แบบทดสอบโรควิตกกังวล

ทุกวันนี้กลุ่มโรคทางด้านอารมณ์หรือจิตเวชนั้นมีมากมาย เช่น ซึมเศร้าเรื้อรังไบโพลาร์หรือแม้แต่อาการที่คนทั่วไปอาจคาดไม่ถึงอย่างภาวะซึมเศร้าหลังคลอด หรือบางคนที่เราเห็นยิ้มแย้ม อารมณ์ดี แต่ก็อาจจะป่วยด้วยกลุ่มโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า Smiling depression ได้เช่นกัน 

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการ Smiling depression คืออะไร 

 

โรควิตกกังวล (Anxiety Disorder) เป็นหนึ่งในโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อยรองจากโรคซึมเศร้า สามารถพบได้ประมาณร้อยละ 3-5 ของประชากรทั่วไป และพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในอัตราส่วน 2 : 1 จากสถานการณ์ทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ความกดดันแข่งขันต่างๆ ที่พบได้จากทุกช่วงอายุ ไม่ว่าจะในเรื่องการเรียน การทำงาน หรือเรื่องอื่น ๆ ส่งผลให้โรควิตกกังวลนั้นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น 

 

อย่างไรก็ตาม หากสงสัยว่าตนเองนั้นเป็นโรควิตกกังวลหรือไม่ การทำแบบทดสอบโรควิตกกังวลนั้นสามารถช่วยให้เราได้ประเมินและวิเคราะห์ตัวเองในเบื้องต้นว่าความวิตกกังวลนี้มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เพื่อที่จะปรึกษาจิตแพทย์และผู้เชี่ยวชาญต่อไปในกรณีที่มีความเสี่ยงสูง

สารบัญบทความ

ทำความรู้จักกับ โรควิตกกังวล

โรควิตกกังวลคืออะไร

ความวิตกกังวลนั้นเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะเวลาที่ต้องเผชิญสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย แปลกใหม่ ตื่นเต้น หรือแม้แต่สถานการณ์ที่มีความเครียดสูงก็ทำให้เกิดความวิตกกังวลได้เช่นเดียวกัน แต่อาการวิตกกังวลแบบไหนถึงเรียกว่าเป็น “โรควิตกกังวล” และโรคนี้คืออะไร เป็นแบบไหน มาดูกันแบบคร่าวๆกัน

โรควิตกกังวลแบ่งออกเป็น 5 โรคใหญ่ ได้แก่

  1. โรควิตกกังวลทั่วไป ( Generalized Anxiety Disorder ) ผู้ป่วยมีความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่าง ๆ มากผิดปกติ
  2. โรคแพนิก ( Panic Disorder ) มีความกลัวหรือตื่นตระหนกอย่างรุนแรง ร่วมไปกับอาการทางกายหลาย ๆ อย่าง เช่น ใจสั่น เหงื่อออก มือสั่น หายใจไม่ออก เวียนศีรษะ อาการเกิดขึ้นรวดเร็วและฉับพลันภายใน 10 นาที
  3. โรคกลัว ( Phobia ) อาการกลัวหรือวิตกกังวลอย่างมากต่อวัตถุหรือสถานการณ์เฉพาะ อาจมีมากกว่า 1 อย่าง ความกลัวเปลี่ยนแปลงตามความใกล้ชิดของสิ่งที่กลัว จะมีอาการกลัวมากจนทนไม่ได้ต้องหลีกเลี่ยง 
  4. โรคกลัวกิจกรรมทางสังคม ( Social Anxiety Disorder ) กลัวหรือกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางสังคม การที่ต้องพบปะผู้คนอื่น 
  5. โรคย้ำคิดย้ำทำ ( Obsessive-Complusive Disorder ) มีอาการย้ำคิดย้ำทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งซ้ำๆ ไม่มีเหตุผล ซึ่งผู้ป่วยนั้นรู้ดีว่าเป็นเรื่องไร้สาระแต่ไม่สามารถขัดขืนได้ รู้สึกไม่สบายใจอย่างมากหากไม่ได้ทำ

ไม่แน่ใจอาการ ? ปรึกษาเพิ่มเติมกับจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกที่แอป BeDee สะดวก เป็นส่วนตัว ไม่ต้องเดินทาง

การทำแบบทดสอบโรควิตกกังวลสำคัญอย่างไร


การทำแบบประเมินโรควิตกกังวลนั้นสำคัญมากในเรื่องของการประเมินตนเองว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรควิตกกังวลมากน้อยแค่ไหน สำหรับโรควิตกกังวล แบบทดสอบจะช่วยวิเคราะห์อาการวิตกกังวลได้ว่าเป็นอาการวิตกกังวลตามปกติที่เกิดขึ้น หรือมีแนวโน้มว่าจะพัฒนากลายเป็น “โรค” ได้ หากเราพบว่ามีความเสี่ยงสูง และพบนักจิตวิทยากับจิตแพทย์เพื่อรักษาอาการได้อย่างรวดเร็ว จะทำให้มีแนวโน้มในการหายจากโรควิตกกังวลได้เร็วและสามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ป่วยเป็นโรควิตกกังวลแต่ไม่เข้ารับการรักษา

โรควิตกกังวล แบบทดสอบ ประเมิน และวิเคราะห์

แบบทดสอบและประเมินโรควิตกกังวล GAD-7 

โรควิตกกังวล แบบทดสอบ GAD-7

แบบทดสอบโรควิตกกังวล หรือ GAD-7 (General Anxiety Disorder-7) จะให้คุณประเมินความคิดและความรู้สึกในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยมีเกณฑ์การให้คะแนน ดังนี้

  • ไม่เลย (0 คะแนน)
  • บางวัน (1 คะแนน)
  • เกินกว่า 7 วัน ในช่วง 2 อาทิตย์ที่ผ่านมา (2 คะแนน)
  • เกือบทุกวัน (3 คะแนน)

โดยมีข้อคำถามประเมินความคิดและความรู้สึก ในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา ดังนี้

  1. รู้สึกตึงเครียด วิตกกังวล หรือ กระวนกระวาย
  2. ไม่สามารถหยุดหรือควบคุมความกังวลได้
  3. กังวลมากเกินไปในเรื่องต่างๆ
  4. ทำตัวให้ผ่อนคลายได้ยาก
  5. รู้สึกกระสับกระส่ายจนไม่สามารถนั่งนิ่ง ๆ ได้
  6. กลายเป็นคนขี้รำคาญ หรือ หงุดหงิดง่าย
  7. รู้สึกกลัวเหมือนว่าจะมีอะไรร้าย ๆ เกิดขึ้น

จากนั้นให้รวบรวมคะแนนตั้งแต่ข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 7 (นำคะแนนทั้งหมดที่ได้มาบวกกัน)

  • ได้ 0-9 คะแนน หมายถึง ท่านมีความวิตกกังวลในระดับเฉลี่ยหรือสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเพียงเล็กน้อย
  • ได้ 10-14 คะแนน หมายถึง ท่านมีความวิตกกังวลในระดับปานกลาง และควรทำแบบประเมินซ้้าในอีก 1-2 สัปดาห์
  • ได้ 15-21 คะแนน หมายถึง ท่านมีความวิตกกังวลในระดับสูง ควรได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ

หากทำแบบประเมินแล้วไม่แน่ใจ ต้องการคำปรึกษาเพิ่มเติม ปรึกษาจิตแพทย์ที่แอป BeDee

เมื่อไหร่ที่ควรทำแบบทดสอบโรควิตกกังวล

แบบทดสอบโรควิตกกังวล ทำตอนไหน

หากรู้สึกว่าตนเองนั้นมีความกังวลเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือกิจกรรมต่างๆ มากผิดปกติ จนเกิดความกังวลใจและส่งผลต่อชีวิตประจำวัน สามารถทำแบบทดสอบโรควิตกกังวลได้ทันที

สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นของโรควิตกกังวลได้ดังนี้ 

  • กระวนกระวายใจ หงุดหงิดง่าย กระสับกระส่าย
  • เหนื่อยง่าย อ่อนล้าง่ายกว่าปกติ
  • ขาดสมาธิ จดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ลำบาก
  • มือสั่น ใจสั่น ตัวสั่น
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อตึงเกร็ง
  • นอนไม่หลับ ไม่สบายใจ 

หากพบว่ามีอาการข้างต้นอย่างน้อย 3 ข้อ สามารถทำแบบทดสอบ โรควิตกกังวลเพื่อประเมินความเสี่ยงของตนเองได้เลย หรือหากไม่มีอาการหรือมีอาการข้างต้นเพียงเล็กน้อยแต่อยากลองประเมินตนเอง ก็สามารถทำแบบวัดความวิตกกังวลได้เช่นเดียวกัน

แบบทดสอบโรควิตกกังวลสามารถเชื่อถือได้หรือไม่?

สำหรับโรควิตกกังวล แบบทดสอบนั้นจากการทบทวนงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อมั่น (Reliability) และความเที่ยงตรง (Validity) ของแบบทดสอบโรควิตกกังวลทั้ง 2 แบบทดสอบที่เป็นที่นิยมในประเทศไทยได้แก่ 

  1. GAD-7 (General Anxiety Disorder-7) แบบวัดความวิตกกังวล 7 ข้อคำถาม
  2. DDAS-21 ( DEPRESSION ANXIETY STRESS SCALE ) แบบวัดความเศร้า ความเครียด และวิตกกังวล 21 ข้อคำถาม 

 

พบว่าแบบทดสอบโรควิตกกังวลทั้งสองชุดมีความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงอยู่ในระดับสูง ซึ่งนั่นหมายความว่า แบบทดสอบโรควิตกกังวลสามารถวัดความเสี่ยงโรควิตกกังวลได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

 

อย่างไรก็ตามสำหรับโรควิตกกังวล แบบทดสอบนั้นเป็นเพียงการ “ประเมินความเสี่ยง” เท่านั้น ไม่ใช่การ “วินิจฉัย” หากต้องการปรึกษาเรื่องของโรควิตกกังวล BeDee มีทีมจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกให้บริการทุกวัน สะดวก รวดเร็ว เป็นส่วนตัว

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ โรควิตกกังวล แบบทดสอบ

ทำแบบทดสอบโรควิตกกังวลแล้วได้คะแนนสูง แปลว่าเป็นโรควิตกกังวลแล้วใช่ไหม?

เมื่อทำแบบทดสอบโรควิตกกังวลแล้วได้คะแนนสูง ไม่ได้แปลว่าเป็นโรควิตกกังวลเสมอไป เนื่องจากการทำแบบประเมินโรควิตกกังวลนั้นเป็นเพียงการประเมินในเบื้องต้นเท่านั้น การวินิจฉัยจะเป็นหน้าที่ของจิตแพทย์ ดังนั้นหากพบว่ามีคะแนนในการทำแบบทดสอบโรควิตกกังวลสูง แนะนำให้พบจิตแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างละเอียดต่อไป

โรควิตกกังวลรักษายังไง หายได้ไหม?

โรควิตกกังวลสามารถรักษาหายได้ด้วยการทำจิตบำบัดกับจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาคลินิก หรือการรักษาด้วยยาเพื่อลดความวิตกกังวล ทั้งนี้จะต้องอยู่ในดุลยพินิจของจิตแพทย์

โรควิตกกังวลใช่โรคซึมเศร้าหรือเปล่า? 

โรควิตกกังวลและโรคซึมเศร้านั้นไม่ใช่โรคเดียวกัน แต่อาจมีอาการคล้ายกันได้ในหลาย ๆ อย่าง และผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการของทั้งสองโรคร่วมกันด้วย ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญมากที่จะต้องวิเคราะห์ตนเอง และพบแพทย์เมื่อพบว่าตนเองมีความเสี่ยง

สรุป โรควิตกกังวล แบบทดสอบหากประเมินแล้วไม่แน่ใจ รีบปรึกษาแพทย์

แบบประเมินโรควิตกกังวล

แบบทดสอบโรควิตกกังวลนั้นเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินและวิเคราะห์อาการวิตกกังวลของตนเองเบื้องต้นว่ามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรควิตกกังวลมากน้อยแค่ไหน ความกังวลนั้นอยู่ในระดับใด หากสงสัยพบว่าตนเองนั้นมีความกังวลมากกว่าปกติ และส่งผลต่อชีวิตประจำวัน สามารถทำแบบทดสอบโรควิตกกังวลด้วยตนเองได้ทันที

 

หากมีความกังวลเกี่ยวกับโรควิตกกังวลหรือโรคทางด้านอารมณ์และจิตใจอื่น ๆ ปรึกษาหมอออนไลน์ พยาบาล หรือปรึกษาเภสัชกรที่แอป BeDee ได้ทุกวัน เรามีจิตแพทย์ นักจิตวิทยาคลินิก และเภสัชกรพร้อมให้คำปรึกษาและจัดส่งสินค้าถึงมือ เลือกปรึกษาตามเวลาที่คุณสะดวก เป็นส่วนตัวสูง ไม่ต้องเดินทาง สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS

 

 

Content powered by BeDee Expert

ธนวินท์ มีลาภอุดมชัย

นักจิตวิทยาคลินิก

Dhira, Tahia Anan, et al. “Validity and Reliability of the Generalized Anxiety Disorder-7 (GAD-7) among University Students of Bangladesh.” PloS One, U.S. National Library of Medicine, 16 Dec. 2021, www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8675645/.

 

Löwe B;Decker O;Müller S;Brähler E;Schellberg D;Herzog W;Herzberg PY; “Validation and Standardization of the Generalized Anxiety Disorder Screener (GAD-7) in the General Population.” Medical Care, U.S. National Library of Medicine, pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18388841/. Accessed 12 Dec. 2023.

 

Moya E;Larson LM;Stewart RC;Fisher J;Mwangi MN;Phiri KS; “Reliability and Validity of Depression Anxiety Stress Scale (DASS)-21 in Screening for Common Mental Disorders among Postpartum Women in Malawi.” BMC Psychiatry, U.S. National Library of Medicine, pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/35606733/. Accessed 12 Dec. 2023. 

 

“The Depression Anxiety Stress Scale (DASS-21).” The Human Condition, 3 Jan. 2023, thehumancondition.com/depression-anxiety-stress-scale-dass-21/. 

 

American Psychiatric Association. (2013). Diagnostic and statistical manual of mental disorders (5th ed.). https://doi.org/10.1176/appi.books.9780890425596

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบประเมินความเครียดเป็นเครื่องมือคัดกรองโรคเครียดรูปแบบหนึ่ง เวลาที่เราเครียดเรามักประเมินความเครียดในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป บ้างก็สังเกตจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับร่างกาย เช่นนอนไม่หลับ, ปวดหัวเรื้อรัง, กรดไหลย้อน, ท้องอืด เป็นต้น หรือประเมินควา

นอนไม่หลับทำไงดี? บางทีเหนื่อยจากงานหรือง่วงมาก ๆ แต่ทำไมหัวถึงหมอนแล้วกลับนอนไม่หลับ พยายามข่มตานอนก็ดันนอนไม่หลับยิ่งกว่าเดิม จะทำยังไงถึงจะเอาชนะ อาการนอนไม่หลับได้นะ?   เนื่องจากปัญหาการนอนไม่หลับ นอนหลับยาก หรือหลับ ๆ ตื่น ๆ ทั้งคืนนั้น อาจส่งผล