Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง โรคแพนิคเป็นภาวะทางจิตอย่างหนึ่งซึ่งกระทบถึงสุขภาพจิตและการทำงานในชีวิตประจำวัน โรคแพนิคเป็นโร
ง่วงนอนตลอดเวลา ไม่ใช่นิสัย แต่อาจเกิดจากความผิดปกติของร่างกาย
Disclaimer: ข้อมูลในบทความนี้เป็นเพียงการให้ข้อมูลทั่วไป ไม่สามารถทดแทนการให้คำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ได้ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาทุกครั้ง
Key Takeaways
- ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอนตลอดเวลาเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น อาการผิดปกติจากการนอนหลับ ระดับฮอร์โมน การนอนที่ไม่ได้คุณภาพ การใช้ยาบางชนิด การขาดสารอาหารและวิตามินบางอย่าง
- ผลเสียจากอาการง่วงนอนตลอดเวลา เช่น สมองทำงานช้าลง ความจำแย่ลง ขี้ลืม สมาธิสั้น ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย เสี่ยงภาวะซึมเศร้า
- หากมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น หรือมีอาการนอนไม่หลับ ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษา
ทำความรู้จักอาการง่วงนอนตลอดเวลาคืออะไร?
เชื่อว่าหลายคนคงเคยมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา เพลีย ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น จริงๆ แล้วอาการง่วงนอนตลอดเวลา นอนเท่าไหร่ก็ไม่พอคืออะไร ผิดปกติหรือไม่ ?
อาการนอนไม่อิ่ม ง่วงตลอดเวลานั้นคืออาการที่เราตื่นขึ้นมาแล้วไม่สดชื่น รู้สึกง่วงตลอดเวลา อ่อนเพลีย เหมือนไม่ได้พักผ่อนถึงแม้ว่าเราจะนอนหลับ 7-8 ชั่วโมงแล้วก็ตาม ภาวะนี้ไม่ใช่ความขี้เกียจแต่อาจเป็นอาการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น โรคประจำตัว สะดุ้งตื่นตอนกลางคืน หรือละเมอ ซึ่งทำให้เกิดการนอนที่ไม่ได้คุณภาพ
BeDee Tips: ดูเคล็ดลับเอาชนะ อาการนอนไม่หลับ ทำง่าย ได้ผล
สาเหตุที่ทำให้ง่วงนอนตลอดเวลาเกิดจากอะไรบ้าง?
สาเหตุที่ทำให้ง่วงนอนตลอดเวลาอาจเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งทางร่างกาย จิตใจ พฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงโรคบางชนิด โดยมีรายละเอียดดังนี้
- การนอนหลับไม่มีคุณภาพ เข้านอนดึก นอนไม่เป็นเวลา สะดุ้งตื่นกลางดึก หลับไม่ลึก เล่นมือถือหรือดูจอใกล้เข้านอน
- โรคเกี่ยวกับการนอนหลับ (Sleep Disorders) ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคนาร์โคเลปซี (Narcolepsy)
- ความผิดปกติของฮอร์โมน ไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism) ภาวะฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง เช่น วัยทอง
- ภาวะโลหิตจาง (Anemia)
- ระดับน้ำตาลในเลือดผิดปกติ โรคเบาหวาน ทำให้สมองและร่างกายทำงานช้าลง
- ปัญหาสุขภาพจิต โรคซึมเศร้า เครียดเรื้อรัง วิตกกังวล
- ผลข้างเคียงจากยา ยาคลายเครียด ยาแก้แพ้ ยานอนหลับ ยาต้านซึมเศร้า
- ขาดวิตามินและสารอาหาร เช่น วิตามิน B12, D, ธาตุเหล็ก หรือแมกนีเซียม
- ขาดการออกกำลังกาย ขาดแสงแดด ขาดการเคลื่อนไหวร่างกายระหว่างวัน
ง่วงนอนตลอดเวลามีผลเสียอย่างไร ?
เมื่อเรามีอาการ ง่วงตลอดเวลาแน่นอนว่าย่อมส่งผลกระทบต่อร่างกายและชีวิตประจำวัน ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น
- สมองทำงานช้าลง ความจำแย่ลง ขี้ลืม
- สมาธิสั้น ขาดโฟกัส ทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ
- อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
- เสี่ยงภาวะซึมเศร้าเรื้อรังหากไม่ได้รับการรักษา
- ขาดแรงจูงใจ ไม่สนใจสิ่งรอบตัว
- เพิ่มความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ อาจเกิดอาการหลับในระหว่างขับรถ หรือระหว่างใช้เครื่องจักร
- ขาดความกระตือรือร้นในการทำงานหรือเข้าสังคม
- ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายระยะยาว เช่น เสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, โรคหัวใจ
- ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ป่วยง่าย
- น้ำหนักเพิ่ม เพราะร่างกายหลั่งฮอร์โมนหิวมากขึ้นเมื่อพักผ่อนไม่พอ
ง่วงนอนตลอดเวลาเสี่ยงเป็นโรคอะไรบ้าง ?
อาการง่วงนอนตลอดเวลา อ่อนเพลียไม่ได้เกิดจากการพักผ่อนไม่พอเสมอไป หลายคนอาจคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก แต่จริงๆ แล้วอาการง่วงตลอดเวลาอาจทำให้เสี่ยงต่อและเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่าง ๆ ได้ดังนี้
- ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ (Obstructive Sleep Apnea)
หยุดหายใจขณะหลับหรือนอนกรน ทำให้หลับไม่สนิท ส่งผลให้ร่างกายอ่อนเพลียแม้นอนครบ 7-8 ชั่วโมง
- โรคนาร์โคเลปซี (Narcolepsy)
โรคนาร์โคเลปซี หรือโรคลมหลับ ทำให้สมองควบคุมวงจรการนอนไม่ได้ ง่วงหนักมากจนทำให้หลับโดยไม่รู้ตัวแม้จะนอนเพียงพอ อาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วยได้ - ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ (Hypothyroidism)
เมื่อการเผาผลาญในร่างกายช้าลง ทำให้อ่อนเพลีย หนาวง่าย ผิวแห้ง น้ำหนักขึ้น ง่วงซึมและไม่มีแรง แม้จะนอนหลับเพียงพอ - โรคซึมเศร้า หรือภาวะทางจิตใจ
โรคซึมเศร้า และกลุ่มโรคทางจิตใจอื่น ๆ เช่น โรควิตกกังวล รบกวนวงจรการนอนหลับ และทำให้รู้สึกหมดพลัง ผู้ป่วยอาจนอนเยอะเกินไปหรือนอนไม่หลับก็ได้ - เบาหวาน หรือภาวะน้ำตาลในเลือดผิดปกติ
น้ำตาลในเลือดที่ไม่สมดุลส่งผลให้ร่างกายเหนื่อยล้า ง่วงง่าย บางรายอาจมีอาการกระหายน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย น้ำหนักลด - ภาวะโลหิตจาง (Anemia)
ร่างกายขาดออกซิเจนเพราะเม็ดเลือดแดงน้อย ทำให้เหนื่อยง่าย เวียนหัว ใจสั่น และง่วงตลอดวัน - ขาดวิตามิน/แร่ธาตุ
เช่น วิตามิน B12, D, ธาตุเหล็ก หรือแมกนีเซียม ส่งผลให้ระบบประสาททำงานไม่เต็มที่ เหนื่อยล้า ง่วงง่าย รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา - ภาวะนอนไม่หลับเรื้อรัง (Insomnia)
นอนไม่หลับ หลับยาก ตื่นกลางดึก หลับไม่ลึก ทำให้รู้สึกไม่สดชื่นแม้นอนหลายชั่วโมง
วิธีการรับมือเมื่อมีอาการง่วงนอนตลอดเวลา ควรทำอย่างไร?
เราสามารถแก้อาการ ง่วงตลอดเวลาได้ด้วยการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตในกรณีที่มีอาการไม่รุนแรงด้วยวิธีดังนี้
- ปรับเวลานอน
ควรเข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาในทุกวัน และนอนให้เพียงพออย่างน้อย 7–9 ชั่วโมงต่อคืน
- รับแสงแดดในตอนเช้า
ควรเดินรับแสงแดดในช่วงเช้า 10-20 นาที หลีกเลี่ยงช่วงที่แดดแรง เพราะแสงแดดช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนเซโรโทนินซึ่งช่วยให้รู้สึกตื่นตัว และช่วยให้ร่างกายหลั่งเมลาโทนินหรือฮอร์โมนที่ช่วยในการนอนหลับในตอนกลางคืน
- ขยับร่างกายระหว่างวัน
พยายามไม่นั่งนานเกินไป ควรลุกเดินหรือยืดเส้นทุก 1 ชั่วโมง และออกกำลังกายสม่ำเสมอ จะช่วยเพิ่มพลังงานและลดความง่วง
- เลือกทานอาหารที่ไม่ทำให้ง่วง
หลีกเลี่ยงอาหารหวานจัดและอาหารแป้งขัดสี เช่น ข้าวขาว ขนมปัง น้ำหวาน เน้นทานอาหารโปรตีนสูง เช่น ไข่ ถั่ว ปลา และดื่มน้ำให้เพียงพอ แต่ควรลดปริมาณการดื่มน้ำในช่วงก่อนนอนเพราะอาจทำให้ต้องตื่นมาเข้าห้องน้ำในตอนกลางคืนได้ หรืออ่านเพิ่มเติมเลย นอนไม่หลับ กินอะไรดี
- หลีกเลี่ยงความเครียด
เมื่อเรามีความเครียดสะสมจะส่งผลต่อคุณภาพการนอน และทำให้รู้สึกอ่อนล้า ควรฝึกวิธีผ่อนคลาย เช่น ฝึกหายใจลึก โยคะ ฟังเพลง หรือทำสมาธิ
- จำกัดคาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
งดดื่มกาแฟ ชา หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหลังบ่าย 2 โมง เพื่อไม่ให้รบกวนการนอน
- ปรึกษาแพทย์
หากมีอาการง่วงมากผิดปกติแม้จะนอนหลับเพียงพอ หรือมีอาการอื่นร่วม เช่น นอนกรน หนาวง่าย น้ำหนักเพิ่มควรปรึกษาแพทย์
ปรึกษาจิตแพทย์ ที่แอป BeDee ได้ทุกวัน สะดวก เป็นส่วนตัว
ส่งยาถึงที่ ไม่มีค่าจัดส่ง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาการง่วงนอนตลอดเวลา
1. ขาดวิตามินอะไรทำให้ง่วงนอน?
การขาดวิตามิน B12, D, ธาตุเหล็ก หรือแมกนีเซียม ส่งผลให้ระบบประสาททำงานไม่เต็มที่ เหนื่อยล้า ง่วงง่าย รู้สึกง่วงนอนตลอดเวลา ควรปรับเปลี่ยนด้วยการทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานโปรตีน ไขมันดี และแป้งไม่ขัดสี
2. ง่วงนอนตลอดเวลาควรหาหมอเมื่อไหร่?
หากมีสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์
- ง่วงมากผิดปกติแม้นอนเต็มที่ นอนวันละ 7–9 ชั่วโมงแล้ว แต่ยังรู้สึกง่วง เหนื่อยล้า ไม่มีแรงตลอดวัน
- เผลอหลับกลางวันหรือหลับใน
- ง่วงมากจนเผลอหลับในที่ประชุม ขณะขับรถ หรือทำงานที่ต้องใช้สมาธิ
- ขี้หลงขี้ลืม เบลอ หงุดหงิดง่าย
- ปวดศีรษะเรื้อรัง
- น้ำหนักเปลี่ยน หิวผิดปกติ หนาวง่าย (เช่น อาจเกี่ยวกับไทรอยด์)
- รู้สึกซึมเศร้า เบื่อหน่าย ขาดแรงจูงใจ
- อาจเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าหรือปัญหาทางจิตใจอื่น
- นอนกรนเสียงดังมาก หรือหยุดหายใจขณะหลับ
ง่วงนอนตลอดเวลาอาจผิดปกติ รีบปรึกษาแพทย์เลย
ง่วงนอนตลอดเวลาไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย แต่อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความผิดปกติบางอย่างในร่างกาย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมอาจทำให้รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันหรือเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้
BeDee พบหมอเฉพาะทางเครือ BDMS ได้ทันที ไม่ต้องรอ ส่งยาทั่วไทย มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล พื้นที่ปลอดภัย สู่สุขภาพใจที่ดีกว่า โดยบุคลากรมืออาชีพ
สอบถามเพิ่มเติม Line Official : @BeDeebyBDMS
เรียบเรียงโดย
กรวรรณ ใจซื่อกุล
References
Kaplan, L. M., & Desser, K. B. (2009). Excessive daytime sleepiness. American Family Physician, 79(5), 391–396.https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/2009/0301/p391.html
Excessive sleepiness. (2023). Sleep Foundation. https://www.sleepfoundation.org/excessive-sleepiness
Sleep apnea and daytime sleepiness. (n.d.). WebMD.https://www.webmd.com/sleep-disorders/sleep-apnea-daytime-sleepiness