคัญ เช่น อินซูลิน (Insulin), เอสโตรเจน (Estrogen), ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone), ฮอร์โมน โปรเจสเตอโรน (Progesterone)
BeDee Tips: เทคฮอร์โมน อย่างไรให้ปลอดภัย อ่านเลย
แหล่งกำเนิดฮอร์โมนมาจากอะไร?

ฮอร์โมนในร่างกายของเรานั้นถูกผลิตจาก “ต่อมไร้ท่อ” (Endocrine Glands) ซึ่งเป็นอวัยวะที่สร้างและหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง เพื่อควบคุมการทำงานต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น การเจริญเติบโต การเผาผลาญ ระบบสืบพันธุ์ และอารมณ์ แหล่งกำเนิดฮอร์โมนที่สำคัญในร่างกาย เช่น ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland), ไฮโพทาลามัส (Hypothalamus), ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland), ต่อมหมวกไต (Adrenal glands) และตับอ่อน (Pancreas) เป็นต้น
ฮอร์โมนมีอะไรบ้าง แบ่งเป็นกี่ประเภท?
ฮอร์โมนในร่างกายของเรานั้นมีมากมาย ควบคุมระบบต่าง ๆ ทั้งร่างกาย โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
แบ่งตามสารตั้งต้น
- Peptide Hormones (ฮอร์โมนโปรตีน)
เช่น อินซูลิน (Insulin), ADH, Oxytocin, โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) - Steroid Hormones (ฮอร์โมนสเตียรอยด์)
เช่น คอร์ติซอล (Cortisol), เอสโตรเจน (Estrogen), เทสโทสเตอโรน (Testosterone) - Amino Acid–Derived Hormones (ฮอร์โมนจากกรดอะมิโน)
เช่น ไทรอกซีน (Thyroxine หรือ T4), อะดรีนาลีน Adrenaline (Epinephrine)
แบ่งตามการทำงาน
- ฮอร์โมนควบคุมการเจริญเติบโตและพัฒนาการ
- Growth Hormone กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกาย
- Thyroid Hormone ควบคุมระบบเผาผลาญและพัฒนาสมอง
- ฮอร์โมนเพศ
- Testosterone ฮอร์โมนเพศชาย
- Estrogen, Progesterone ฮอร์โมนเพศหญิง
- ฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลและพลังงาน
- Insulin ลดระดับน้ำตาลในเลือด
- Glucagon เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
- Cortisol เกี่ยวข้องกับความเครียดและพลังงาน
- ฮอร์โมนเกี่ยวกับระบบน้ำและแร่ธาตุ
- Aldosterone ควบคุมสมดุลโซเดียมและโพแทสเซียม
- Antidiuretic Hormone (ADH) ควบคุมการดูดซึมน้ำในไต
- ฮอร์โมนเกี่ยวกับความเครียดและอารมณ์
- Adrenaline (Epinephrine) กระตุ้นร่างกายเมื่อเกิดความเครียด
- Serotonin, Dopamine ส่งผลต่ออารมณ์ ความสุข และสมาธิ
ฮอร์โมนที่สำคัญในร่างกายมีอะไรบ้าง?
ฮอร์โมนเป็นสารเคมีที่สำคัญอย่างยิ่งต่อร่างกาย ส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย เปรียบเสมือน “สารสื่อสาร” ที่คอยควบคุมและประสานการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อร่างกาย เช่น
- อินซูลิน (Insulin) ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) กระตุ้นการเจริญเติบโตของร่างกายและกล้ามเนื้อ
- คอร์ติซอล (Cortisol) ตอบสนองต่อความเครียด ควบคุมระดับน้ำตาลและความดัน
- อะดรีนาลีน (Adrenaline) ทำให้ร่างกายพร้อมตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน (Fight or flight)
- เอสโตรเจน (Estrogen) ควบคุมรอบเดือนและลักษณะเพศหญิง
- โปรเจสเตอโรน (Progesterone) ควบคุมการตั้งครรภ์และรอบเดือน
- เทสโทสเตอโรน (Testosterone) ควบคุมลักษณะเพศชาย การสร้างกล้ามเนื้อ และความต้องการทางเพศ
- เมลาโทนิน (Melatonin) ควบคุมวงจรการนอนหลับ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกายมีอะไรบ้าง?
รูปแบบการใช้ชีวิต การพักผ่อน สุขภาพจิต และการรับประทานอาหารนั้นล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อระดับฮอร์โมนในร่างกายทั้งสิ้น โดยมีรายละเอียดดังนี้
อายุ
ฮอร์โมนบางชนิด เช่น โกรทฮอร์โมน และฮอร์โมนเพศจะเปลี่ยนแปลงตามช่วงวัย หรือในกรณีวัยทอง วัยหมดประจำเดือนจะทำให้เอสโตรเจนลดลง และเทสโทสเตอโรนลดลงในเพศหญิงและเพศชาย
ความเครียด
ความเครียดเรื้อรังทำให้ระดับคอร์ติซอล (Cortisol) สูงขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการนอน ระบบเผาผลาญ และภูมิคุ้มกัน
อาหาร
อาหารที่มีน้ำตาลสูง ไขมันทรานส์ หรือคาเฟอีนมากเกินไป และการขาดวิตามินบางชนิด ทำให้ฮอร์โมนขาดสมดุล
การนอนหลับ
การนอนหลับเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก การอดนอนหรือการพักผ่อนไม่เป็นเวลาส่งผลต่อการหลั่งเมลาโทนิน โกรทฮอร์โมน และอินซูลิน
กรรมพันธุ์
โรคทางต่อมไร้ท่อบางชนิด เช่น ไทรอยด์ เบาหวาน สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้
หากฮอร์โมนไม่สมดุลจะส่งผลอะไรต่อร่างกาย?
เนื่องจากฮอร์โมนมีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เมื่อฮอร์โมนในร่างกายไม่สมดุล ไม่ว่าจะมากหรือน้อยเกินไปล้วนส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย อาการที่พบได้ เช่น
- หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน
- เสี่ยงต่อการเกิดโรคซึมเศร้า หรือโรควิตกกังวล
- นอนไม่หลับ ตื่นกลางดึก อ่อนเพลีย
- น้ำหนักเพิ่มหรือลดผิดปกติ
- ระบบเผาผลาญแย่ลง
- ผิวแห้ง สิวเรื้อรัง
- ผมร่วง ผมบาง
- ประจำเดือนมาไม่ปกติ
- มีบุตรยาก
- ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมากตอนกลางคืนในวัยทอง
- ความต้องการทางเพศลดลง
วิธีปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายควรทำอย่างไร?
โดยทั่วไปแล้ววิธีการปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกายนั้นคือการเน้นดูแลสุขภาพโดยรวมให้แข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจ ตัวอย่างวิธีที่เราสามารถดูแลระดับฮอร์โมนให้กลับมาปกติได้ เช่น
ทานอาหารมีประโยชน์
- เพิ่มไขมันดี เช่น อะโวคาโด ปลาแซลมอน ถั่วต่าง ๆ
- ทานคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืช แป้งไม่ขัดสี
- หลีกเลี่ยงอาหารน้ำตาลสูง ไขมันทรานส์ และอาหารแปรรูป
- รับประทานโปรตีนให้เพียงพอในแต่ละมื้อ
พักผ่อนให้เพียงพอและได้คุณภาพ
- นอนหลับวันละ 7–9 ชั่วโมง
- เข้านอนและตื่นนอนในช่วงเวลาเดิมทุกวัน
- ไม่ควรเล่นโทรศัพท์ก่อนนอนเนื่องจากแสงสีฟ้าจากหน้าจอจะรบกวนการนอนหลับ
- การนอนหลับไม่เพียงพอและไม่ได้คุณภาพจะะส่งผลต่อฮอร์โมนคอร์ติซอล, อินซูลิน และฮอร์โมนเพศ
ลดความเครียด
- ความเครียดเรื้อรังส่งผลให้คอร์ติซอลซึ่งเป็นฮอร์โมนความเครียดมีระดับสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการนอน น้ำหนัก และภูมิคุ้มกัน
- วิธีลดความเครียดคือการฝึกสมาธิ ฝึกโยคะ หรือการฝึกหายใจลึก
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- การออกกำลังกายช่วยเพิ่มเอ็นดอร์ฟิน โกรทฮอร์โมน และปรับอินซูลินให้สมดุล ควรออกกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที
ตรวจสุขภาพและระดับฮอร์โมนเป็นประจำ
- โดยเฉพาะเพศหญิงวัย 35 ปีขึ้นไป หรือผู้มีอาการผิดปกติ เช่น นอนไม่หลับ รอบเดือนไม่ปกติ น้ำหนักเปลี่ยนเร็ว หรือวัยหมดประจำเดือน ควรตรวจวัดระดับฮอร์โมน
ช้อปแพ็กเกจวัคซีนตรวจวัดระดับฮอร์โมนราคาพิเศษจากโรงพยาบาลในเครือ BDMS พร้อมส่วนลด On Top ได้ที่นี่
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฮอร์โมน
1. ฮอร์โมนส่งผลกับสุขภาพจิตไหม?
ฮอร์โมนส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างมากเนื่องจากเป็นสารเคมีมีบทบาทในการควบคุมอารมณ์ พฤติกรรม การนอนหลับ และการจัดการกับความเครียดในชีวิตประจำวัน หากฮอร์โมนไม่สมดุล อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิต เช่น วิตกกังวล ซึมเศร้า หงุดหงิดง่าย หรืออารมณ์แปรปรวนได้
2. ยาปรับฮอร์โมนยี่ห้อไหนดี?
วิธีการปรับฮอร์โมนให้สมดุลนั้นควรเน้นที่การดูแลสุขภาพร่างกายโดยรวมให้แข็งแรง รับประทานอาหารมีประโยชน์ ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ แต่กรณีที่จำเป็นต้องได้รับยาควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยอีกครั้งเนื่องจากร่างกายแต่ละคนต้องการฮอร์โมนที่แตกต่างกันไป
เมื่อพบฮอร์โมนผิดปกติต้องรีบตรวจ
เมื่อฮอร์โมนไม่สมดุลอาจส่งผลกระทบทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และคุณภาพชีวิต หากสงสัยว่าร่างกายเกิดความผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจระดับฮอร์โมนและรับการดูแลอย่างเหมาะสม
ช้อปแพ็กเกจสุขภาพได้เลยที่ Health Plaza รวมแพ็กเกจตรวจสุขภาพมาตรฐาน BDMS สะดวก ใช้งานง่าย พร้อมส่วนลด On Top
สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @healthplaza
Content powered by BeDee Expert
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
References
West, M. (2023, October 27). Mood changes: Are they mental or hormonal?. Medical News Today. https://www.medicalnewstoday.com/articles/changes-in-mood-mental-or-hormonal
What are hormones? Types, function, and research. (n.d.). Exeltis. https://exeltis.com/sumtrial/category/blog/what-are-hormones-types-function-and-research/
Hoffman, M. & Key, AP. (2024, August 5). Estrogen and women’s emotions. WebMD. https://www.webmd.com/women/estrogen-and-womens-emotions